Kevin Hewison: ความไม่เสมอภาค และการเมืองในประเทศไทย ตอนที่ 2


การอธิบายความไม่เสมอภาค

โครงสร้างของการขูดรีดและความไม่เสมอภาคดำรงอยู่ที่นี่เป็นเวลายาวนาน จริงๆแล้ว นักวิจัยได้อธิบายข้อมูลชุดเดียวกันนี้เป็นเวลาหลายทศวรรษ ในทศวรรษ 1960 Bell บ่งชี้การเคลื่อนย้ายมูลค่าส่วนเกินขนาดใหญ่จากภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่ยากจน ซึ่งเป็นภาคที่ด้อยพัฒนา ไปสู่ในเมือง ที่ว่ามีมูลค่าส่วนเกินขนาดใหญ่ก็เพราะว่า ผู้ผลิตที่อยู่ในภูมิภาคนี้ถูกขูดรีดด้วยค่าจ้างที่ต่ำ และมีรายได้จากการเกษตรน้อยมาก สามสิบปีต่อมา Teeram สรุปว่า ความยากจนที่คิดว่าจะถูกทำให้น้อยลงนั้นไม่เคยลดช่องว่างระหว่างรายได้เลย และแสดงให้เห็นว่าความไม่เสมอภาคในประเทศยังคงมีอยู่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจในเอเชียประเทศอื่นๆ แล้วอะไรคือเหตุผลของการดำรงอยู่ซึ่งความไม่เสมอภาคนี้หละ? คำตอบที่ดีที่สุดก็คือต้องมาดูที่นโยบายของรัฐและโครงสร้างอำนาจของทุนนิยม

รัฐและนโยบาย

การศึกษาเรื่องนโยบายของรัฐได้แสดงว่ามีการแบ่งแยกกันระหว่างเมืองกับชนบทมานานแล้ว อุตสาหกรรมที่นำเสนอโดยรัฐก่อให้เกิดชนชั้นแรงงานขนาดใหญ่ขึ้น แต่เมื่อภาคอุตสาหกรรมหันไปใช้การผลิตด้วยเครื่องจักรมากขึ้น ภาคอุตสาหากรรมกลุ่มนี้ยังไม่ได้นำคนจากในชนบท ที่ต้องการให้ย้ายมาสู่เมืองเพื่อการทำงานอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เราจะมีกลุ่มที่ไม่เป็นทางการขนาดใหญ่ (หรือแรงงานนอกระบบ) ที่คนงานจำนวนมากอยู่นอกเหนือระบบสวัสดิการของรัฐ ที่สวัสดิการไม่ค่อยดีนัก สิ่งนี้ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม เพราะความช่วยเหลือของรัฐมุ่งไปที่ภาคเศรษฐกิจในระบบที่มีขนาดเล็ก

โดยนัยยะเดียวกัน การลงทุนของรัฐด้านการศึกษาจะเน้นไปที่การศึกษาระดับในเมือง เมื่อเศรษฐกิจโตอย่างรวดเร็ว แต่การใช้จ่ายของรัฐในเรื่องการศึกษายังคงมีลักษณะต่ำเป็นระยะเวลายาวนาน ในทศวรรษ 1960 เมื่อชาวนาและคนงานเมื่อรวมกันแล้วได้ถึง 85 % ของประชากร มีเพียง 15.5% ของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมาจากกลุ่มพวกนี้ ภายในกลางทศวรรษที่ 1980 ระดับนี้ได้ลดลงเหลือเพียง 8.8 % ดังนั้นชนชั้นต่ำจึงถูกกีดกันจากช่องทางสำคัญที่จะช่วยให้หลุดพ้นจากงานค่าจ้างต่ำและใช้ฝีมือต่ำ

นโยบายการเก็บภาษีก็ทำให้คนจนเสียเปรียบเช่นเดียวกัน การคุ้มครองภาคอุตสาหกรรมในอัตราส่วนสูงทำให้ภาคเกษตรกรรมเสียเปรียบ อีกทั้งเป็นเวลาหลายทศวรรษที่ภาษีข้าวแบบอัตราถดถอยเป็นการถ่ายโอนความมั่งคั่งจากชนบทสู่เมือง ในช่วงทศวรรษ 1990 การใช้ภาษีแบบอัตราถดถอยหลายรายการหมายความว่าคนรวยได้ผลประโยชน์จากระบบภาษี ในปี 2012 นโยบายการคลังและการใช้จ่ายของภาครัฐยังคงส่งเสริมคนรวย ผลกระทบจากนโยบายเหล่านี้เป็นการปรับการกระจายรายได้ที่ถ่ายโอนความมั่งคั่งจากคนจนสู่คนรวย

แปลและเรียบเรียงจาก

Kevin Hewison. Inequality and Politics in Thailand

http://kyotoreview.org/issue-17/inequality-and-politics-in-thailand-2/

หมายเลขบันทึก: 591752เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2015 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2015 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท