เข้า Mode ใหม่ จากเนื้อหา รธน. สู่ ขยายเวลา คสช.อีก ๒ ปี “กระจุกตาย กระจายรอด”


สถานการณ์ปฎิรูปและบทบาทภาคประชาชน

เข้า Mode ใหม่ จากเนื้อหา รธน. สู่ ขยายเวลา คสช.อีก ๒ ปี “กระจุกตาย กระจายรอด”

ที่ผ่านมา คสช./ ครม.เป็นผู้กำหนดเกมส์/สถานการณ์ กลุ่มที่เรียกร้องคือ ฝ่ายประชาชน ฝ่ายราชการ และพรรคการเมือง

จุดเปลี่ยนสถานการณ: ครั้งที่ ๑ เมื่อ คณะ กก.ยกร่าง รธน.เผยแพร่ ร่าง รธน.ฉบับที่ ๑ จุดเปลี่ยนครั้งที่ ๒ เมือ ครม. ขอแก้ ๗ ประเด็น จุดเปลี่ยนครั้งที่ ๓ เมื่อ คสช.ขอแก้ รธน.ให้ยุบสปช.หลังรับรองร่าง รธน.ในวันที่ ๔ ก.ย.๕๘ (ตั้ง กก.ปฏิรูปชุดใหม่ ๒๐๐ คน คณะยกร่าง รธน.๒๑ คน)

ผลตามมา – ๑)สถานการณ์เข้า Mode ใหม่ จากเรื่องเนื้อหา รธน. สู่ ขยายเวลา คสช.อีก ๒ ปี ๒)สมาชิกแม่น้ำ ๕ สาย วิ่งเข้าหา คสช.ขอเป็น กก.ชุดใหม่ ๓)เกิดการรวมตัวใหม่ของภาคประชาชนและท้องถิ่น

คาดสถานการณ์อนาคต : จุดเปลี่ยนครั้งที่ ๔ เมื่อ สปช.ลงมติ ๔ ก.ย.๕๘ แนวโน้ม- การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะมาเร็วกว่าที่คิด ความเป็นไปได้ - กระแสประชาชนขึ้นสูง .. หรือ กระแสฝ่ายอำนาจขึ้นสูง..... กระชับอำนาจครั้งที่สี่

เงื่อนไขสถานการณ์ใหม่ : ผลร่างสุดท้าย รธน. ... สปช.คว่ำรธน.ไม่มีประชามติ .....การทักท้วง คสช.ของกลุ่มวิชาชีพ/นักวิชาการ (เช่น คณะวิศวะจุฬา ค้านโครงการรถไฟ)

คู่ขัดแย้งการเมือง: เฉพาะหน้า ช่วงร่าง รธน. - เป็นการเผชิญหน้าระหว่าง ภาคประชาชน กับ ระบบราชการ ประเด็นแตกหักคือ “องค์กรปกครองท้องถิ่นเต็มพื้นที่ (จังหวัดจัดการตนเอง)”ระยะยาว: เป็นความจัดแย้งระหว่างคณะผู้กุมอำนาจ กับ ภาคประชาชน

คาด ร่าง รธน.หลังปรับแก้(๑๔ มิ.ย.๕๘)

ประเด็นตัดออก - สภาตรวจสอบภาคพลเมือง สภาคุณธรรม กลุ่มการเมือง ประเด็นยืนตามร่างเดิม - องค์กรปกครองท้องถิ่นเต็มพื้นที่ คงสมัชชาพลเมืองให้เป็นกระบวนการ ประเด็นถูกรุกกลับ – ให้คงราชการส่วนภูมิภาค ประเด็นยืนตามร่างเดิมแต่เป็นอุปสรรคกระจายอำนาจ – ระบบบริหารบุคคลากรท้องถิ่นที่เลียนแบบระบบราชการส่วนกลาง

คาดการณ์โดยรวม ข้อเสนอประชาชนจะได้ราวร้อยละ ๘๐

ประเด็นร่วมเรียกร้องของประชาชนและ อปท.(สรุปเมือ ๖ มิ.ย.๕๙ ในเวทีสุดท้ายเสนอร่าง รธน.)

๑.ให้มีการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น และองค์กรปกครองท้องถิ่นที่เป็นอิสระใน รูปแบบ “สภาองค์กรปกครองท้องถิ่นแห่งชาติ(สทช.)”

๒ให้มีรูปแบบ “จังหวัดจัดการตนเอง” โดยให้จังหวัดที่มีความพร้อมพัฒนาเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่เต็มพื้นที่

๓.ให้มี “สมัชชาสภาพลเมือง” เป็นกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารท้องถิ่น

๔.ให้รับรอง “สิทธิชุมชน” มีอำนาจในการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่

ทิศทางต่อสู้ของภาคประชาชน

รุกทางการเมือง โดย เรียกร้อง กก.ยกร่าง คงสาระสำคัญตามข้อเสนอธงเขียว(๖ มิ.ย.) ถ้าพอใจกดดันให้ สปช.รับร่าง รธน. และให้ มีการประชามติ รธน.

คำขวัญสถานการณ์ใหม่ “กระจุก(รวมศูนย์)ตาย กระจาย(อำนาจ)รอด”

Locallthai สรุปวันที่ ๑๔ มิ.ย.๕๘ ณ บ้านอัมพวา


ความคืบหน้าสมัชชาพลเมือง :เสี่ยงที่จะถูกถอดจากรัฐธรรมนูญ แต่ประชาชนเดินหน้าสร้างพลเมืองด้วยตนเอง

ทหารและฝ่ายปกครองยังไม่เข้าใจพลเมือง เหมารวมว่ากลุ่มออกมาเป็นมอบ คือ พลเมือง เป็นห่วง รธน.ให้อำนาจสภาพลเมืองจะทำให้บริหารบ้านเมืองลำบาก

ตกผลึก: ความหมายสมัชชาพลเมือง - พลเมืองคือประชาชนที่ตื่นตัว ความสำเร็จอยู่ที่การยอมรับของพื้นที่ เป็นเวทีร่วมมือสร้างอนาคต ไม่มีสภาพลเมือง เปิด เออีซี.จะไม่มีภูมิคุ้มกันท้องถิ่น

องค์กรภาคีรวมพลังหนุนพลเมือง : ๑) สพม – พอช.- LDI – ตกลงร่วมมือกัน หนุนประชาชนในแนวทางสภาพลเมอง ๒) สามสมาคม อปท.(เทศบาล อบต. อบจ.)มีทิศทางเดียวกับภาคประชาชน เคลื่อนไหวเป็นอิสระ ทิศทาง “สร้างเจดีย์จากฐานราก สามเสาหลักอุ้มชูชาวบ้าน สร้างรากฐานประเทศที่ท้องถิ่น” รวมพลัง อปท.และภาคประชาชนในพื้นที่ตามความพร้อม

หลักการและทิศทางขบวนประชาชน

เคลื่อนประเด็นรัฐธรรมนูญในพื้นที่ให้ ขาวบ้านและองค์กรอื่น ๆ เข้าใจอย่างแท้จริง เปิดทางองค์กรต่าง ๆ ทำงานร่วมกัน แสดงบทบาทความเป็นพลเมือง ขึ้นรูปธรรมสภาพลเมืองในพื้นที่แข็งแรง ผนึกพลังภาคียุทธศาสตร์ มีแบรนด์กลาง มีสาระสำคัญ (Key Message) เดียวกัน แต่เนื้อหาหลากหลายตามบริบทท้องถิ่น

ประชาชนลุกขึ้นประกาศตัวเอง ขอเป็นพลเมืองด้วยตัวเอง ไม่เป็นไปตามกฎหมาย หรือเป็นโดยปริยาย - ออก แสดงตัวให้สังคมเห็นว่ามีจริง ลุกขึ้นประกาศตัวเอง ขอเป็นพลเมืองด้วยตัวเอง ไม่เป็นไปตามกฎหมาย หรือเป็นโดยปริยาย พลเมือง เป็นพื้นที่นำเสนอปัญหาพลเมืองของพื้นที่ เรียกร้องสิทธิพลเมือง

เนื้อหาพลเมืองให้มีความแตกต่างสะท้อนบริบทพื้นที่ ไม่ตอบคำถามฟอร์มเดียวกัน รวมรวมข้อสรุปส่งต่อรัฐบาล เริ่มจาก กทม. ปริมณฑล ตะวันออก ขอพลเมืองมากรุงเทพครั้งสุดท้ายก่อน สปช.มีมติ ๕ กันยา ๕๘

กิจกรรม๑)เวทีพลเมืองเสวนาและประชามติ รธน.- ยืนตามข้อเสนอ ธงเขียว (๖ มิ.ย.๕๘ ที่ห้องประชุมศูนย์ราชการ)

๒)เวทีพลเมืองในพื้นที่ ๓)ร่าง พรบ.สภาพลเมือง

สรุปจากประชุม องค์กรชุมชน กทม/ปริมณฑล ตะวันออก ๑๒ จังหวัด(๑๑ มิ.ย.๕๘)

หมายเลขบันทึก: 591232เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2015 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2015 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท