การก่อการร้ายโดยรัฐ และมานุษยวิทยา ตอนที่ 3


ทางไปสู่ทฤษฎีทางมานุษยวิทยาของการก่อการร้ายโดยรัฐ

Sluka เริ่มต้นในการพัฒนาคำอธิบายเชิงทฤษฎีเรื่องการก่อการร้ายโดยรัฐ ซึ่งตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐเป็นระบบที่วางอยู่บนความไม่เสมอภาค หรือการแบ่งชั้นทางสังคม สิ่งนี้หมายถึง การเข้าถึงอำนาจที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ และการเมือง (หมายถึงการจัดคนในสังคมให้เป็นชั้นๆ ซึ่งมีทางเข้าถึงสินค้า, บริการ, ประสบการณ์, และโอกาสต่างกัน) ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนเริ่มขยายมากขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ดังนั้นจึงมีการต่อต้านพวกคนยากคนจนเหล่านี้ และการก่อการร้ายโดยรัฐก็คือการเพิ่มการควบคุมพวกชนชั้นล่าง โดยผ่านการขู่ และความกลัว เขาได้เชื่อมโยงเรื่องนี้เข้ากับขบวนการขวาใหม่ (the New Right movement) ในช่วงรัฐบาลของ Reagan และ Thatcher ซึ่งไม่เน้นสิทธิขอมนุษย์ แต่กลับเน้นการก่อการร้ายทางทหารมากกว่า โดยสรุป รัฐต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์แห่งการบูรณาการ แต่เลือกที่จะตอบโต้ด้วยการกดขี่ และการก่อการร้าย นี่คือระบบการเมืองและสังคมที่ไม่ทำหน้าที่ และกำลังอ่อนแอลง หรือแตกหักได้ง่าย พร้อมๆกับความไม่เสมอภาค ที่คล้ายกับทหารที่อยู่ยงคงกระพัน แต่สามารถฆ่าได้โดยทางส้นเท้า จริงๆแล้วนักมานุษยวิทยาที่ชื่อ John Bodley เห็นว่าปัญหาหลักๆที่มนุษย์ทุกผู้เผชิญอยู่เกิดมาจากความไม่เสมอภาค แต่รัฐมีพื้นฐานอยู่บนความชอบธรรม และอำนาจ อย่างไรก็ตามความชอบธรรมกำลังเสื่อมสลายลงอย่างเรื่อยๆแล้ว (เพราะรัฐใช้แต่อำนาจมากกว่าความชอบธรรม)

สรุป

ในโฉมหน้าของวิกฤตการณ์รัฐที่กำลังเกิดขึ้นและเลวร้ายลงเรื่อยๆ และการก่อการร้ายโดยรัฐนั้น มีนักมานุษยวิทยาบางคน ที่มีความสำนึกและมีคุณค่าทางมนุษยธรรม เลือกที่จะอยู่ข้างเหยื่อ และดำเนินการเมืองของความจริงในฐานะที่เป็นพยาน ซึ่งนำความรู้ผ่านการปฏิบัติในนามของผู้ทนทุกข์ (ได้แก่คนยากคนจน, ผู้ถูกกดขี่, และผู้ถูกขูดรีด) นี่คือมานุษยวิทยาที่ถูกถอดทอนจากการเป็นอาณานิคม และมานุษยวิทยาเชิงเสรีภาพนิยม เพื่อการปลดปล่อยประชาชนผู้ทนทุกข์เหล่านั้น

บางส่วนมาจาก

Jeffrey A. Sluka ใน Death Squad: The Anthropology of State Terror, J.A. Sluka, ed., (2014). http://www.soc.hawaii.edu/sponsel/Courses/345.html…

หมายเลขบันทึก: 591564เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2015 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2015 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท