มันสำปะหลังโคนเน่า-หัวเน่า


จากรายงานของสำนักงานเกษตรจังหวัด 54 จังหวัด เมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 9,303,686 ไร่ พบปัญหามันสำปะหลังโคนเน่า-หัวเน่า เนื่องจากสภาพอากาศที่เริ่มมีฝนตกทุกภาค เป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค ขณะนี้พบการระบาดในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.บุรีรัมย์ จ.นครราชสีมา และจ.กาฬสินธุ์ รวม 1,620 ไร่

ในพื้นที่ ที่เป็นดินอุ้มน้ำ ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียวหรือดินดาน ที่มีการระบายน้ำไม่ดี เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาของโรคนี้

กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร รณรงค์ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมในพื้นที่ที่พบการระบาด

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมและยับยั้งการเกิดโรครากโคนเน่า รวมถึงโรคเหี่ยว เมล็ดเน่า กล้าไหม้ เน่าคอดิน แอนแทรกโนส ทั้งในพืช ผัก ไม้ผัก ไม้ดอก รวมทั้งลดการเกิดกาบใบไหม้

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจตรวจแปลงปลูก หากพบอาการใบเหลือง เหี่ยว และโคนต้นเริ่มเน่า แนะนำให้ใช้เชื้อราไตรโค เดอร์ม่า (เชื้อสด) อัตรา 10 กก.ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1,000 กก./ไร่ โรยโคนต้น หรือหากพบในมันสำปะหลังที่มีอายุมากกว่า 3 เดือน ให้ใช้ปูนขาวหว่านโดยรอบหรือให้ฉีดพ่นสารเคมี ฟอสอีทิล อะลูมิเนียม อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ราดต้นละ 300 ซีซี หรือพ่นอัตรา 150 กรัม/ไร่ โดยรอบห่างออกไปประมาณ 1 เมตร

ให้พิจารณาปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพดหรืออ้อย หรือปรับปรุงบำรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า

ในช่วงการเตรียมแปลงปลูก ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด) อัตรา 10 กก.ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1,000 กก./ไร่ ร่วมด้วย

การใช้ท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง จากแหล่งที่ไม่เป็นโรค หรือการแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารกำจัดเชื้อรา หรือใช้พันธุ์ที่ทนทานต่อการเน่า เช่น ระยอง 72

(อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/agriculture/343059)

คำสำคัญ (Tags): #ชยพร#การเกษตร
หมายเลขบันทึก: 593868เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2015 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2015 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท