Kevin Hewison: ความไม่เสมอภาค และการเมืองในประเทศไทย ตอนที่ 4


การตอบสนองต่อความไม่เท่าเทียม (ต่อ)

ไม่เพียงพรรค Thai Rak Thai จะได้รับศรัทธาอย่างท่วมท้น แต่จำนวนการโหวต หรือผู้ลงคะแนนเสียง ยังค้นพบว่ารัฐบาลที่มีความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดความไม่สบายใจแก่ชนชั้นนำ กลุ่มนิยาพวกเจ้าต่างเกรงกลัวนักการเมืองที่เลือกตั้งมาด้วยเสียงข้างมาก และพิจารณาว่า Thaksin เป็นตัวอันตราย เมื่อดูเหมือนว่าเขากำลังสร้างความศรัทธาที่สามารถจะเท่าเทียมกับราชวงศ์ หลังจากที่ Thaksin ได้รับการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปี 2005 ก็มีบุคคลที่ใกล้ชิดกับวังอย่างประธานองคมนตรีเห็นว่าความเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของราชวงศ์กำลังลดน้อยถอยลง และเป็นภัยคุกคาม ด้วยการรับรู้เช่นนี้เอง ก็นำไปสู่การต่อสู้ทางการเมืองที่ต้องการจะควบคุมการเมืองแบบการเลือกตั้ง ที่ยังดำเนินอยู่ต่อไปจนบัดนี้

นักอนุรักษ์นิยมมองว่าการเลือกตั้งคือภัยคุกคามต่อโลกทัศน์ของพวกเขา ที่มองว่าราชวงศ์ควรจะเป็นอับดับหนึ่ง พวกนักอนุรักษ์นิยมมองว่าการเมืองแบบการเลือกตั้งคือการทำลายบทบทบาทของราชวงศ์ที่เป็นพื้นฐานในการสร้างระเบียบทางสังคมและการเมือง Thaksin ยังคงท้าทายสถานะภาพเดิม โดยการปฏิรูประบบราชการ ทำให้ระบบราชการเป็นไปตามนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้ง และสาธารณะหรือประชาชนมากกว่าเมื่อก่อน ในการโยกย้ายข้าราชการ และปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวง Thaksin ให้ผู้ใกล้ชิดไปดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับสูง ซึ่งเมื่อก่อนนี้พวกข้าราชการพวกนี้จะควบคุมประชากร แต่ตอนนี้กลับทำอย่างนั้นไม่ได้ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นภัยคุกคามต่อพวกเขามากขึ้น โดยนัยยะเดียวกัน Thaksin ยังท้าทายกับชนชั้นทุนนิยม โดยการบีบบังคับให้ธุรกิจภายในประเทศต้องแข่งขันกันมากขึ้น ฝ่ายตรงข้ามเห็นว่ากลุ่มบริษัท Shinawatra ได้เปรียบในการแข่งขัน และมองว่าการจัดระเบียบเช่นนี้ทำให้อำนาจทางเศรษฐกิจอ่อนแอลง

Thaksin ไม่เคยตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นภัยคุกคามต่อพันธมิตรของวัง, การทหาร และกลุ่มธุรกิจ และการพลาดของเขาที่มีต่อระเบียบเป็นช่วงชั้นแบบโบราณ ก็มีความหมายว่าเขาเป็นอันตรายต่อชนชั้นสูงเช่นเดียวกัน ความใส่ใจของเขาที่มีต่อชนชั้นยากจนก็ส่งผลต่อพวกอนุรักษ์นิยม, กลุ่มที่แบ่งชนชั้น และอำนาจนิยมต่างพากันมาต่อต้านรัฐบาลของเขา ผลก็คือการรัฐประหารปี 2006 การรัฐประหารก็ไม่ได้ยุติความขัดแย้ง เพราะเสื้อแดง และกลุ่มอื่นๆที่ชอบเขาก็ต่อต้านวังและกองทัพด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยความต้องการการเลือกตั้งครั้งใหม่ พวกเสื้อแดงได้เข้าร่วมการประท้วงที่ยืดเยื้อ โดยเน้นไปที่วาทกรรมเชิงการเมืองเรื่องสถานภาพและความไม่เสมอภาค ผู้ประท้วงได้ใช้คำโบราณ ทีแสดงถึงคำธรรมดาสามัญ ที่เกี่ยวข้องกับการผูกพัน คำนั่นก็คือ ไพร่ เพื่อบ่งบอกถึงสถานะของตน โดยตรงกันข้ามกับคำว่า อำมาตย์ หรือพวกชนชั้นปกครอง พวกเสื้อแดงพยายามจะเน้นความเป็นสองมาตรฐาน (double standards)ในกฎหมาย, การผูกขาดทางอำนาจทางการเมืองของพวกอำมาตย์หรือชนชั้นสูง, และความไม่พอใจอย่างมากมายของความไม่เท่าเทียม ถึงแม้ว่าหลายคนจะมองว่าพวกเสื้อแดงจะเป็นพวกสุดขั้ว หรือมองว่าพวกเขาต้องการที่จะปฏิวัติ, แต่จริงๆแล้วพวกเขาเป็นพวกนักปฏิรูปมากกว่า “พวกเราต้องการรัฐทุนนิยมที่เป็นอิสระ ที่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนถูกทำให้แคบเข้า พวกเราต้องการที่จะสร้างโอกาสที่มากขึ้นกับพวกคนจน” การอ้างถึงชนชั้นและสถานภาพเช่นนี้สร้างความขุ่นเคืองแก่ชนชั้นนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประท้วงเพื่อการพิจารณาความสมานฉันท์กันในหมู่ชนชั้นล่างหรือพวกคนจนด้วย

ความสมานฉันท์นี้สะท้อนอยู่ในการรวมตัวทางการเมือง, แบบแผนการออกเสียง, และข้อมูลทางเศรษฐกิจ แบบแผนการออกเสียงสอดคล้องกับปัญหารายได้ต่ำและความยากจน พื้นที่ที่ยากจนที่สุดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลายจังหวัดในภาคกลางและพื้นที่ของชนชั้นแรงงานรอบๆกรุงเทพฯ ล้วนแล้วแต่ลงคะแนนเสียงเลือกพรรคที่สนับสนุน Thaksin อย่างต่อเนื่อง

แปลและเรียบเรียงจาก

Kevin Hewison. Inequality and Politics in Thailand

http://kyotoreview.org/issue-17/inequality-and-politics-in-thailand-2/

หมายเลขบันทึก: 591903เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2015 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2015 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบบทความนี้..เจ้าค่ะ..

มีดอกไม้มาคาระวะเจ้าค่ะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท