การแสวงหาอาณานิคมในยุคจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ภาคสรุป)


การแสวงหาอาณานิคมในยุคจักรวรรดินิยมยุคใหม่ (ภาคสรุป)

โดยวาทิน ศานติ์ สันติ 23 มิถุนายน 2558

ภาพ บรรยากาศการค้าและการแต่งกายของชาวจีนในสมัยปลายราชวงศ์ชิง

จาก http://board.postjung.com/837566.html

จักรวรรดินิยมยุคใหม่ คือยุคที่ประเทศมหาอำนาจในยุโรปต่างพากันออกมาแสวงหาอาณานิคมในกลุ่มประเทศโลกที่สามคือทวีปแอฟริกาและเอเชีย (ค.ศ. 1871-1914) โดยมีอังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดา เป็นผู้นำ ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชียต้องตกไปเป็นอาณานิคมจำนวนมาก เกิดกดขี่ข่มเหง การแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากร จากแรงงาน และสร้างบาดแผลให้กับประเทศใต้การปกครองที่ไม่มีใครอยากจำ อีกทั้งยังก่อให้เกิดความขัดแย้งกันเองภายในกลุ่มประเทศมหาอำนาจจนเกิดสงครามครั้งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติตามมา

สาเหตุของการออกมาแสวงหาอาณานิคม

1. เป็นผลมาจากการปฎิวัติอุตสาหกรรม ทำไห้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มประชากร จึงมีความจำเป็นต้องมีการออกแสวงหาอาณานิคมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ คลังสินค้า ตลาด จัดตั้งฐานทัพ และเพื่อระบายพลเมืองให้มีที่อยู่ที่อาศัย

2. เป็นการแสดงออกถึงความเป็นประเทศมหาอำนาจในยุโรป มีประเทศในอาณานิคมมาก ก็มีอำนาจมาก

3. เพื่อเผยแพร่ศาสนา โดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศส

4. ลัทธิชาตินิยมที่ชาวยุโรปต้องการเข้าครอบครองดินแดนที่มีอารยธรรมต่ำกว่า โดยอ้างว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมในการเขามาปกครองเพื่อพัฒนาให้มีความเจริญ

ผลของการออกแสวงหาอาณานิคมในยุคนี้คือ

1. เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษกับฝรั่งเศส อังกฤษกับรัสเซีย และฝรั่งเศสกับเยอรมนี ทำให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ทั่วโลกรวมถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914 – 1918)

2. มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสาธารณรัฐในจีน ส่วนญี่ปุ่น ยอมเปิดประเทศรับอารยธรรมตะวันตก และได้กลายมาเป็นประเทศจักรวรรดินิยมในเวลาต่อมา

3. จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีอารยธรรม สูง แต่ก็ได้รับผลกระทบจากการออกแสวงหาอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจยุโรป เพราะจีนและอินเดียมีปัญหาเรื่อง (1) การขาดแคลนอุตสาหกรรมที่ผลิตด้วยเครื่องจักร (2) กองทัพขาดประสิทธิภาพ (3) พลเมืองขาดความมีระเบียบวินัย

ตัวอย่างการขยายอำนาจของประเทศมหาอำนาจเข้าไปในจีน

ในสมัยศตวรรษที่ 19 จีนปกครองโดยราชวงศ์แมนจู (ราชวงศ์ชิง) ได้รับผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของมหาอำนาจของยุโรป รัฐบาลจีนพยายามกีดกันทางการค้ากับต่างชาติโดยการเปิดเมืองกวางตุ้ง เป็นเมืองท่าค้าขายเพียงเมืองเดียว อีกทั้งไม่ได้ให้ความยุติธรรมแก้ชาวต่างชาติทางด้าน ธรรมเนียมการเข้าเมือง คดีความ การเสียภาษี และความมาสะดวกสบายในการค้าขายและการจำกัดสินค้ามากมาย สร้างความไม่พอใจให้กับชาวต่างชาติโดยเฉพาะอังกฤษที่มีผลประโยชน์ในประเทศจีนค่อนข้างมาก

อังกฤษ เป็นชาติแรกที่ใช้นโยบายเรือปืนบีบบังคับให้จีนเปิดประเทศด้วยสงครามฝิ่น ( ค.ศ.1840-1842 ) เนื่องจากอังกฤษนำฝิ่นจากอินเดียมาขายในจีน จีนไม่ยินยอมโดยการที่รัฐรับซื้อฝิ่นและขายเองเพื่อจำกัดขอบเขต จึงเกิดสงครามขึ้น ผลจากการทำสงคราม จีนพ่ายแพ้จึงต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง ในปี ค.ศ. 1842 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ

1. จีนต้องเปิดเมืองท่าเพิ่ม ให้ชาวต่างประเทศเข้ามาพำนักและค้าขายโดยมีกงสุลประจำ

2. จีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษและต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วย

3. ปี ค.ศ. 1843 อังกฤษได้ทำสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ( Extraterritoriality)

4. ชาติมหาอำนาจยุโรปชาติอื่นๆรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ก็ได้มาทำสัญญาเช่นเดียวกับที่อังกฤษ ที่สำคัญเช่น สัญญาอีก 2 ฉบับคือสนธิสัญญาเทียมสิน ในปี ค.ศ. 1858 และสนธิสัญญาปักกิ่ง ในปีค.ศ. 1861 จีนได้รับผลกระทบจากการขยายอำนาจของชาติมหาอำนาจเป็นอย่างมาก

ปฏิกิริยาการต่อต้านของชาวจีนคือ กบฏนักมวย ( Boxer Rebellion) ผู้ปกครองจีนนำโดยพระนางซูสีไทเฮาสนับสนุน พวกกบฏนักมวยพยายามขับไล่ชาวต่างชาติออกจากกรุงปักกิ่งในปี ค.ศ.1900 แต่กองทหารนานาชาติก็สามารถปราบพวกกบฏนักมวยได้สำเร็จ พวกกบฏถูกลงโทษ จีนต้องจ่ายค่าเสียหายถึง 325 ล้านเหรียญอเมริกา

เอกสารประกอบการเขียน สรุปจากการบรรยายและหนังสือของ ศฤงคาร พันธุพงศ์, รศ. ประวัติศาสตร์ยุโรป 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2547.

หมายเลขบันทึก: 591560เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2015 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2015 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท