ฉบับที่ ๐๓๙ แถลงข่าว ประเทศไทยควรเข้าเป็นสมาชิก ‘ทีพีพี’ หรือไม่ ?


“ทีพีพี” สัญญาการค้าเสรีที่ไม่เสรี


เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมเดอะสุโกศล นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย และประธานรัฐภา ตีกรอบอนุสัญญาควบคุมการบริโภคยาสูบ องค์การอนามัยโลก แถลงข่าวเรื่อง ประเทศไทยควรเข้าเป็นสมาชิก ทีพีพี หรือไม่ ว่า ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย - แปซิฟิก หรือ ทีพีพี เกิดขึ้นจากบริษัทผู้ลงทุนและผู้แทนทางการค้าในสหรัฐอเมริกาได้ส่งตัวแทน 600 คน มาร่วมกันร่างข้อตกลงขึ้น ซึ่งมี 29 บท แต่เป็นเรื่องข้อตกลงทางการค้าเพียง 5 บทเท่านั้น องค์การอนามัยโลกยังบอกว่า ถือเป็นการไล่ใส่กุญแจมือรัฐบาล เพราะเวลาฟ้องร้องจะเป็นการฟ้องร้องผ่านอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งไทยจะต้องปฏิบัติตามข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน (ISDS) ขณะนี้ได้มีการทำการวิจัยและส่งให้ทั้งเอกอัครราชทูตจีน นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อยับยั้งไม่ให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกในข้อตกลงดังกล่าว

ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด หากไทยเข้าร่วม TPP คือ ธุรกิจยาสูบ เพราะหากเกิดข้อพิพาททางการค้าระหว่างบริษัทสหรัฐฯ และหน่วยงานของไทย รัฐบาลไทยก็จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด เรื่องข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน หรือ ISDS โดยบริษัทบุหรี่สหรัฐฯ จะสามารถฟ้องร้องต่อรัฐบาลไทย ที่ออกกฎหมายควบคุมยาสูบที่เข้มงวด และจะกลายเป็นข้อพิพาททางการค้า ซึ่งจะรุนแรงกว่ากรณีที่บริษัทฟิลลิป มอร์ริส ฟ้องร้องกระทรวงสาธารณสุขในขณะนี้ เพราะ TPP จะกำหนดให้คดีพิพาทระหว่างบริษัทบุหรี่สหรัฐฯ กับรัฐบาลไทย ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลไทยอีกต่อไป แต่ยังอยู่ในอำนาจพิจารณาตัดสินของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ที่อาจขาดความเป็นกลางในกระบวนการตัดสิน

ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการสาธารณสุข และการเข้าถึงยาในประเทศไทยจากการเข้าร่วม TPP คือ การผูกขาดข้อมูลทางยาจะมีมากขึ้น และจะขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรยาให้สูงขึ้น และยังครอบคลุมถึงกลุ่มยาราคาแพง อาทิ ยารักษาโรคมะเร็ง ที่ให้การคุ้มครองถึง 8 ปี ซึ่งจะทำให้ยามีราคาสูงขึ้นมาก และส่งผลเสียต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงอยากให้ภาครัฐบาลรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ก่อนที่จะตัดสินใจ เพื่อให้เห็นถึงผลดีและผลเสียทั้งหมด และให้เกิดผลกระทบกับไทยน้อยที่สุด

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิธี กล่าวว่า ผลเสียของ TPP ที่จะเกิดขึ้นกับภาคเกษตรกรรมคือ ประเทศไทยจะต้องแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร และกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชปี 2542 ซึ่งจะทำให้บริษัทต่างชาติสามารถเข้าถึง และใช้ทรัพยากรชีวภาพโดยไม่ต้องแบ่งปันผลประโยชน์ การเก็บเมล็ดไปปลูกต่อ หรือแลกเปลี่ยนกับเพื่อบ้านจะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และการผูกขาดเมล็ดพันธุ์จะขยายจาก 12 ปี เป็น 20 ปี และจะทำให้ราคาเมล็ดพันธุ์แพงขึ้น 2-6 เท่า เป็นอย่างน้อย และอาจถูกบีบบังคับให้ยอมรับพืชจีเอ็มโอ และอาจต้องยกเลิกการติดฉลากหรือมาตรการอื่นๆ ที่เป็นการปกป้องสิทธิผู้บริโภค เกี่ยวกับอาหารดัดแปลงพันธุกรรม

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง : http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000114817 , http://www.springnews.co.th/economics/245235


หมายเลขบันทึก: 596592เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2015 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2015 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท