การเสวนา การขยายโอกาสการปฏิรูปการเรียนรู้เด็กน่าน


การปฏิรูปการเรียนรู้เด็กน่าน

การเสวนา การขยายโอกาสการปฏิรูปการเรียนรู้เด็กน่าน

27 สิงหาคม 2558 เวลา 13.00 ณ ห้องประชุม สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดน่าน

(ถ่ายทอดสดผ่านทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดน่าน)

ด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน โดยศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)เพื่อดำเนินงานพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนจังหวัดน่าน ตามโครงการจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัดน่าน ระหว่าง ปี 2558- 2559 เป้าหมายการดำเนินงานคือ เด็กและเยาวชนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดน่าน การดำเนินการเป็นเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การค้นหาภาคีเครือข่ายที่จะร่วมกันหนุนเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาและการพัฒนาคุณภาพของเด็กและเยาวชนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดน่าน ต่อไป

ในการนี้ศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจาก ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ มาเป็นประธานเสวนา

ประเด็นการเสวนา

  • ขยายโอกาสทางการศึกษาสภาพข้อเท็จจริงจากการดำเนินงาน
  • จะทำอย่างไรกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
  • มุมมองสภาพการจัดการศึกษาของจังหวัดน่าน
    • จุดเด่น ความสำเร็จ
    • จุดด้อย/ปัญหา/อุปสรรค
  • รูปแบบการจัดการศึกษาระดับจังหวัดต่อไปควรเป็นอย่างไร

ผู้ร่วมเสวนา

ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพผู้ทรงคุณวุฒิฯ

ว่าที่ร้อยตรีสมเดช อภิชยกุล ประธานศูนย์ปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัดน่าน

นายนรินทร์ เหล่าอารยะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน

และ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานส่วนราชการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาจังหวัดน่าน

ดำเนินการเสวนา โดย ศน.สมเพ็ชร สิทธิชัย

รายละเอียดการเสวนา

1.นายนรินทร์ เหล่าอารยะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน กล่าวขอบคุณดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้ทรงคุณวุฒิฯและแสดงความคิดเห็นดังนี้

-การศึกษามีการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการศึกษาหมุนเวียนเปลี่ยนไปและกลับมาสู่ข้อต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่มีร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีการบังคับใช้ต่อไป

-ในวันนี้มีผู้แทนการศึกษาจากทั้งในระบบ นอกระบบ มาคุยกัน ความคิดเห็นต่างๆ ที่คุยกันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาซึ่งมีมากมายไม่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น

2.ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพผู้ทรงคุณวุฒิฯ กล่าวถึงเป้าหมายที่จัดการศึกษาที่เป้าหมายต้องชัดเจนโดยให้หลักคิด5 หลักคิด ดังนี้

1.การศึกษาเป็นการสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์ ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ พัฒนาคน พัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมดุล

2.การศึกษาเพื่อคนทุกช่วงวัย พัฒนาความแข็งแรง สติปัญญาความพร้อมในการประกอบอาชีพ และ การพัฒนาแรงงาน ในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมที่เป็นกลไกลขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้
3.ทำให้การศึกษามีความหลากหลายความหลากหลายของการเรียนรู้ เด็กแต่ละคนมีความมุ่งมั่น มีจุดหมายแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการศึกษาที่หลากหลายแตกต่างกันไป

4.สร้างและรักษาคนให้กับชุมชน ท้องถิ่น เพื่อให้สามารถรักษาท้องถิ่น สายใยความเชื่อมโยง ให้เกิดความมั่นคงไว้ได้

5.การปฏิรูปกลไกลการจัดการให้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่

ในการปฏิรูปการเรียนรู้ของเด็กน่านควรนำหลักคิด 5 หลัก เป็นกรอบความคิดเพื่อตอบโจทย์เพื่อให้เด็กน่าน มีความสุข ดี เก่ง พร้อมรักษ์ถิ่นเกิดใฝ่รู้ เข้าถึงข้อมูลความรู้ พัฒนาตนเองให้รู้หลากหลาย เห็นโอกาส เห็นความหวัง สร้างงาน สร้างอาชีพในท้องถิ่น ที่ต้องดำเนินการจัดการด้วยตนเอง

การศึกษาของน่าน น่าจะเป็นไปด้วยดีในการจัดการศึกษาให้เด็กได้ค้นพบตนเอง เพื่อพัฒนาเป็นอาชีพของตนเองในอนาคตต่อไป น่านเป็นจังหวัดที่รวมตัวกันเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ดีมาตลอด สิ่งที่ต้องทำต่อไปเป็นเรื่องไม่ซับซ้อน เป็นสิ่งที่ เป็นข้อมูลข้อเท็จจริง สภาพของเด็กเยาวชน การดูแลช่วยเหลือกลไกลการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน และการติดตามโครงการงานต่าง ๆ ตามเป้าหมายที่วางไว้ แตกต่างกันออกไป ให้นักเรียนเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของจังหวัด มีความมั่นใจในตนเอง มีความสุข คิดได้ คิดเป็น เรียนรู้ในสิ่งที่ชอบ
ตามศักยภาพที่มีอยู่

3.มุมมองสภาพการจัดการศึกษาของจังหวัดน่าน

- ข้อมูลที่ใช้ในการขับเคลื่อน

- การศึกษาไม่ตอบโจทย์ปัญหาในชีวิตได้

- ม.ต้นขยายโอกาสไม่เรียนต่อ 30% ดังนั้นต้องสามารถมีความรู้นำไปใช้ประกอบอาชีพได้

- 50 % เป็นเด็กด้อยโอกาส ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่า น่านพร้อมจะแก้ปัญหาการศึกษาด้วยกัน

- ในส่วน รร.พระปริยัติธรรม และระดับปริญญาตรี ใช้ประชาคมจังหวัดน่าน การปลูกฝังผู้ปกครอง ร่วมคิด ร่วมทำ ทำให้ประสบความสำเร็จ

- จัดการศึกษาแบบทวิศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสพม.โดยให้นักเรียนที่สนใจ
เรียนสายวิชาชีพควบคู่กับการเรียนในระดับม.ต้นโดยความร่วมมือของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดน่าน แบ่งโซนความรับผิดชอบตามพื้นที่รับผิดชอบ

- การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระยะสั้นด้านวิชาชีพ

- ควรให้นักเรียนเน้นการผลิตสินค้าเพื่อขายและโชว์ เน้นให้มีความรู้ในเรื่องการเกษตรกรรมที่ประณีต ด้านเทคโนโลยีอาหาร มองที่อาชีพของครอบครัว พัฒนาอาชีพดั้งเดิมของครอบครัวให้
- พัฒนามีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย

- ควรสร้างนักเรียนให้เป็นผู้มีระเบียบวินัยที่ดี มีความรับผิดชอบ แกปัญหา คิดวิเคราะห์ในทุกเรื่อง สร้างภูมิคุ้นกันให้ได้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

- สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน ให้มีอุดมการณ์ มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่น อาชีพท้องถิ่น

- การประกอบอาชีพในปัจจุบันไม่ตรงกับที่เรียน ควรจะปรับให้มีการเรียนเพื่อการประกอบอาชีพในท้องถิ่นเช่น การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ช่างไม้ ฯลฯ

4.รูปแบบการจัดการศึกษาระดับจังหวัดต่อไปควรเป็นอย่างไร

จากจุดเด่นความสำเร็จของจังหวัดน่านที่เป็นจังหวัดเล็กๆ สามารถพัฒนาสิ่งต่างๆได้อย่างทั่วถึงมีการรวมกลุ่มกันในการพัฒนาการศึกษาได้ประสบความสำเร็จมาระดับหนึ่ง

จากจุดด้อย/ปัญหา/อุปสรรค ที่มีการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนต่อในระดับสูงขึ้น การจัดการศึกษาเพื่อให้เป็นมนุษย์เงินเดือน และการศึกษาไม่ตอบโจทย์ชีวิต ประกอบอาชีพไม่ตรงกับสาขาที่เรียนมา ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น

เชื่อว่ารูปแบบในการจัดการศึกษาของจังหวัดน่าน จากการเสวนาในวันนี้ เห็นว่า ควรมีการพัฒนาการจัดการศึกษาให้เยาวชนพึงพอใจตนเอง รักท้องถิ่น นำภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่นมาบูรณาการในการเรียนการประกอบอาชีพ เพื่อสามารถประกอบอาชีพในท้องถิ่น ให้เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ได้ตลอดเวลาตามที่ต้องการและเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตเพื่อให้เกิดการพัฒนาอยู่เสมอตลอดไปโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ ปัญหาของนักเรียน/โรงเรียนและทักษะอาชีพเน้นให้ นักเรียนรู้ว่าเป็นอาชีพที่ดี เพื่อให้เด็กน่าน รักดี รักษ์ถิ่นเกิด เรียนรู้สู่สากลนั่นเอง

ในการเสนาครั้งนี้คงจะเป็นประโยชน์ในการนำแนวคิด ความคิดเห็นเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดน่านต่อไปซึ่งเวทีนี้มิใช่เวทีสุดท้ายซึ่งจะต้องมีการดำเนินการในส่วนต่างๆ ให้ตกผลึกและนำไปสู่เป้าหมายที่แท้จริงสำหรับใช้ในการกำหนดงานโครงการในการดำเนินการต่างๆ ต่อไป

ข้าพเจ้าครูอริศรา ในฐานะผู้เข้าร่วมเสวนาเห็นเป็นข้อมูลที่สำคัญจึงได้เขียนบันทึกไว้เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในการบันทึกอาจจะมีการขาดตกบกพร่องบ้างถ้าผู้ร่วมเสวนาท่านใดมาอ่านเพิ่มเติม เติมเต็มให้ครบหรือเท่าที่จำได้ข้าพเจ้าก็ยินดียิ่งนัก

หมายเลขบันทึก: 594210เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2015 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2015 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น้อมนำการปฏิบัติลงสู่การพลิกโฉมโรงเรียนแบบจริงจัง เพื่อให้เด็กน่านเรียนรู้รักมาพัฒนาบ้านเกิดหลังสำเร็จการศึกษา

ขอบคุณค่ะน้องครูปนัดดา ผู้ร่วมเสวนาอีกท่านที่มาช่วยเติมเต็มค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท