ฮิกมะฮ์ของการเตาวาฟ


ได้อะไรบ้างจากการเตาวาฟบัยตุลลอฮ์

การเตาวาฟ เป็นการเดินวนรอบจุดศูนย์กลางคือ บัยตุลลอฮ์ 7 รอบ เดินทวนเข็มนาฬิกา และต้องให้ใหล่ซ้ายตั้งฉากกับบัยตุลลอฮ์ตลอดเวลา โดยเริ่มเหนียตเตาวาฟจากมุมหินดำ หรือมุมฮะญารัลอัสวาส การเตาวาฟต้องมีน้ำละหมาด ดังนั้นการเตาวาฟที่ให้หัวใหล่ตั้งฉากกับบัยตัลลอฮ์ได้ตลอดเวลาได้อย่างดีที่สุด ก็คือ การเตาวาฟที่อยู่ใกล้บัยตุลลอฮ์ หรือเตาวาฟรอบในมากอมอิบรอหีมนั่นเอง จากประสบการณ์การเตาวาฟ การเตาวาฟ ที่เดินสบายที่สุดคือ เดินเตาวาฟวงในหรือในมากอมอิบรอหีม ถ้าดูแล้ว น่าจะยาก ใช่ไหมคะ แต่จริงๆ ไม่ใช่ เพราะการเดินวงในจะไม่ถูกกระแทก จากบุคคลอื่น เพราะคนที่เตาวาฟรอบใน จะไม่เดินเข้าและเดินออก ทุกคนต่างเดินเวียนบัยตุลลอฮ์ แต่บริเวณที่เตาวาฟยากสุด คือบริเวณตรงกลางๆ เพราะเป็นบริเวณที่มีการถูกกระแทกเข้า ออกตลอดเวลา และทำให้เสียสมาธิอีกต่างหาก ซึ่งหากผ่านรอบกลางเข้าไปด้านในได้ จะเดินเตาวาฟสบายกว่า และไม่เหนื่อยด้วย เพราะรอบสั้น

การเตาวาฟเปรียบเหมือนเราเชื่อมโยงกับอัลเลาะห์(ซบ) ห้ามว็อกแวก จิตใจมุ่งไปยังอัลเลาะห์(ซบ ) เชื่อมให้ได้อย่างเต็มที่ การเตาวาฟ สะท้อนให้เห็นหลักการอิสลาม หลักการดำเนินชีวิต ที่ไม่ให้หลุดจากวงโคจร ที่อัลเลาะห์(ซบ ) เชื่อมหัวใจของมนุษย์กับพระองค์ การเตาวาฟ เหมือนดวงดาว โคจรรอบดวงอาทิตย์ เสมือนทุกอย่างผูกพันธ์กับอัลเลาะห์(ซบ ) การเตาวาฟเป็นอิบาดะ ที่เป็นรูปแบบ แตกต่างจากละหมาด ตรงที่เราสามารถเติมหรือใส่อะไรก็ได้ ในการเตาวาฟ ซึ่งเราเป็นผู้กำหนด คนแต่ละคน ต้องการไม่เหมือนกัน เหมือนไปเข้าเฝ้าอัลเลาะห์ (ซบ) จริงๆ แต่ละหมาดเป็นการเข้าเฝ้าเชิงสัญลักษณ์ ที่มีแบบแผน (pattern) ที่แน่นอน แต่เราไปเตาวาฟ ณ บ้านของอัลเลาะห์(ซบ ) จริงๆ ในแต่ละรอบ จงขอดุอาว์จากอัลเลาะห์ (ซบ ) และขอดุอาว์ตามที่ใจเราอยากจะขอ เพราะแต่ละคนมีความต้องการในการขอดุอาร์แตกต่างกัน วางแผนไปเลย แต่ละรอบ ขอดุอาร์อะไร เชื่อมโยงกับอัลเลาะห์(ซบ ) อย่างไร การเตาวาฟจึงเป็นฮิกมะที่อัลเลาะห์(ซบ ) รู้ว่า ความต้องการของมนุษย์แต่ละคนแตกต่างกัน เพราะบทบาทต่างกัน พระองค์เลยเว้นช่องว่าง ให้แต่ละคนเติมหรือใส่อะไรก็ได้ ในการเตาวาฟ

การเตาวาฟแต่ละรอบเปรียบเสมือนช่วงชีวิตคนแต่ละวัย สะท้อนชีวิตความเป็นจริงของมนุษย์ ว่ามีเกิด มีการพุ่งสู่จุดสูงสุด ค่อยๆ ถดถอยโดยวัย การที่เราเตาวาฟก็เหมือนอยู่ในเส้นทางการดำเนินชีวิตในแต่ละวัย ซึ่งต้องผ่านการทดสอบมากมาย โดยเฉพาะการแข่งขัน การดำเนินชีวิตในแต่ละวัย แต่ละขั้นตอนของการใช้ชีวิตต้องวางแผน ตั้งเป้าหมาย และเดินไปสู่เป้าหมายนั้น การเตาวาฟก็เช่นเดียวกัน ต้องวางแผนว่าจะลงเตาวาฟตรงไหนและเดินหรือเคลื่อนอย่างไร เพื่อเข้าใกล้บัยตุลลอฮ์ให้มากที่สุด และเข้าสู่ศุนย์กลางให้มากสุด โดยมีเงื่อนไข ไม่ใช่แก่งแย่ง ไม่กระแทกคนอื่น และอยู่ภายใต้กฏระเบียบ กฏเกณฑ์ ที่อัลเลาะห์ ) สร้างขึ้น ในความเป็นจริงของการเตาวาฟเราต้องค่อยๆ ขยับเข้าสู่วงใน ทีละรอบๆ หรือแม้แต่เมื่อเราเตาวาฟครบ 7 รอบแล้ว ต้องการจะออกจากลานเตาวาฟ ก็ต้องค่อยถอยห่างออกมาทีละรอบๆ เหมือนกัน ถ้าอยู่ๆ รีบเร่ง ก็จะผิดธรรมชาติ กระแทกคนอื่น ชนคนอื่น เพื่อให้ตัวเองได้มา ซึ่งหมายถึงเราต้องทำความเดือดร้อนให้กับคนอื่น ขบวนต่างๆ การเคลื่อนไปอย่างเป็นระบบก็จะถูกอยุดยั้ง มันก็จะกลายเป็นความเห็นแก่ตัว ดังนั้นถ้าทำโดยไม่เข้าใจ และได้อะไรมาอย่างต้องเบียดเบียนคนอื่น หรือได้มาด้วยวิธีที่ผิด ได้มาซึ่งการเห็นแก่ตัว สิ่งนั้นก็จะไม่ได้รับการตอบแทนอะไรเลยจากอัลเลาะห์ )

การเตาวาฟเป็นการจำลองชีวิต เหมือนมนุษย์ ใช้ชีวิต 7 รอบ ไต่เต้าเข้าไปเรื่อยๆ เหมือนเราเคลื่อนที่ตามกระแส ทยอยเข้าสู่จุดสูงสุด โดยให้กระทบกับคนอื่นน้อยที่สุด ดังนั้นในแต่ละรอบเราต้องเชื่อมโยงกับอัลเลาะห์ตลอดเวลา เพื่อให้การดำเนินชีวิตเกิดประโยชน์สูงสุด การแข่งขันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เป็นวิถีของมนุษย์ แต่ต้องอยู่ในระบบ อยู่ในกฏกติกา ไม่ทำความเดือนร้อนกับคนอื่น การดำเนินชีวิต เหมือนกับการเตาวาฟ ไม่มีเวลา สนใจเรื่องของคนอื่นมากมายนัก ถึงแม้อยู่ในขบวนเดียวกัน อย่างมากที่สุด ก็ช่วยพยุง ไม่สามารถช่วยอะไรมากกว่านั้นได้ มิฉะนั้น การเชื่อมโยงกับอัลเลาะห์จะเสียหาย จริงๆ เราทุกคนมีเวลาน้อยมาก อัลเลาะห์ ) ให้เราเกิดมาอยู่ในโลกนี้เพื่อรับผิดชอบตัวเอง และรับผิดชอบครอบครัว และรับผิดชอบสังคมรอบข้าง และจงทำมันอย่างดีที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งดุนยาและอาคีเราะห์
หมายเลขบันทึก: 592986เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2015 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2015 06:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท