เปรียบเป็นเช่นเรือจ้าง(กฎสากล)


ใครหนอใครเปรียบครูดั่งเรือจ้าง
คอยนำทางพาศิษย์รักถึงหลักฝัน กาลเวลาเปลี่ยนผ่านนานนับวัน
เรือลำนั้นยังสานต่อก่อศรัทธา เรีอลำใหม่หย่อนลงน้ำย้ำทางเก่า
ถึงหนักเบาไม่เคยซ้ำพร่ำเรียกหา หวังเพียงเพื่อศิษย์เรียนรู้คู่ปัญญา
แม้นน้ำตาและหยาดเหงื่อตกเกลื้อดิน ใครกันเล่าเฝ้าสอนสั่งเมื่อพลังผิด
คอยชี้ทิศบอกทางมิสร่างสิ้น งามพระคุณสูงค่าอยู่อาจิณ มิวายสิ้นสืบสานธารน้ำใจ
หลากสีสันเลื่อมลายม่านสายหมอก กระซิบบอกกระแสสินธุ์ระรินไหล
ส่งเรือจ้างเทียบท่าบุปผาไพร กรองมาลัยเกลียวมะลิ “มุทิตา”
http://www.thaipoem.com/poem/110369

คนโบราณช่างล้ำลึกจริงๆ ที่เปรียบเทียบครูด้วยเรือจ้าง ช่างเป็นการเปรียบเปรยที่ได้ทั้งภาพและความหมายจริงๆ เมื่อครูเปรียบดั่งเช่นนั้นแล้ว และเส้นทางเดินของเราก็มีหลากหลาย ทั้งถนนใหญ่ปูด้วยมะตอยที่อยู่บนลูกรังที่ผ่านการบดอัด อีกทั้งตรอกซอยเล็กๆ ทางเท้า หรือแม้กระทั้งทางน้ำ เมื่อใดที่เราสัญจร อยู่บนถนนใหญ่ และระยะทางไกล รถยนต์คันงามกำลังดีสามารถพาเราไปยังจุดหมายที่วางไว้ วันไหนที่เราอยากชมแม่น้ำ เราก็นั่งเรือสุขสำราญ หากเส้นทางตรอกซอยขนาดเล็กรถใหญ่เข้าลำบาก เราก็นั่งจักรยานหรือมอเตอร์ไซต์ปั่นขี่เข้าไป จนสุดทางที่ยานภาหนะใดๆเข้าไปไม่ได้เว้นแต่การเดินเท้า เราก็ย่างก้าวไปด้วยเท้าเรา สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เราเห็นว่า ครู จะครูเล็กครูใหญ่ ครูในห้องเรียนนอกห้องเรียน สูงวัยหรือเด็กน้อย ครูทางตรงหรือทางอ้อม ล้วนคือครูผู้มอบความรู้ให้เรา


ความรู้ของครู แม้จะไม่เท่ากันในแต่ละครู แต่ในความรู้ที่เขามี มันแฝงด้วยข้อคิด ฮิกมัตและบารอกัต (วิทยปัญญาและสิริมงคล) ดังนั้นแล้ว จงอย่าเลือกครู อย่าเจาะจงครู

“จงเรียนรู้จากครูให้มากคน แล้วเราจะเป็นคนมากความเข้าใจ”

ไม่คิดแคบและลามไปใหญ่สร้างความแตกแยก (เอย)

มารยาทและรูปแบบการกตัญญูต้องมี critical thinking ก็ต้องดี

วัลลอฮูอะลัม


หมายเลขบันทึก: 593002เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2015 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2015 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท