ชีวิตที่พอเพียง : ๒๕๑๑. วัฒนธรรมนำเข้า



วัฒนธรรมนำเข้า ในที่นี้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และสุขภาพ ไม่เกี่ยวกับสินค้า เทคโนโลยี หรือเครื่องจักร

การเรียนรู้ที่ผิด อยู่บนฐานวัฒนธรรมนำเข้า การเรียนรู้ที่ถูก อยู่บนฐานวัฒนธรรมส่งออก

การเรียนรู้ แบบนำเข้าคือ เรียนโดยจดจำความรู้จากตำรา หรือตามที่ครูสอน เป็นการเรียนแบบ “ความเชื่อนำ” เมื่อครูบอก หรือตำราบอก ก็เชื่อ ละจดจำ การเรียนรู้แบบนี้ ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ เป็นการเรียนรู้ที่ผิด

การเรียนแบบส่งออก คือเรียนโดยการตั้งคำถาม สงสัย หรือไม่ด่วนเชื่อ และพยายามหาคำตอบ และพิสูจน์ว่าคำตอบของตนน่าจะถูกต้องหรือใช้การได้ โดยนำไปทดลองใช้ จึงเป็นการเรียนโดยการปฏิบัติ หรือการทำงาน เพื่อเรียนรู้โดยพิสูจน์ด้วยของจริง จะเห็นว่าการเรียนวิธีนี้ผู้เรียนต้องตั้งสมมติฐานขึ้นในใจ แล้วนำ “ส่งออก” คือใช้ทำงาน ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

จากวิธีคิดดังกล่าว ผมเกิดสมมติฐานว่า การพักผ่อนหย่อนใจแบบ “นำเข้า” ที่ผิด คือดูหนังดูละคร น่าจะได้ประโยชน์น้อยกว่าการพักผ่อนแบบ “ส่งออก” โดยมีงานอดิเรก หรือมีกิจกรรมอื่นสลับกับงานประจำ เช่นกิจกรรมอาสาสมัคร เพื่อจิตใจที่เบิกบานจากการทำประโยชน์แก่ผู้อื่น



วิจารณ์ พานิช

๔ ก.ย. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 595982เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2015 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2015 11:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท