บางที การไปแบกรับ "กรรม" ของคนอื่น ทำให้เรา "มีความทุกข์" โดยอาจจะไม่มีใครได้ประโยชน์ใดๆเลย


บางที การไปแบกรับ "กรรม" ของคนอื่น ทำให้เรา "มีความทุกข์"

โดยอาจจะไม่มีใครได้ประโยชน์ใดๆเลย
*****************************************
หน้าที่ของชาวพุทธ (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) ............

คือ การชำระกรรมของเราเอง ให้ดี ในขั้นต้นนั้น ให้มีและเหลือแต่ "กุศลกรรม" มากและบ่อยที่สุด เท่าที่จะทำได้
(ขั้นสุดท้าย คือ ไม่ต้องมีทั้งสองอย่าง)

และสัตว์โลกต่างๆ ก็มีกรรมเป็นของตนเอง รับใช้หรือสร้างกรรมแทนกันไม่ได้

ใครต้องการแบบไหนก็ทำแบบนั้น และก็จะได้แบบนั้น

แต่.........

เพื่อชีวิตที่มีทุกข์น้อยที่สุด จึงไม่ควรไปคิดที่แบกรับกรรมแทนใครทั้งสิ้น
ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร แม้กระทั่งบุพการี หรือลูกหลาน
เพราะ การทำแทน แท้ที่จริงแล้วก็คือ การทำกรรม(กุศล/อกุศล)ของเราเองแท้ๆ
ไม่เกี่ยวกับรับกรรมแทนคนที่เราไปช่วย แต่อย่างใด
แต่ถ้าเราบังเอิญช่วยได้จริงๆ ก็เป็น "บุญเป็นกุศล" ของเรา และเป็น "วิบาก/วาสนา" ของเขา เท่านั้นเอง
มิใช่รับกรรมแทนกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น

เพราะท่านเหล่านั้น ก็มี วิบาก/กรรมวาสนา เป็นของเขาเอง

เราก็มีวิบาก/กรรมเป็นเรา ที่ต้องใช้กรรมต่อไป ใครจะช่วยหรือไม่ก็เป็นวิบาก บารมี หรือวาสนาของเรา
และการช่วยจากคนอื่นก็เป็นบุญเป็นกุศลของเขา

ดังนั้น............................

ถ้าเราจะช่วยใคร หรือ ใครจะช่วยเรา ก็ให้ทำด้วยสติ พรหมวิหาร 4 ด้วยใจบริสุทธิ์ ด้วยเจตนาในการสร้างกรรมดีที่สุดของเรา หรือ ผู้เข้ามาช่วยเหลือเรา โดยไม่เกี่ยวกับการรับไปเป็นกรรมแทนกัน

เราทำ ก็เป็นกรรมของเรา กรรมของเขาก็เป็นเรื่องของเขา เราก็มีหน้าที่ของชาวพุทธ

ก็คือเริ่มต้นด้วย ต้องมีและแผ่เมตตา มีและให้ความกรุณา มุทิตา และ สุดท้าย ก็ อุเบกขา ไปตามสมควร และปล่อยวางไป หลังจากทำเต็มที่ เท่าที่ทำได้ และช่วยได้แล้ว

สิ่งที่ช่วยไม่ได้ ก็อย่าไปแบกรับไว้ จะทำให้เราทุกข์ แบบไม่มีใครได้อะไร
ก็เราช่วยไม่ได้แล้ว พยายามตามความสามารถเต็มที่ (แบบ มัชฌิมาปฏิปทา) แล้ว จะทุกข์ไปให้ใครได้อะไร

นี่คือการแยกเวร แยกกรรม แม้จะทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกัน อย่างเต็มที่แล้ว ในที่สุด สิ่งที่เราทำร่วมกัน ก็แยกส่วน เป็นกรรมใครกรรมมัน อยู่ดี

การไปแบกรับกรรมของคนอื่น (ที่เราช่วยไม่ได้) เป็นการกระทำที่ทำให้เสียเวลา และทุกข์โดยไม่จำเป็น

ฟังดูเหมือน เป็นคนใจดำ แต่ไม่ใช่ครับ เพราะก่อนจะมาถึงขั้นนี้ เราต้องมี เมตตา ใช้สติ ในการพิจารณาไต่ตรอง มีความกรุณา ช่วยเหลือในส่วนที่เราทำได้ มีมุทิตาจิต แสดงความยินดีในสิ่งที่เขาทำได้เอง และแล้ว ก็หมดหน้าที่เรา คือ อุเบกขา ด้วยสติสัมปะชัญญะ นะครับ

ทำเช่นนี้เราน่าจะทำดีที่สุดแล้ว และทุกข์น้อยลงอย่างแน่นอนครับ

หมายเลขบันทึก: 595108เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2015 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2015 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตอนทำใจนี่แหละค่ะ อาจารย์ ยากที่สุด เพราะเมื่อเราเมตตา กรุณาแล้ว บางครั้งก็ต้องทำใจอย่างมากที่จะไม่ยึดติดเมื่อมันไม่เป็นผล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท