KM Diagram กฟผ.


สวัสดีครับ ทุกท่าน ผมกลับมาเยี่ยมเยือนสมาชิกอีกครั้ง ต้องขอโทษด้วยที่ได้หายไปจากวงการนานเลย

กลับมาคราวนี้ก็มี ประสบการณ์ ที่ได้จากการทำงานด้าน KM มาฝาก ผมเรียกว่า KM Diagram ก็แล้วกันเพราะได้คิดและออกแบบจากประสบการณ์ในงานที่ตัวเองรับผิดชอบ ออกมาเป็นวงจรเพื่อใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อน ในหน่วยงานได้ง่ายและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Description: https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/096/995/default_KM_Diagram.jpgจากรูป

เริ่มต้นที่ ผู้ปฏิบัติงาน จะได้รับความรู้จาก หลายๆทางเช่น OJT พี่สอนน้อง ค้นหารจาก อาจารย์ Goo ผู้บังคับบัญชาให้ความรู้ ดึงจากคลังความรู้ เช่น WI ,AAR Best Practice เมื่อมีความรู้ในงานที่จะทำ ก็นำความรู้นั้นไปวางแผนและทบทวนก่อนลงมือปฏิบัติงาน หรือเรียกว่าทำ BAR โดยในการทำ BAR นี้เราจะเน้นที่ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการทำงาน ซึ่งในงานช่างจะมีความสำคัญมาก เพราะถ้ามันเกิดความเสียหายในขั้นตอนนั้นโดยเกี่ยวกับ ชิ้นส่วนของร่างกายหรือชีวิตผู้ที่ลงมืทำงาน แล้วค่อยมาทำ AAR เพื่อไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก แต่ว่าชิ้นส่วนร่างกายที่เสียไปคงไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ เราจึงเน้นและให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก และถ้าวิเคราะห์แล้วคาดว่าจะมีความเสี่ยงในขั้นตอนนี้ ก็ต้องหาแนวทางป้องกันแก้ไขหรือให้มีความระมัดระวังไว้ และเมื่อถึงเวลาลงปฏิบัติ ก็ให้ดำเนินการตามแนวทางหรือแผน ที่ทำไว้ก็ตาม BAR ในการทำงานจนแล้วเสร็จ แน่นอนในการทำงานจริง ย่อมมีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้นไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้แต่ก็ต้องแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้าจนงานนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี หลังจากนั้นก็มาทำ AAR โดยทบทวนแต่ละขั้นตอนที่เราวางแผนไว้ว่า ใน BAR นั้นมีขั้นตอนไหนดี ก็ยกไปเป็นขั้นตอนในการปฏิบัติครั้งต่อไป ขั้นตอนไหนบกพร่อง ก็คิดทบทวนถึงสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วว่าได้แก่ปัญหานั้นอย่างไร และมากำหนดเป็นแนวทางในการปกิบัติครั้งต่อไป แล้วก็นำไปเก็นไว้ในคลังความรู้ เมื่อต้องลงมือทำงานนั้นอีก ก็ไปค้นคว้า BAR/AAR ที่ได้ทำไว้จากครั้งที่แล้ว มากำหนดหรือวางแผนหรือเรียกว่าจัดทำ BAR ครั้งที่2 ซึ่งก็จะปิดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นมาแล้ว และเมื่อลงมือทำงานพบข้อบกพร่องใหม่ ก็ทำการทบทวนใหม่ จนในที่สุดเมื่อมีการทบทวนหมุนรอบการทำงานหลายๆรอบ จนไม่พบ AAR เลย เราก็จะได้แนวทางปฏิบัติหรือเรียกว่าคู่มืการทำงานที่ดีที่สุดสำหรับเราก็ได้ (Good Practice) เราก็จะนำองค์ความรู้นั้นไปเข้าวง ลปรร. เพื่อให้ เพื่อนร่วมงนผู้อื่นได้รับความรู้ไปด้วยกัน และในขณะเดียวกัน ก็นำความรู้นั้น ส่งไปคณะกรรมการ พิจารณาว่า ควรจะจัดทำเป็น Work IN.หรือไม่ถ้างานนั้นยังไม่เคยมีคู่มือมาก่อน หรือนำไปปรับ WI ที่มีอยู่ถ้าพบว่า องค์ความรู้ใหม่นี้มีขั้นตอนกระบวนการที่ดีกว่า WI เดิม และในทำนองเดียวกันก็ส่งองค์ความรู้นั้นไปให้คณะกรรมการพิจารณา องค์ความรู้ที่เป็น Best Practice

สำหรับองค์ความรู้ ที่ได้จากการทำ AAR หลายรอบแล้วบางครั้งเราต้องการปรับเป้าหมายหรือยกระดับเป้าหมาย หรือ บางองค์ความรู้เมื่อปรับไปแล้วพบว่ามีปัญหาและอุปสรรค ซึ่งอาจจะต้องนำไปแก้ด้วยกระบวนการกิจกรรมคุณภาพ เช่น QCC ,KAIZEN โดยในวิธีการในทำนองนี้จะเป็นวิธีการค้นหาและแก้ปัญหางานได้อย่างยั่งยืนและเมื่อทำได้สำเร็จ ตามเป้าหมาย ก็นับว่าองค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการคุณภาพนี้ เป็นองความรู้ที่ดีสำหรับเราหรือเรียกว่า Good Practice ซึ่งผู้ปฏิบัติก็จะนำองค์ความนี้ไปเข้าวง ลปรร. และในทำนองเดียวกันก็ส่งองค์ความรู้นั้นไปให้คณะกรรมการพิจารณา องค์ความรู้ที่เป็น Best Practice

ความรู้ที่ได้จากวง ลปรร.นี้ ผู้ปฏิบัติที่เข้าวง ลปรร.ด้วยกันก็จะได้รับความรู้ ใหม่นี้นำไปปรับใช้งานต่อไป พร้อมทั้งนำไปเก็บในคลังความรู้เพื่อให้ผู้อื่นสามารถเข้ามาค้นคว้าและนำไปใช้ต่อยอดต่อไป

สำหรับองค์ความรู้ที่ถูกนำไปพิจารณาการเป็น Best Practice ถ้าไม่ผ่านการคัดเลือกแต่เป็นกระบวนการทำงานที่ยังไม่มี WI มาก่อนก็จะไปเป็น WI ใหม่ได้ หรือมี WI แต่ได้กระบวนการขององค์ความรู้ใหม่ มีขั้นตอนที่ดีกว่าก็จะนำไปปรับเป็น WI ตัวใหม่เลย

และในทำนองเดียวกัน องค์ความรู้ได้ผ่านการคัดเลือกให้เป็น Best Practice ผู้บริหารก็จะทำการประกาศให้ทุกหน่วยงานได้ทราบว่ามีองค์ความรู้ในงานเกี่ยวกับอะไรบ้าง ที่ปัจจุบันเป็นองค์ความรู้ที่ถือว่าดีที่สุดในปัจจุบัน ที่ให้หน่วยงานที่มีงานในลักษณะเดียวกันสามารถนำไปปรับใช้ได้โดยไม่ต้องเริ่มจาก ศูนย์ และประกาศยกย่องชมเชยหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้ปฏิบัติเกิดความภาคภูมิใจ

เออ บรรยายมาซะยืดยาว ก็ถือว่าเอาแชร์กันครับ ท่านใดมีอะไรแนะนำก็แจ้งกันมาครับ ก็จะได้นำไปปรับปรุงต่อไป

สวัสดีครับ แลัวพบกันใหม่ครับ

วิบูลย์ ไพโรจน์ฤทธิ์

หมายเลขบันทึก: 591610เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2015 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2015 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ อ,จันทวรรณและ อ.ธวัช สบายดีนะครั

สวัสดีค่ะ สบายดีค่ะ ดีใจที่คุณวิบูลย์กลับมา GotoKnow อีกครั้งนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท