Wad Rawee : จุดจบของการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ในประเทศไทย (ตอนที่ 1)


การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้ยกระดับไปอีกขึ้นหนึ่ง จนกลายมาเป็นการต่อสู้ทางเนื้อหนังเพื่ออิสรภาพ


หลังจากรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ปี 2014 คณะทหารไทย (Thai junta) ก็เริ่มที่จะใช้อำนาจไปในเรื่องต่างๆ หนึ่งในนั้นก็คือแต่งตั้งให้ตนเองเป็นคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ คณะทหารไทยเริ่มปิดโทรทัศน์ทุกช่องในช่วง 2 เดือนแรกของการรัฐประหาร ไม่มีสิ่งใดเลยนอกจากการประกาศของคณะของตนเอง โฆษณาทางโทรทัศน์เหล่านี้ก็มีแต่คำสั่ง และการเรียกร้องให้ประชาชนเข้ามารายตัวต่อเจ้าหน้าที่ทางทหาร

โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ทจึงกลายมาเป็นช่องทางในการสื่อสารเดียวในหมู่ผู้คน คณะทหารพยายามในการปิดเฟซบุ๊ค เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แต่พบกับความปั่นป่วนวุ่นวายจนไม่อาจควบคุมได้ สุดท้ายผู้คนจึงเริ่มมาประชุมแบบออนไลน์กันอีก

ระหว่าง 2 สัปดาห์แรกของการรัฐประหาร ผู้คนจำนวนพันๆเริ่มออกมาประท้วงบนถนน Sombat Boonngamanong ซึ่งเป็นพวกเสื้อแดง และต่อต้านคณะทหาร ได้ประกาศที่นัดพบเพื่อการประท้วงจากบัญชีทางเฟซบุ๊คของเขา คณะทหารได้ตอบโต้ขบวนการของ Sombat โดยการบล็อกการประท้วงนี้ โดยไม่ให้ผู้คนเข้ามาประชุมได้ และจับกุมผู้เข้าร่วมหลังจากมีการประท้วงแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นอีก คณะทหารได้เรียกประชาชนให้เข้ามารายงาน โดยการใช้ลำโพงที่บดบังเสียงของผู้ประท้วง และใช้กำลังทหารในการจับกุมการประท้วง นอกจากนี้ยังมีมาตรการในการลดจำนวนของผู้ประท้วงด้วย

เมื่อคณะทหารได้จับกุม Sombat แล้ว มวลชนทั้งหลายก็หายไป

ดังนั้น ผู้คนจึงใช้ช่องทางใหม่ๆในการประท้วง เช่น การใช้การประชุมเล็กๆ และการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ การประท้วงเชิงสัญลักษณ์เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อต้านการรัฐประหาร และในที่สุดจึงกลายมาเป็นพื้นฐานของการประท้วง สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น การใส่ชุดดำ, การอ่านหนังสือ เช่น 1984 ของ George Orwell, การกินแซนวิชในที่สาธารณะ, และการชูสามนิ้ว (เป็นการท้าทายที่เอามาจากหนังสือที่มีชื่อเสียง และภาพยนตร์เรื่อง The Hunger Games)

เมื่อผู้ที่ไม่เห็นด้วย (กับการรัฐประหาร) เปลี่ยนมาเป็นการประท้วงโดยสัญลักษณ์มากขึ้น คณะทหารก็ติดตามและจับกุมพวกเขา สิ่งนี้เป็นการเริ่มต้นของสงครามทางจิตวิทยาระหว่างผู้ประท้วง ซึ่งยังคงรักษาสัญลักษณ์เชิงการต่อต้านเอาไว้ ในขณะที่คณะทหารก็ยังคงไล่จับและจับกุมพวกเขาต่อไป

แต่การประท้วงเชิงสัญลักษณ์ยังคงไม่ตายจากไป ในวันที่ 19 ธันวาคม ปี 2014 ท่านนายกฯเดินทางไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นครั้งแรก หลังจากที่ยึดอำนาจมาได้ ท่านกำลังจะไปแสดงสุนทรพจน์ที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ในตอนนั้นมีนักศึกษาจำนวน 5 คน ปรากฏขึ้นที่หน้าแท่นที่ท่านยืนอยู่ ซึ่งทั้ง 5 คนนั้นสวมชุดที่ต่อต้านการรัฐประหาร และชูสามนิ้วด้วย

การประท้วงครั้งนั้นมีการรายงานข่าวทั้งในประเทศและต่างชาติ ทำให้ท่านนายกฯและพวกทหารรู้สึกเสียหน้าเป็นอย่างมาก คณะทหารไม่ได้ลงโทษหรือทำอันตรายต่อนักศึกษาทั้ง 5 คนในที่สาธารณะ ในความเป็นจริงแล้ว ก็มีการข่มขู่นักเรียนทั้ง 5 โดยการสั่งให้ทหารขับรถไปที่บ้านและพบพ่อแม่ของพวกเขา พฤติกรรมที่ทารุณ และโหดร้ายเหล่านี้ยิ่งเติมเชื้อให้กับการต่อต้านมากขึ้นเรื่อยๆ

แปลและเรียบเรียงมาจาก

Wad Rawee. The end of symbolic protest in Thailand

http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2015/07/14/the-end-of-symbolic-protest-in-thailand/

หมายเลขบันทึก: 592472เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2015 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2015 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท