การศึกษาขีดความสามารถของไทยเพื่อส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการกีฬาของภูมิภาคอาเซียน


สวัสดี ชาว Blog ทุกท่าน ,

ผมได้รับเกียรติจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดย รศ.สุพิตร สมาหิโต หัวหน้าคณะวิจัยฯ เชิญผมมาบรรยายพิเศษ เรื่อง เรื่อง Sports Tourism จะสร้างเศรษฐกิจได้หรือไม่สำหรับประเทศไทย ในการสัมมนา เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายและเผยแพร่ผลการศึกษาเรื่อง “การศึกษาขีดความสามารถของไทยเพื่อส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการกีฬาของภูมิภาคอาเซียน” ในวันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ ครับ

ผมขอเปิด Blog นี้ เพื่อเป็นคลังความรู้ของพวกเรา และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมุมมองหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ






หมายเลขบันทึก: 592875เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2015 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2015 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

การสัมมนาเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายและเผยแพร่ผลการศึกษา

เรื่อง “การศึกษาขีดความสามารถของไทยเพื่อส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการกีฬาของภูมิภาคอาเซียน”

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2558


กล่าวเปิดโดยปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม

ปลัดกระทรวงฯ ได้กล่าวว่างานนี้เป็นงานแรกที่พูดด้านกีฬารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่พูดเรื่องการศึกษาขีดความสามารถของไทยเพื่อส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการกีฬาของภูมิภาคอาเซียน

ทำให้มองเห็นภาพใหญ่ขึ้นในการพัฒนาประเทศไทย สามารถรู้ว่าสถานะเป็นอย่างไร เป็นการศึกษาที่ให้เห็นว่าโอกาสทางด้าน Sport ในอาเซียนเป็นอย่างไร

เป้าหมายคือเพื่อให้แน่ใจว่า สถานบริการกีฬาในประเทศไทยมีการใช้อย่างเต็มที่และทำอย่างไรให้การพัฒนากีฬาเดินไปข้างหน้า การศึกษาเน้นเรื่องการเปิดภาพกว้าง แต่ต้องเน้นเรื่องการพัฒนากีฬาต่อไป

เน้นเรื่องจุดแข็งจุดอ่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินการต่อไป อีกทั้งทิศทางในการเป็น Sport Hub ของอาเซียน อยากให้ดูตัวอย่างประเทศที่เปรียบเทียบมาเลเซีย กับสิงคโปร์แล้วดูทิศทางว่าเป็นอย่างไร

สิงคโปร์ มีศูนย์ Sport Complex เพื่อสร้างความตื่นตัวทางการท่องเที่ยว

มาเลเซีย มี Sport Center

ส่วนประเทศไทยถ้าจะมีการพัฒนาเป็น Sport Hub City ได้ คือมีอะไรที่ดีอยู่แล้วให้ดึงขึ้นมา เช่นการพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬา

มีการพูดคุยทั้ง 3 หน่วยงานว่าศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬามีการใช้งานทั้งหมดมากน้อยเพียงใด สิ่งที่ควรทำคือ ต้องมีการบูรณาการกันในสถานที่ที่ 3 หน่วยงานมีและจะมีการบูรณาการที่ไหนอย่างไร การใช้งบประมาณอย่าต่างคนต่างใช้

ในประเทศไทยให้ดูว่ามีศูนย์อะไรที่เป็นเช่นนี้เช่น มวย ทำให้ภาพประเทศไปสู่ทิศทางการพัฒนากีฬาได้อย่างไร

เป้าหมายของการสร้างความเป็นเลิศทางกีฬาได้ ต้องสร้าง Trend ขึ้นมา เช่น การขี่จักรยาน Bike for mom มีคนขี่จักรยาน 700,000 คนทั่วประเทศ ถ้าทัวร์เดอฟรานมีแล้ว จึงน่าจะมีทัวร์เดอจีเอมเอส ได้ ต้องคำนึงถึงศูนย์ที่ Support ว่ามีที่ไหนบ้างมี Event ต่าง ๆ อย่างไรบ้าง สร้างความตื่นตัวให้กับประเทศไทย ที่ผ่านมามีการทำกันมาแต่ตอนนี้จะมองให้เป็นระบบมากขึ้นอย่างไร

โดยเฉพาะโอกาสตอนนี้มีระบบมากขึ้นเรื่อย ๆ จะวางรากฐานอย่างไร

การจะไปสู่การกีฬาต้องเป็นระบบเราต้องวางรากฐานในการมองระยะยาว 4 ปีไปข้างหน้า เราต้องเน้นความต่อเนื่อง

1.การเตรียมตัวไปสู่การแข่งขันหรือ Event ต่าง ๆ ทั่วโลก

2. การวางรากฐานความเป็นเลิศสู่การพัฒนากีฬาแต่ละจุดมีการวางแผนให้โปร่งใส และมีการวางรากฐาน

3. การบูรณาการกีฬาที่มีอยู่แล้วจะดึงภาคเอกชนมาด้วยจะทำอย่างไรให้สร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้น

โอกาสที่ ดร.สุพิศเสนอขึ้นมามี 10 กว่าเรื่องต้องมีแผนที่ชัดเจนว่าจะดำเนินการอะไรต่อไป เป็นแผนปฏิบัติการว่าจะต้องเดินอะไรต่อไปในอนาคต

ที่ผ่านมาพบว่ามีความไม่ต่อเนื่องทางนโยบาย ขอความชัดเจนเรื่องทิศทางการพัฒนาการกีฬาว่าจะทำให้เกิดความต่อเนื่องอย่างไร จะดึง Event ต่าง ๆ ระดับโลกอะไรบ้างที่สร้างความตื่นตัวขึ้นมาในไทยได้

ข้อดีของประเทศไทยคือเป็นศูนย์กลางจริง ๆ แต่ขาดการบริหารจัดการและการบูรณาการใน 3 หน่วยงาน แต่พบว่ามีความสนใจจากภาคเอกชนอยู่ เราอาจไม่เป็นคนสร้างเองแต่ภาคเอกชนจะสร้างได้

ภาครัฐต้องมีบทบาทในการสนับสนุนพื้นฐานอย่างไร ต้องชัดก่อนแล้วการลงทุนจากภาคเอกชนจะตามมา จึงอยากให้การสัมมนาวันนี้มีการต่อยอดต่อ

สรุปโดย ทีมงาน วิชาการ Chira Academy

การบรรยายพิเศษเรื่อง Sports Tourism จะสร้างเศรษฐกิจได้หรือไม่สำหรับประเทศไทย

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หัวข้อจริง ๆ คือเรื่อง Sports Tourism นั้นเป็นการทำวิจัยที่กระทรวงฯ มอบให้ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ทำงานติดต่อมาเป็นปีที่ 3 แล้วจะต่อไปปีที่ 4และ 5

Sports Tourism จะเป็นตัวขับเคลื่อนการท่องเที่ยวและกีฬา และคิดว่าจะสามารถขับเคลื่อนการท่องเที่ยวได้มากขึ้น

การนำกีฬาเป็นยุทธศาสตร์ไปสู่การขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายนัก

ศักยภาพการกีฬาที่มีผลกระทบต่อการเมืองและเศรษฐกิจน่าจะมหาศาล เรื่อง Sports Facility , Sport Equipment , Sport Event

มูลค่าทาง Sport Activity คิดว่าเป็นล้าน ๆ

Sports Tourism ถ้าเราสามารถคำนวณจริงๆ อาจถึง 2 แสนล้านแล้วก็ได้

ถ้าวันนี้ Road map ดีเป็นที่ยอมรับของกระทรวงฯ ก็น่าจะใช้ร่วมกัน

1. การเพิ่มยุทธศาสตร์ทางการท่องเที่ยวและกีฬามากขึ้นเรื่อย ๆ อะไรที่สามารถช่วยประเทศได้และทำอย่างยั่งยืนน่าจะใช้ร่วมกัน

2. จุดเริ่มต้นของความสนใจเรื่อง Sport Tourismพบว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่สร้างศักยภาพการแข่งขันไปรองรับอาเซียน กลายเป็นข้อเสนอแนะที่เสนอไปที่กระทรวงฯแต่จุดเริ่มต้นยังไม่พอ ต้องเปลี่ยนคำว่า Sport Tourism ไปสร้างให้เกิดโอกาส ดูตัวอย่างออสเตรเลีย สหรัฐ และสิงคโปร์เป็นต้น

การมอง Sport Tourism จึงอยากให้มองถึง Green and Sustainability ด้วย

3. พื้นฐานท่องเที่ยวมีมากกว่า เม็ดเงินมีชัดกว่าผู้บริหารจะมองท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่วนมุมทางกีฬาก็มองกีฬาแบบนักกีฬา แต่ถ้ามองในภาพรวมคือแบบเป็นกลาง ๆ จะสามารถเชื่อมให้ครบทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สุขภาพ และการท่องเที่ยว ต้องเน้นความร่วมมือและการบูรณาการหลาย ๆ ตัว การนำประเทศไทยไปสู่ความเป็นเลิศ ตัวละครต้องมี ข้าราชการ นักธุรกิจ นักวิชาการ และผู้นำชุมชน

สังเกตตัวอย่างจังหวัดในประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาก็มากอยู่แล้วถ้ารวมด้านกีฬาเข้ามาด้วยคิดว่าน่าจะสร้างรายได้ ไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้าน

4. Hard and Soft Sport Tourism

Hard คือ Event ต่าง ๆ

Soft คือ คนส่วนใหญ่ไปเล่นกีฬาในที่ต่าง ๆ

อย่างเมืองนอกจะมี Sentimental Sport Tourism คือการไปดู Hall of Frame เป็นต้น

สรุปคือ การไปดูกีฬาที่มีอยู่แล้ว ไปเล่นกีฬา สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างรายได้ขึ้นมาได้ ตัวอย่างที่ไทยทำได้ผลคือ Asean Beach Game ที่ภูเก็ต

การเชื่อมโยงระหว่างการกีฬาเมื่อเล่นเสร็จ สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวด้วยจะมีมูลค่ามหาศาล แต่ปัจจุบันท่องเที่ยวและกีฬาอยู่คนละซีก ขาดการบริหารจัดการโดยรวมเป้าหมายไปด้วยกัน อย่าให้กระทรวงฯ ทำคนเดียว แต่ให้เน้นการสนับสนุนให้คนอื่นมาร่วมด้วย

เน้นความรู้ที่ตรงประเด็น เน้นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน และแบ่งปันผลประโยชน์กัน

5. Sports Tourism สามารถสร้างเศรษฐกิจให้ประเทศไทยได้อย่างมหาศาลถ้า รัฐบาลเข้าใจ มีการบริหารจัดการที่ดี มีการประสานงานและบูรณาการในภาคส่วนต่าง ๆ ต้องมีการเชื่อมกีฬากับท่องเที่ยวเป็น Mutual Benefit คือการบริหารจัดการ มอง Vision ในอนาคตและ Turn into benefit ระหว่างประเทศ

สิงคโปร์มีโครงการที่จะ Maximize Benefit ของการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม เขาสนใจเรื่องทุนมนุษย์ เห็นคุณค่าของทุนมนุษย์

การพัฒนาคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่างเรื่อง Sport Tourism เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของคนและ Maximize ผลประโยชน์เหล่านี้ แต่สิ่งที่ทำไม่ได้คือ การขาดความร่วมมือ ผลประโยชน์ทับซ้อน และคนที่ไม่มีประสิทธิภาพพอ

ประเทศไทยมีศักยภาพทั้ง Hard and Soft

ศักยภาพเหล่านี้มีอยู่แล้ว มีมหาศาล แต่มอง Phuket and Samui มากกว่า Tourism แต่มองไปที่ Sport Tourism ต้องอยู่ที่การบริหารจัดการ มี Vision ,Turn Reality ไปอยู่ Success

การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกในประเทศไทยสามารถสร้าง Tourism ได้

Brand กีฬาบวกการท่องเที่ยวคืออะไร ยังไม่มีแต่สร้างได้ ตัวอย่างเช่นสนามกีฬาของดุสิตธานีเหมือนมอนติคาโลเพราะเห็นทะเล

Sports Tourism คือ Domestic Tourism ด้วย คือมีประโยชน์มากเลย

สิ่งที่อยากให้คือ 1. วิธีการ 2. ความรู้ใหม่ และจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร ต้องมีกระบวนการการทำงาน ต้องถามว่า Sport Tourism วันนี้เราอยู่ตรงไหน มี Goal อะไร และมียุทธวิธีอย่างไร ต้องถามตัวเองว่า Execution หรือสิ่งที่เจออุปสรรคแล้วไม่สำเร็จคืออะไร

ยุทธวิธีจะทำอย่างไรให้มีการวางแผนและต่อเนื่อง และสามารถดึงคนที่อยู่ในกีฬามาท่องเที่ยวในภายหลังด้วย

ให้มีการสร้าง Network ทำงานร่วมกัน ระหว่างข้าราชการ นักวิชาการที่อยู่ใน Field ของท่องเที่ยวและกีฬานักธุรกิจที่อยู่ในวงการกีฬาและท่องเที่ยว และสุดท้ายคือผู้นำท้องถิ่นต้องยกย่องให้มีส่วนร่วม

การเดินต่อไปใน Sports Tourism เชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถสร้างรายได้จากตรงนี้ได้

ถึงเวลาที่ทำการกีฬาไปเพิ่มรายได้ทางการท่องเที่ยวให้เป็นกอบเป็นกำSports Tourism ไม่ใช่แค่รายได้อย่างเดียวแต่เป็นเรื่องความรู้สึกในการเล่นกีฬา กลายเป็นการสร้างสามัคคี ลดความแตกแยกในสังคม

อยากให้การประชุมในวันนี้ไม่ใช่การฟังและหายไป แต่ขอให้เน้นความต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ปีแรกที่ทำหัวข้ออยู่ที่การท่องเที่ยว เป็นการออกแบบร่วมกันระหว่างดร.จีระ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ใช้ตัวละคร 4 กลุ่มในการจัดประชุม มีตัวแทนภาครัฐ นักวิชาการ ผู้นำท้องถิ่น

การท่องเที่ยวโดยชุมชน ใช้กระบวนการที่คิดร่วมกัน และใส่องค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้ขยายต่อไป การค้นพบ 2 R’s คือความจริง ที่เรามีสนามกีฬาอยู่แล้ว และมีหลายที่ที่ถูกทิ้งร้างไป

และที่น่าสนใจ ชาวบ้านสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ด้วยตนเอง เช่นโครงการปั่น ปัน สุข ที่จังหวัดตราด และที่เชียงคานมีการพ่วงการขี่จักรยานกับประเพณีการทำผาสาดลอยเคราะห์

การวางยุทธศาสตร์ ทำให้การเดินแหลมคม และมีแนวอยากให้ Sports Tourism เป็นยุทธศาสตร์ของกระทรวงฯ

การทำงานของ Sports Tourism การโยง Trend มาสู่การสร้างโอกาส Bike for mom

เน้นยุทธศาสตร์ที่ดี มีการเก็บข้อมูลที่ดี จะได้ทั้ง Mutual Benefit ได้ win-win กระจายสู่ท้องถิ่น ได้ทั้งชุมชน และวัฒนธรรมด้วย เช่น กีฬาหน้าฝน

สรุปคือ Sport Tourism ต้องทำใน 2 อย่างหลักคือ การบูรณาการภาคีเครือข่าย และการกระจายความรู้ด้านสุขภาพ และความมั่นคง

ดร.จีระ เสนอว่าควรคิดเรื่องท่องเที่ยวในระดับนานาชาติอาจทำกีฬาพื้นบ้านที่ทำอยู่ตามชายขอบ แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือการกระตุ้นให้คนในประเทศเดินทางมากขึ้นโดยใช้กีฬาเป็นตัวอย่าง

Impact ทางเศรษฐกิจมากกว่า Cost ที่เกิดขึ้น ใช้ Existing Branding สร้างกีฬาที่เป็นมาตรฐานสู่ Global Standard

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้

http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/5...

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม 2558 ทาง FM 96.5 MHz.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท