679. เรียนรู้ศาสตร์ OD จาก "สามก๊ก" (ตอนที่ 9)


ผมดูสามก๊กแล้วเห็นอะไรมากมาย ได้บทเรียนไปขบคิดมากครับ ผมคงเขียนมาเรื่อยๆ ตอนล่าสุดผมดูตอนอวสานซุนเซ็ก...ซุนเซ็กคนนี้เก่งมากๆ เดิมเป็นขุนพลอ้วนเสี้ยว แต่เนื่องจากอ้วนเสี้ยวไม่ให้ความสำคัญ จึงนำกองกำลังแยกตัวออกมา ด้วยความกล้าหาญ กล้าได้กล้าเสีย ทำให้ได้ผู้กล้ามากมายมาร่วมอุดมการณ์ ที่สุดสามารถพิชิตดินแดนทางตอนใต้ของจีน หรือกังตั๋ง ก่อร่างสร้างตัวกลายเป็นง่อก๊ก ในเวลาต่อมา ...

ซุนเซ็กมีนิสัยใจร้อนมากครับ ใจร้อนจนกระทั่งแพ้ภัยตัวเอง ประมาณว่าออกไปล่าสัตว์ ก็ห้าวจนบอกไม่ต้องมีใครไปคุ้มกันก็ได้ ที่สุดถูกลอบสังหาร ไม่ตายขณะนั้น แต่บาดเจ็บสาหัส หมอบอกว่าให้พักร้อยวัน เพราะขณะนี้พิษจากลูกธนูที่ยิงมาโดนนั้นซึมเข้ากระดู ต้องอยู่นิ่งๆ ร้อยวัน ...

แทนที่ซุนเซ็กจะพัก ด้วยความห้าว เราจะเห็นซุนเซ็กไม่อยู่นิ่งเลย นั่งเล่นหมากล้อม ที่สุดแม้มีคนเตือนก็พยายามรับรู้เหตุการณ์การความเป็นไปของโจโฉ ที่สุดพอรู้ว่ากุยแก ที่ปรึกษาโจโฉบอกว่าซุนเซ็กไม่ใช่ศัตรูที่น่ากลัว เท่านั้นเองโกรธ พี่โกรธจนเลือดขึ้นหน้า ... แถมพอไปเจอหมอผีที่ตนรู้สึกว่าชาวบ้านจะเชื่อมากเกินไปแล้ว งมงายจริง ว่าแล้วก็ไปฆ่าหมอผีด้วยความโกรธ แต่ที่สุดอาการกำเริบ ทรุดหนัก และหลังจากส่งมอบมรดกให้น้องชายซุนกวน ก็จบชีวิตตนเองไป...

ผมดูไปดูมาก็เออ...คนเรานี่ไม่ทันมีใครทำอะไร ก็ทำร้ายตัวเองจนตายแฮะ จริงๆ มีซุนเซ็กโอกาสหายสูง แต่ด้วยความใจร้อน มีโทสะมาก ที่สุดใจตัวเองนี่แหละหันกลับมาซ้ำเติม ฆ่าตัวเองจนตาย...

น่ากลัวไหมครับ ใจของเรานี่แหละ ถ้าควบคุมไม่ได้ มันก็คือฆาตรกรดีๆ นั่นเอง ...

เราเองนี่แหละฆ่าตัวเอง...ได้จริงๆ

ถ้าซุนเซ็กไม่ใจร้อนแบบนี้ ไม่ฆ่าตัวเองก่อน แล้วมีชีวิตอยู่ ดุลอำนาจอาจเปลี่ยนก็ได้ ... ซุนเซ็กรบเก่ง ในขณะที่ซุนกวนน้องชายบริหารกิจการภายในเก่ง ... ถ้าไม่ตายสองพลังรวมกัน ผมว่าประวัติศาสตร์จีนเปลี่ยนแน่ ...

เรื่องของซุนเซ็กทำให้ผมนึกถึงเรื่องทฤษฎีผู้นำสี่ทิศ ที่ผมได้มีโอกาสเรียนรู้มาจากท่านอาจารย์ดร.วรภัทร์ และผมเองก็ได้นำมาสอน ผสมผสานกับศาสตร์ด้านการพัฒนาองค์กรของผม ผมว่าซุนเซ็กนี่เป็นกระทิงตัวพ่อครับ ...

เอาหล่ะ อาจารย์วรภัทร์ท่านสอนว่า คนเรามีใจสี่ประเภท อุปมาได้แบบสัตว์ครับ

พวกแรกเราเรียกว่า พวกกระทิง ... พวกนี้ลุยอย่างเดียว ไม่ถามอะไรมาก แต่บางทีก็สร้างผลเสียคือ งานได้ผลคนแหลกราน... ซุนเซ็กนี่ชัดมาก ฆ่าหมอผี แบบไม่คิดเลย ทั้งๆ ที่คนๆนี้ไม่เคยทำร้ายใคร และที่เสียจริงคือการทำร้ายตนเอง เพราะใจร้อน

พวกอินทรี พวกนี้คิดก่อนครับ ไอเดียบรรเจิด แต่บางทีไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

พวกหนู พวกนี้เพื่อนมาก่อน ดูแลจิตใจคนอื่นเก่ง แต่ถ้าไม่ระวัง บางทีเสียงานได้ครับ

พวกหมี เน้นที่ระบบระเบียบก่อน แต่บางทีไปกะเกณฑ์คนอื่น จนเครียด

คนเราถ้าพัฒนาแล้ว คือเป็นพุทธ ต้องมีสัตว์สี่ตัวในคนเดียวกันครับ ต้องพัฒนาให้ถึงจุดนั้น แต่ถ้ามไม่มีเลย หรือไม่สร้างสมดุลอื่นขึ้นเลย นี่กลายเป็นพวกโมหะจริต ครับ คือหลงทิศหลงทางไปหมด ...

ซุนเซ็ก ถ้ามีโอกาสเรียนกับดร.วรภัทร์ ก็อาจคิดใหม่ครับ คือ ข้าเป็นกระทิงก็ดีแล้ว แต่ตอนนี้ป่วยมาก ต้องมองแบบอินทรี คือมองระยะยาว ไม่ต้องรีบ รักษาตัวก่อน หายค่อยรบก็ได้ ...... ถ้าเอาหนูมาใส่ก็จะคิดถึงหน้าลูกเมีย และคนที่อุตส่าห์ฝากชีวิตไว้กับตัวเอง ก็จะรีบรักษาตัวเองให้แข็งแรงก่อน ..สุดท้ายคิดแบบหนูเลยาเอาครอบครัวมาคิดในหัวแต่แรก และต้องดูแลความสัมพันธ์กับประชาชนเลย เพิ่งไปยึดเมืองเขามาก็ไม่ควรไปทำลายคนที่เขารักแล้ว งานนี้เรียกว่าต่อให้มีชีวิตอยู่ ก็คงไม่ง่ายต่อการปกครองเท่าไหร่

ผมเอมีโอกาสเอาแนวคิดนี้ไปช่วยเทศบาลนครขอนแก่น ไปอบรมชาวบ้านในโครงการโรงเรียนสุขภาพ หรือโครงการคนพันธ์ุเฮ๊ลท์ ...


ผมเอาเรื่องสัตว์สี่ทิศไปสอน แล้ถามว่าชาวบ้านเคยป่วยเป็นอะไรกันบ้าง ... ปรากฏว่าน่าสนใจครับ ...ทำมาสองรุ่นนี่เหมือนๆกันครับ ...คือโรคนี่กระจายไปหมดครับ แต่มีอะไรคล้ายๆ กัน คือพฤติกรรมก่อนเกิดโรคนี่เหมือนๆกันอย่างน่าประหลาดใจ คือ พวกกระทิง เด่นๆ ก็มีหลายโรคที่เด่นมากๆ คือโรคหัวใจ ... สาเหตุเหมือนกันหมด คือการลุยทำงานหามรุ่งหามค่ำ ประมาณว่าป่วยเพราะใช้ร่างกายเปลือง มีท่านหนึ่งแกบอกว่าเป็นโรคหัวใจ คือทำงานจริงจังมาก ออกกำลังกายจริงจังด้วย เช้าวิ่งสิบกิโล เย็นขี่จักรยานสี่สิบกิโล..ได้เรื่องหัวใจหยุดเต้นเข้าโรงบาลไปเลย ...

พวกหมี เหมือนกันครับ เด่นมากสุดคือโรคความดันโลหิตสูง และมาจากพฤติกรรมคล้ายๆกันคือความเครียด ความกดดัน เพราะหมีเป็นพวกมีระบบระเบียบ บางทีก็เครียด เพราะ “ไม่อยู่บ้านไปงานเลี้ยง สามีแทนที่จะพาลูกนอนแต่หัวค่ำ ก็พากันเล่น นอนซะดึก พวกหมีจึงมีเรื่องเครียด และถ้าทำอะไรไม่ได้ก็มักกดดันครับ ที่สุดป่วยซะ

พวกอินทรี มีรายหนึ่งครับ เป็นคนอ่านหนังสือ ศึกษาหาความรู้มาก แต่อ่านไปกินกาแฟ ใส่ครีมเทียมไป ต่อด้วยเค็ก เสร็จครับ ตอนนี้ไขมันพอกในตับ ไปตรวจกับหมอ ...หมอเลยถามว่า ปรกติกินเหล้ามากใช่ไหม ตับเหมือนคนกินเหล้าเลย...เหวอครับ ไม่ได้กินเหล้าเลย..แต่มีตับเหมือนคนกินเหล้า...พวกอินทรี เป็นโรคด้วยพฤติกรรมคล้ายๆกัน คือ “บำเรอตนเอง” มากไป

สุดท้ายพวกหนู รักเพื่อนมากไปไหนไปกัน ..พวกนี้ดูเหมือนเป็นโรคตามกลุ่มเพื่อนที่คบ ... เช่นแม่บ้านหนู เป็นพวกที่ชอบพากันกิน เสร็จครับคอเลสเตอรอลสูงปรี๊ด... สรปุแล้ว พฤติกรรมที่นำมาสู่โรคภัยไข้เจ็บของพวกหนู คือ “การตามใจเพื่อน ด้วยการกินตามๆกัน”

ผมสรุปได้ตามนี้เลยครับ...


พอผมวิเคราะห์ให้ฟังชาวบ้านอิสาน ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ...ใช่ค่ะอาจารย์...

เป็นไงครับจะซุนเซ็ก หรือผู้ใหญ่ Gen X เด็ก GenY ... ที่แม้จะเป็นวีรบุรุษ คนดีจากยุคใดก็ตาม ถ้าไม่รู้จักตัวเอง ก็จะควบคุมตัวเองไม่ได้ ที่สุดตัวเองนี่แหละฆ่าตัวเอง ...

สำหรับศาสตร์การพัฒนาองค์กรนั้น เรามีการให้คนประเมินตนเอง ประเมินคนรอบตัว เพราะถ้ารู้จักตัวเอง ก็จะเห็นพฤติกรรมที่อาจเป้นความเสี่ยง หรือสร้างสรรค์ก็ได้ ...แน่นอนความเป็นกระทิงแบบบวกๆ ก็ทำให้ซุนเซ็กสร้างอาณาจักรได้ แต่ถ้าซุนเซ็กไม่รู้จักด้านมืดของตนเอง ความเป็นกะทิงของซุนเซ็นนั่นแหละ จะหันมาทำร้ายซุนเซ็ก โชคดีมีน้องเก่งๆ อย่างซุนกวนรับช่วง ไม่งั้นก็ตายทั้งลูกเมียครับ ...

ในสมัยใหม่...ก่อนพัฒนาองค์กร ต้องทำให้คนรู้จักตนเองให้ได้ จึงจะไปต่อกันได้ง่าย ผมแนะนำทฤษฎีสัตว์สี่ทิศของท่านอาจารย์ดร.วรภัทร์ เพราะง่าย ตรง ไม่เสียเงินครับ เพราะไม่มีลิขสิทธ์ ตัวอื่นก็ดีครับ เช่น DISC หรือ Whole Brain แต่ฝั่งนั้นมีลิขสิทธิ์ ถ้าทำ OD ด้วยต้นทุนต่ำ ผมแนะนำเรื่องสัตว์สี่ทิศ ดีมากๆ ตรงด้วย ใช้กับคนทั่วไปและรากหญ้าได้ดีมากๆ ...

ผมเองมีคนไกล้ชิด คนที่รักหลายคน ทั้งญาตมิตร กัลยาณมิตร และลูกศิษย์ ...

ล่าสุดเจอเพื่อนที่เป็นหมี เธอเป็นผู้บริหาร จากการที่รู้จักกันมานานก็พบว่าเธอเป็นหมีครับ...เมื่อเจอกันก็ได้แนะนำว่า "อืมช่วงนี้ดูเครียด ตึงๆ นะ เรารู้เลย ว่าเธอต้องพยายามจัดระบบระเบียบในองค์กร และมีสิทธิเจอเรื่องไม่ถูกใจมากๆ ...เราก็ต้องโค้ชให้เธอรักษาสงดุลชีวิต อย่าเอางานมาทำบ้าน ลดความกังวลลง..ไม่งั๊นผมว่าเจอโรคความดันสูงแน่"...

ถามว่าความเป็นหมีของเธอดีไหม ดี ผมเองก็ต้องแนะนำวิธีการสร้างระบบ หรือแนะนำระบบต่างๆของเธอ เพราะนั่นคือจุดเเข็งของเธอ แต่เธอจะทำงานได้ผล และมีความสุข เธอก็ต้องระวังเรื่องความกดดันที่มาจากธรรมชาติความเป็นหมี ของเธอด้วย..ผมเลยแนะนำว่าจัดระบบเดือนละเรื่องนะ ไม่ต้องไล่ทำทุกเรื่องๆ เธอบอกเธอก็คิดอย่างนั้น เธอก็เลยเร่ิมจัดระบบองค์กรทีละเรื่อง ...เห็นไหมครับ การสร้างสมดุลชีวิต... เรารู้ว่าเขาเป็นใครเราจะช่วยเขาได้ จริงไหมครับ

อ้อ ผมอนุญาตนำ Clip ที่ท่านอาจารย์วรภัทร์บรรยายเรื่องสัตว์สี่ทิศมาให้ท่านผู้อ่านดูด้วยครับ ดีมากๆ ..




วันนี้พอเท่านี้ เพียงเลาให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูกันเอาเองนะครับ

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org



หมายเลขบันทึก: 591584เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2015 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2015 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท