682. เรียนรู้ศาสตร์ OD จาก "สามก๊ก" ตอนที่ 12


สามก๊ก เป็นอะไรที่น่าศึกษาครับ วันนี้มีคนถามผมว่าแล้วอ่านสามก๊กให้อะไร ก็ต้องบอกว่าเอาแค่ประเด็นเรื่องการพูด แค่นี้ประเด็นเดียวก็เป็นประเด็นที้น่าศึกษาแล้ว คุณลองดูตัวละครอย่างอ้วนเสี้ยว โจโฉ และเล่าปี่สิครับ ลองดูวิธีการพูด การทำงานร่วมกับคนอื่น ...คุณจะเห็นว่า ทั้งหมดนี่ทุ่มเทมากๆ กับงานของตัวเอง แต่ทำไมคนที่ทุ่มเท และเคยเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อย่างอ้วนเสี้ยว ไม่ได้ขึ้นเป็นฮ่องเต้ ลองดูที่วิธีการพูด การสื่อสาร ที่ส่งผลถึงการทำงาน


คุณจะเห็นอ้วนเสี้ยว มีแต่การบอก หรือบังคบให้คนอื่นทำตามความคิดของตน โดยไม่สนใจหาข้อมูลเลย เอาเป็นว่าจริงๆ กุนซือและทหารเอกก็เก่ง แต่ถ้าพูดขัดคอ หรือไม่ตรงกับความคิดเมื่อไหร่ ซวยทันที ตอนหลังๆ จะเห็นว่าถึงขั้นจะถูกประหารด้วยซ้ำ ที่สุดคนจึงอยู่เฉยๆ ไม่อยากให้ข้อมูล บางคนถึงขั้นไม่เอาแล้ว หนีจากอ้วนเสียวไปอยู่กับโจโฉ จนก็กอ้วนเสี้ยวอ่อนแอและพังไปในที่สุด ...

เรียกว่าพัง เพราะนาย พังเพราะวิธีการพูด การสื่อสาร การทำงานของอ้วนเสี้ยวแท้ๆ ... ในขณะที่ถ้าคุณดูเล่าปี่ และโจโฉ ยิ่งทำงานก็ยิ่งมีคนร่วมมือ ยิ่งคุยยิ่งสำเร็จ แต่อ้วนเสี้ยวยิ่งคุย ยิ่งสื่อสาร ยิ่งพัง ...น่ากลัวไหมครับ

เอาหล่ะมาวิเคราะห์กัน ว่าเกิดอะไรขึ้น

ในศาสตร์ของการพัฒนาองค์กรในสายองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้น ถือว่าอ้วนเสี้ยวพังเพราะ Mental Model ของตนเอง . อ้วนเสี้ยวไม่สามารถปรับเปลี่ยนความเชื่อของตนเองได้ ทำให้การคิดการกระทำทุกอย่างออกมาตามความเชื่อ และผลก็แพ้ตามความเชื่อนั้นๆ

และทำไมเล่าปี่ โจโฉไปไกลหล่ะ ก็เพราะเล่าปี่โจโฉมีระบบการสื่อสาร ที่ทำให้ความเชื่อเก่าๆ ไม่มาบดบังสายตาในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็มีการปรับความเชื่อ หรือสมมติฐานในการมองโลก มองงานอยู่ตลอดเวลา

ตรงนี้อธิบายได้ตามแนวคิดของ Christ Argyris ปรมาจารย์ด้าน OD ของโลก ที่ Peter Senge เจ้าพ่อ Learning Organisation นำเอามาเป็นหนึ่งในวินัยห้าประการ (Fifth Discipline) เพื่อสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ลองดูที่แผนภูมินี้นะครับ จะชัดมากๆ

คุณจะเห็นคำว่า “ร่วมมือกัน (Collaborating)” ตรงนี้ชัดมาก คุณจะเห็นว่าเล่าปี่และโจโฉ และทีมงานของพวกเขาร่วมมือร่วมใจกันทำงานดีมากๆ ส่วนทีมของอ้วนเสี้ยวตอนแรกก็มี ตอนหลังเละ คนเก่งหนีหมด ... ทำไมครับ

มาดูการคุยของอ้วนเสี้ยว คุณจะเห็นอ้วนเสี้ยวไม่ค่อยแสวงหาข้อมูลใหม่ๆ (Inquiry) ไม่พยายามสืบหาข้อมูล ไม่ค่อยลงลึกในเรื่องยุทธการ ส่วนใหญ่ใช้ความเคยชินเดิมๆ ความเชื่อเดิมๆ (Mental Model) ใครให้ข้อมูลขัดกับความเชื่อที่ตนทุ่มเทจะทำตาม (Advocacy) นี่ถึงตาย ยิ่งตอนท้ายๆ จะเห็นว่าอ้วนเสียวก็รักษา Advocacy อย่างเหนียวแน่น และคุณจะเห็นว่าลูกน้องของอ้วนเสี้ยว เริ่มหมดไฟ ไม่อยากทุ่มเทอะไรตามอ้วนเสี้ยวมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่อยากร่วมมือ ได้แต่สังเกตอย่างเงียบๆ (Observing) และเมื่อมากเข้าก็ผละไปอยู่กับโจโฉทันที

ส่วนเล่าปี่และโจโฉ เหมือนเคยศึกษาหนังสือแนว Learning Organisation เลย ทั้งสองคนนี้ ตระหนักได้ว่าลำพังคำว่า Advocacy ไม่พอ ต้องมีความรู้ด้วย เลยต้องสืบค้นข้อมูลมาก (Inquiry)

โจโฉคิดการใหญ่และมองขาดมาแต่ต้น Advocacy ระดับโจโฉ ต้องการ Inquiry มหาศาล โจโฉ จึงให้ความสำคัญเรื่องคนมาก โจโฉทำทุกทาง และจะว่าไปกระตือกว่าเล่าปี่มากหลายร้อยเท่า เล่าปี่เองจะมากระตือมากๆ ก็คือตอนบังเอิญไปเจอสุมาเต็กโซ ปราชญ์ลึกลับแห่งยุค ที่บอกเล่าปี่ว่า เล่าปี่ยังไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่มีปราชญ์ช่วย เท่านั้นเองถึงได้คิด ที่สุดจึงนำมาสู่การค้นพบชีซีและขงเบ้งในเวลาต่อมา

คุณจะเห็นว่าโจโฉกับเล่าปี่มักระดมสมอง (Brainstorming) กับกุนซือและนายทหารเสมอ กุยแกถึงขั้นชมโจโฉเรื่องการฟังข้อเสนอของที่ปรึกษา ส่วนเล่าปี่เองก็ Brainstorming สุดๆ ..เช่นกัน

ในบางครั้งถึงกับขั้น Dialogue ที่เดียวคือแขวนความเชื่อ สมมติฐาน ความเชื่อเดิมออกไปเลย เช่นตอนกรณีเล่าปี่ไปเจอขงเบ้ง นี่เข้าขั้นสูงสุดทีเดียว


และคุณจะเห็นว่าทีมงานของโจโฉ เล่าปี่ทำงานสนับสนุนผู้นำทั้งสองอย่างเต็มกำลัง ในขณะที่คณะทำงานของอ้วนเสี้ยว เบื่อหน่าย ผิดหวังกับนายตนเองมากขึ้น จนถึงขั้นถอนตัวมาสังเกตการณ์เงียบๆ (Observing) ที่สุดเมื่อมีโอกาส บางคนถึงกับหนีไปเลย

ปรากฏการณ์ของเรื่องนี้ในทางการพัฒนาองค์กรเราเรียกว่า สมดุลย์ระหว่างการทุ่มเทเพื่อจะทำตามความคิด (Advocacy) และการสืบค้นข้อมูล (Inquiry) สองตัวนี้ต้องไปด้วยกัน

คุณจะเห็นว่าก็กที่รุ่งเรืองขึ้นมาคือก็กที่สามารถสร้างความสมดุลย์ระหว่าง Advocacy และ Inquiry ...เรียกว่าถ้าคุณคิดการณ์ใหญ่ คุณต้องหนักแน่นมาก แต่ก็ต้องเปิดกว้างในการเสาะหาข้อมูลและวิธีการใหม่ๆ มากๆด้วย ไม่เช่นนั้นคุณจะติดกับดักความเชื่อเดิม

อ้วนเสี้ยวคิดการใหญ่ไม่แพ้โจโฉกับอ้วนเสี้ยว แต่ไปไม่รอดเพราะไม่มีข้อมูลใหม่ๆ ลุงแกไม่ถามใคร และไม่กระตุ้นให้ใครนำเสนอข้อมูลดีๆ มีแต่บังคับ ที่สุดไม่คนเก่งคนไหนร่วมมือทำงานด้วย ที่สุดเหลือแต่คนสอพลอ จนพังด้วยตนเองในที่สุด

ส่วนเล่าปี่ตอนรบแพ้ เสียกองทัพและนำมาสู่การเสียสูญของจ๊กก๊กในที่สุด ก็เกิดจากช่วงที่เล่าปี่เสียสมดุลย์เรื่อง Advocacy กับ Inquiry นั่นเอง ....คือ Advocacy มากจริงๆ และไม่ฟังใคร ไม่มี Inquiry ที่สุดแพ้ แพ้จนตาย และตระกูลก็ล่มสลายในที่สุด

ส่วนพวกที่มี Advocacy ของตัวเองน้อย (ไม่เปิดเผยตนเอง ไม่หนักแน่น) หลายคนก็เอาแต่สอบถาม สอบสวนข้อมูลอย่างเดียว ไม่เคยเปิดเผยตนเองนี่ก็แย่ไปอีกแบบ นี่ก็ไม่สำเร็จครับ บางทีเจอข้ามหัวไป เช่นกรณีพวกขุนนางของซุนกวนที่พยายามมาสอบถามข้อมูล บางคนถาม (Asking) แต่ที่สุดก็นำมาสู่การโต้เถียง (Telling) ที่สุดก็ไม่สามารถร่วมมือกันได้ ขงเบ้งเลยข้ามหัวไปคุยกับซุนกวน ที่สุดก็สามารถร่วมมือกันกำจัดโจโฉได้

ย้อนกลับมาโลกปัจจุบัน ตอนนี้เริ่มเห็นฝรั่งเอาเรื่องนี้มาพูด ถึงขั้นบอกครับแม้กระทั่งการขาย เซลล์คนไหนไม่สามารถสร้างสมดุลย์ระหว่าง Advocacy และ Inquiry ได้ คือประมาณจะขายของฉันอย่างเดียว จะนำเสนอ (Present) สินค้าอย่างเดียวนี่ขายยากครับ ผมเองก็เคยถามโชวรูมรถ ว่าเซลล์ที่ขายเก่งกับไม่เก่งต่างกันตรงไหน เขาบอกว่า เซลล์ที่ขายเก่ง

วันนี้ชีวิตคุณ การสื่อสารคุณเป็นแบบไหน Brainstroming ไหม Dialogue ไหม...ไม่งั้นตกต่ำแน่ครับ ...

และถ้าคุณเป็นผู้นำ เชื่อเลยครับวันนี้มี Innovation ก็จริงๆ แต่สักวัน ไม่นาน คุณเองจะลำบาก

สำหรับท่านที่สนใจเรื่องการพัฒนาองค์กร เรามีเครื่องมือการทำ Brainstroming ดีๆ เช่น Appreciative Inquiry, World Cafe (ผมแนะนำไปหาอ.ม่อน ABC Blub นะครับ)

ส่วนเรื่อง Dialogue แนะนำไปฝึกกับอาจารย์ดร.วรภัทร์ ก็ได้ครับ หรือไม่ก็อาจารย์วิศิษย์ วังวิญญู

และเรื่องการ Brainstorming และการทำ Dialogue เรียกว่าต้องทำให้เป็นวินัยเลยครับ คือทำจนอยู่สายเลือดให้ข้นคลัก ทั้งองค์กร

ด้วยรักและปรารถนาดีนะครับ

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org


Note: ดูเรื่องราวของสุนทรียสนทนาได้ที่นี่ครับ





หมายเลขบันทึก: 591794เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2015 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2015 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท