สามนคราประชาธิปไตย แนวคิดต่อยอดจากท่าน อ. อเนก เหล่าธรรมทัศน์


1. มุมมองของท่าน ดร. อเนก เหล่าธรรมทัศน์ที่มีต่อสังคมไทย
ทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยของท่าน ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ นั้นเป็นทฤษฎีที่น่าจะมีประสิทธิภาพเพียงพอในการทำความเข้าใจสังคมการเมืองไทยโดยฉายภาพให้เห็นทั้งปัญหาของวัฒนธรรมการเมืองแบบอุปถัมภ์และวัฒนธรรมการเมืองแบบกึ่งประชาธิปไตยในสังคมไทย ทฤษฎีนี้จึงมีคุณค่าในฐานะของ "ฐาน" ในการทำความเข้าใจสังคมการเมือง และเป็นฐานที่จะสร้าง "ความเท่าเทียม" ให้กับประชาชนไทย ผ่านการ "ปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ" แต่กลับเป็นที่น่าเสียดายที่คนในสังคมไทยกลับใช้ทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยในสถานะของ "ศัพท์แสง" ทางการเมือง เพื่อโจมตีกันระหว่างชนชั้นกลางและชาวชนบท ที่สุดท้ายนำไปสู่การแบ่งแยกประชาชนออกเป็นสองส่วนรวมถึงยังไม่แสวงหาวิธีการที่จะทำให้ประชาชนทั้งสองส่วนมาร่วมพัฒนาประชาธิปไตย

ผมคิดว่า ถ้าหากว่าสามารถสร้างกลไกทางโครงสร้างหรือระบบให้เกี่ยวข้องกันได้ปัญหาเหล่านี้ก็จะหายไปจากสังคม เช่นทางเศรษฐกิจปัจจุบันทางธนาคารออมสิน ทางสหกรณ์ออมทรัพย์ก็ดีพยายามกระต้นความเป็นอยู่ของสังคมรากหญ้าดีขึ้นโดยสร้างสินเชื่อให้แต่ไม่ได้ทำเป็นพี่เลี้ยงให้จึงเกิดปัญหาที่ชนชั้นกลางเขาเอือมระอา และชนชั้นล่างเขาก็อ้างว่าเขาก็อยู่ของเขาอย่างนี้คุณมายุ้งทำไม? เช่นเดียวกับรถคันแรกของคนไทย คนที่ฐานะเหมาะสมก็ดีแต่คนส่วนมาก เช่าหออยู่หรือไม่มีบริเวณบ้านที่จะจอดรถเขาก็อาศัยถนนส่วนกลางเป็นที่จอดรถมันกลายเป็นปัญหาสังคมตามมาแล้วไม่ขัดแย้งกันได้อย่างไร?

สื่อตะวันตกมองสังคมไทยอย่างตั้งคำถามว่าทำไม คนที่มีการศึกษาดี สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำจากตะวันตกที่ประชาธิปไตยงอกงาม และชนชั้นนำเหล่านี้ล้วนมีฐานะทางสังคมที่ค่อนข้างสูง สนับสนุนแนวคิด สภาประชาชน ที่ดูเหมือนเป็นสิ่งแปลกปลอมจากรัฐธรรมนูญ ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ ตระเวนสัมภาษณ์บรรดาบุคคลในวงสังคมระดับสูง และคนเด่นคนดัง ในกรุงเทพฯ ที่เข้าร่วมการประท้วงต่อต้านรัฐบาลโดยคนเหล่านี้บอกถึงเหตุผลที่ออกสู่ท้องถนน ว่า ต้องการเชิดชูคุณธรรม และแสดงความเห็นว่า เมืองไทยยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย โดยรายงานเรื่อง "High society hits the streets as prominent Thais join protests" เขียนโดย Andrew R.C. Marshall บอกว่า ความชิงชังของคนเหล่านี้ต่อบรรดาผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สวนทางกับความรู้สึกของประชาชนเกือบ 16 ล้านคน ที่ได้เลือกตั้งน้องสาวของเขาเข้ามา อย่างเช่น เพชร โอสถานุเคราะห์ เจ้าของโอสถสภา ผู้ร่วมถือครองสินทรัพย์มูลค่าราว 20,000 ล้านบาท บอกว่า พวกคนชนบทที่โหวตเลือกยิ่งลักษณ์ เป็นคนด้อยการศึกษา ถูกชักจูงง่าย และเห็นแก่เงิน ยินดีขายเสียงให้แก่นักการเมืองที่ทักษิณสนับสนุน ทำให้การเลือกตั้งไม่มีความหมาย "ผมไม่ชอบประชาธิปไตยเท่าไหร่" เพชร ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐ บอก "ผมไม่คิดว่า เราพร้อมสำหรับประชาธิปไตย เราต้องมีรัฐบาลที่เด็ดขาดแบบจีน หรือสิงคโปร์ ผมอยากได้ผู้นำแบบ ลี กวน ยิว" ขณะที่ ปาลาวี บุนนาค นักกฎหมายจากอังกฤษ ผู้สมรสกับ วรสิทธิ์ อิสสระ บุตรชายคนโตของศรีวรา ซึ่งไปร่วมชุมนุมหลายครั้ง บอกว่า การให้การศึกษาแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องเริ่มที่คนขับรถและแม่บ้านของตัวเองก่อน เธอเห็นว่า ต้องสอนให้คนอีสานรู้ถึงข้อจำกัดของนโยบายประชานิยม เช่น พวกเงินกู้ทั้งหลาย "พวกเขาอยากมีชีวิตสบาย แต่ไม่ได้คิดว่า ในระยะยาวพวกเขาจะเป็นหนี้ ระบอบทักษิณทำให้ทุกคนละโมบ" ตัวอย่างของบุคคลในสังคมระดับสูงที่มีความเห็นต่อประชาธิปไตย อีกคนหนึ่ง คือ จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี หรือ "น้องตั้น" โฆษกเวทีราชดำเนิน ทายาทเจ้าของบุญรอดบริวเวอรี่ ที่ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเอเอฟพี ตอนหนึ่ง ว่า "ปัญหาคือ คนไทยจำนวนมาก ขาดความเข้าใจที่แท้จริงในเรื่องประชาธิปไตย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท" เธอบอกอีกว่า เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ "ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการให้การศึกษาในเรื่องประชาธิปไตย"แน่นอนว่าลำพังบุคคลร่ำรวยเหล่านี้คงไม่ได้อยู่ๆก็สามารถจะกล้าออกมาเปิดหน้าแสดงความคิดที่อยู่ในใจเกี่ยวกับหลักการประชาธิปไตยตามที่พวกเขาเข้าใจแต่แนวคิดที่มีต่อประชาธิปไตยของบุคคลเหล่านี้ถูกประทับรับรองด้วยนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง เช่น นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะทำงานกลุ่ม กปปส. ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ถึงหลัก 1 คน 1 เสียง จะมีปัญหาในระบอบประชาธิปไตยของไทย"จะเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ตามบริบทของประเทศ ถ้าไทยจะทำก็ต้องดูบริบทของประเทศ ออกแบบประชาธิปไตยให้มันสอดคล้อง ไม่งั้นจะแก้ปัญหาไม่ได้ ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ต้องทำให้ประชาชนเลือกคนดีมาเป็นผู้ปกครองให้ได้ เพราะมีแต่คนดีเท่านั้นที่จะใช้อำนาจทำสิ่งที่ดีเพื่อประชาชน ถ้าเลือกคนเลว ก็จะใช้อำนาจนั้น หาประโยชน์ให้ตนเองและพรรคพวก เหมือนสภาของระบอบทักษิณที่ทำอยู่ทุกวันนี้"เช่นเดียวกับ ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ที่บอกว่า "3 แสนเสียงในกรุงทพฯ เป็นเสียงที่มีคุณภาพ ย่อมดีกว่า 15 ล้านเสียงในต่างจังหวัด แต่ไร้คุณภาพ" แต่ในเรื่องนี้ ยุกติ มุกดาวิจิตร ผู้ที่เรียกตัวเองว่านักวิชาการเสื้อแดง ให้เหตุผลว่า ถ้าการขยายอำนาจของคนสามัญ เพื่อความเป็นธรรมของสังคม แล้วคนจะเรียกผมว่า "นักวิชาการเสื้อแดง" ตนก็พร้อมจะยอมรับ ได้ให้เหตุผลที่แตกต่างออกไป

เราน่าจะเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ไม่ว่ากลุ่มเสื้อแดงก็ดี กลุ่มเสื้อเหลืองก็ดี หรือชนชั้นล่างชนบทก็ดี ชนชั้นกลางในเมืองก็ดีไม่ควรที่จะเหยียดหยามซึ่งกันและกันเพราะสังคมไทยเราเป็นสังคมธรรมาธิปไตย และเป็นสมาชิกสหประชาชาติ อนุสัญญาเจนีวา ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่จะต้องเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน หรือเหนือสิ่งอื่นใดถ้าประชาชนชาวไทยคิดว่าตนเป็นปวงชนชาวไทยก็ควรจะระลึก พระดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า เราจะยืนอยู่บนปรักหักพังแล้วจะภูมิใจได้อย่างไรว่าฉันชนะเราก็แพ้ทั้งคู่ เพราะประเทศเรายืนอยู่ได้พังลงแล้วท่านทำลายบ้านตัวเองให้ย่อยยับแล้วจะภูมิใจว่าเก่งอย่างงั่นหรือ?


กลไกของการเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างไร ยากที่คนในกรุงเทพฯ จะเข้าใจ เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ และสมาชิกสภาเขต สำหรับคนกรุงเทพฯ เป็นเหมือนพิธีกรรมไร้สาระจริงๆ ถามหน่อยว่าเราแคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็นผู้ว่าฯ กทม. เราแคร์หรือว่าผู้ว่าฯ กทม. จะมาช่วยอะไรเรา หรือเราเลือกกันเพราะอารมณ์จริงๆ ว่าเราชอบใคร นิยมใคร แต่สำหรับชาวบ้านในชนบท นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขามากกว่าใน กทม." ขณะที่เอเอฟพีอ้างความเห็นของ "คริส เบเกอร์" นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่อธิบายต้นเหตุของการประท้วงตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า เป็นผลจากความรู้สึกไม่มั่นคงของเหล่าอภิสิทธิ์ชนคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ซึ่งเกรงว่า ระเบียบสังคมอย่างที่เคยเป็นมาจะสิ้นสุดลง เบเกอร์บอกว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา ชาวบ้านได้ใช้สิทธิเลือกตั้งของตนเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพวกเขา แต่ชนชั้นกลางเขตเมืองแทบไม่เคยสัมผัสรับรู้เกี่ยวกับพื้นที่ชนบทเหล่านั้น และยังคงเชื่อว่า คนต่างจังหวัดเป็นพวกยากจน น่าสงสาร "มันเป็นความรู้สึกว่าตนเหนือกว่า ซึ่งเป็นความเชื่อแบบฝังหัว"อย่างที่ทราบกันว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน เป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนสองกลุ่มใหญ่ ซึ่งต่างจากความขัดแย้งทางการเมืองในอดีตอย่างเช่นเมื่อครั้ง 14 ตุลาคม 2516 ที่เป็นความขัดแย้งระหว่างนักศึกษาประชาชนกับผู้มีอำนาจรัฐ แต่หลักการพื้นฐานของเสรีประชาธิปไตย ที่คงไม่มีใครโต้แย้ง คือความเชื่อในความเสมอภาคของมนุษย์ ซึ่ง เกษียร เตชะพีระ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์อีกคน ให้นิยามของคำว่า "เสมอภาค" ไว้ว่า คือการยอมรับว่าคนอื่นก็สามารถคิดเองเป็นเหมือนกับเรา ดังนั้น จึงสามารถที่จะไม่เห็นด้วยกับเรา คิดต่างจากเรา และโต้แย้งคัดค้านปฏิเสธข้อคิดความเห็นของเราได้เป็นธรรมดา และเมื่อยอมรับว่าคนอื่นเสมอภาคเท่าเทียมกับเราทางการเมืองและเผอิญเขาไม่เห็นด้วยกับเราแล้ว ทางเดียวที่จะเปลี่ยนใจเขาได้ก็คือ ใช้เหตุผลข้อเท็จจริงโต้แย้งหว่านล้อมชักจูงจนเขาเปลี่ยนใจมาเห็นด้วยกับเราเองโดยสมัครใจ

ผมคิดว่า ชนชั้นกลางในเขตเมืองหลวงแม้แต่เพื่อนบ้านก็ยังไม่รู้จักกันไม่พูดคุยกันแก่งแย่งชิงดีชิงแด่นกันไม่สามารถที่จะสื่อความรู้สึกที่ดีต่อกันแล้วเชื่อได้อย่างไรว่าบรรดาชนชั้นกลางเหล่านั้นจะเข้าใจสังคม คำว่า ประชาธิปไตยหรือสิทธิเสรีภาพต่างๆ ของเขานั้นเป็นเพียงแต่ ศัพท์แสง เท่านั้นตามที่ท่าน ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้กล่าวไว้ ต่างจากชนบทเขาจะพูดคุยกันรวมกันพัฒนาสังคมของเขาด้วยกันสังคมที่สามารถสื่อกันได้ด้วยความรู้สึกเป็นกลาง สังคมที่สงบเพียงแต่ทีเขาไม่สามารถยืดขึ้นมาได้ก็เพราะ ทนนิยมครอบไว้ไม่ใช่เพราะเขาไม่มีคุณภาพหรือไม่ฉลาด


ดังนั้น การมีคนกลุ่มหนึ่งที่คิดว่า ตนเองพร้อมด้วยความเข้าใจในหลักการทางประชาธิปไตย และอาสาจะมากำหนดกฎเกณฑ์วางโครงสร้างทางการเมืองแทน หรือพูดง่ายๆ คือ ไปคิดแทนคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกมองว่าขาดคุณสมบัติที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้น ท้ายที่สุด อาจจะก่อให้เกิดปัญหาลุกลามจนยากจะแก้ไข หรือ นี่คือ 2 นคราประชาธิปไตย ปี 2556 ที่ตอกย้ำว่า 1 สิทธิ 1 เสียง ยังไม่พร้อมสำหรับสังคมไทย ทฤษฎี สองนคราประชาธิปไตยเป็นบทสรุปจากงานวิจัยของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ โดยเขาได้ตั้งข้อสังเกตถึงความแตกต่างของสองพฤติกรรม สองความคิด สองความต้องการของชาวนาชาวไร่ภาคชนบทและชนชั้นกลางชาวเมืองว่า เป็นเพราะเกษตรกรชาวนาชาวไร่ในภาคชนบทเป็นได้เพียง “ฐานเสียง” และเป็น “ผู้ตั้ง”รัฐบาลโดยอาศัยคะแนนเสียงอันท่วมท้นในการเลือกตั้ง ขณะที่ชนชั้นกลางเป็น “ฐานนโยบาย” และมักจะเป็น “ผู้ล้ม” รัฐบาล โดยการวิพากษ์วิจารณ์ และก่อกระแสกดดัน ประท้วงขับไล่รัฐบาลกอปร กับการประสานสอดรับกับการกระหน่ำโจมตีรัฐบาลของสื่อมวลชน ตลอดจนการกดดันของคณะทหาร เปรียบเสมือนสองนคราประชาธิปไตยที่ขัดแย้งกันอยู่ประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่ ดร.อเนก เสนอเพื่อแก้ไขปัญหาสองนครา ก็คือประเด็นที่ว่า
(1) ทำอย่างไรชนชั้นกลางจึงไม่เพียงแต่ “ล้ม” รัฐบาลได้ หากแต่สามารถ “ตั้ง” รัฐบาลได้ด้วย
(2) ทำอย่างไรเกษตรกรชาวนาชาวไร่จึงไม่เพียงแต่ “ตั้ง” รัฐบาลได้ หากสามารถ“ควบคุม” และ “ถอดถอน” รัฐบาลนั้นได้เช่นกัน
(3) ทำอย่างไรชนชั้นกลางจึงไม่เป็นเพียง “ฐานนโยบาย” หากเป็น “ฐานเสียง” ของพรรคการเมืองได้ด้วย
(4) ทำอย่างไรเกษตรกรชาวนาชาวไร่จึงไม่เป็นเพียง “ฐานเสียง” หากเป็น “ฐานนโยบาย”ได้เช่นกัน

ดังนั้น จากข้อเสนอของท่าน ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ สองนคราประชาธิปไตยผมเองอยากจะเสนอเพิ่มเติมว่า ถ้าผู้บริหารสถาบันต่างๆ และเจ้าหน้าที่ของรัฐควรที่จะปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงและ ตระหนักถึง จารีตประเพณี ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบาล กฎหมาย และมารยาททางสังคมไว้ให้มาก หากขาดไปสิ่งหนึ่งสิ่งใดปัญหาก็จะตามมาได้เสมอ

2. ปัญหาชนกลุ่มน้อยในประเทศ

ปัจจุบันชนกลุ่มน้อยมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นปัญหาระดับโลก สาเหตุการอพยพของชนกลุ่มน้อยก็จะเป็นการอพยพเข้ามายังประเทศที่อยู่ใกล้ๆกับพื้นที่ที่ชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ ซึ่งเกิดจากปัญหา พื้นที่ทำกินไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากร เกิดการไล่ที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อย เนื่องจากชนกลุ่มน้อยจะอาศัยบริเวณเขตป่าสงวนจึงจำเป็นต้องย้ายที่พักอาศัย เกิดสงครามแบ่งแยกดินแดน เพื่อเอาตัวรอดจากสงคราม

ในขณะที่ในประเทศไทยกำลังวุ่นอยู่กับ สองนคราประชาธิปไตยอยู่นั้นสิ่งเหล่านี้เป็นก็กำลังคลานเข้ามาอย่างเงาทมิฬทีแทรกอยู่ตามสถาบันต่างๆเช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สถาบาลเศรษฐกิจ สถาบันชนชั้น และสถาบันการปกครองเป็นต้น

โดยปรากฏการณ์ที่พบเห็นกันโดยทั่วไปไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย หากแต่เป็นเช่นนั้นในประชาคมโลกโดยทั่วไปอีกด้วย ความเป็น “ชนกลุ่มน้อย” ของบุคคลในรัฐใดรัฐหนึ่งมักจะทำให้บุคคลนั้นๆ ตกเป็นผู้ด้อยสิทธิในรัฐนั้นๆ ทั้งที่ในยุคปัจจุบัน “สิทธิมนุษยชน” มิใช่เพียง “สิทธิทางศีลธรรม” (Moral Right) อีกต่อไป หากแต่ได้รับการยอมรับในสถานะของ “สิทธิทางกฎหมาย” (Legal Right) มากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนทั้งที่เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ ความเป็นมนุษย์ย่อมทำให้บุคคลมีความเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ต้นกำเนิด ศาสนา หรือภาษา จึงเป็นสิ่งที่คาดคิดไม่ได้ว่า กฎหมายของรัฐสมัยใหม่ซึ่งยอมรับในความศักดิ์สิทธิของแนวความคิดว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจะกำหนดโดยชัดแจ้งเพื่อขจัดสิทธิหรือจำกัดสิทธิของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งด้วยเหตุที่มีเชื้อชาติ ต้นกำเนิด ศาสนา หรือภาษา แตกต่างไปจากชน กลุ่มใหญ่ของสังคม

ฉะนั้นผมมองเห็นว่า ที่ใดมีผู้ตกเป็นผู้ด้อยโอกาสที่นั้นจะมีผู้พากเพียรหาโอกาส และมีความเพียรมากเท่าไรความสำเร็จก็จะมากเท่านั้น อย่างเช่นคนสัญชาติไทยดั่งเดิมเขาไม่ได้ใส่ใจอะไรมากในการดำเนินชีวิต การงานอยากทำก็ทำไม่อยากทำก็ไม่ทำ ไม่เรียนไม่ศึกษา ไม่พอใจก็ประทวง ต่างจากชนกลุ่มน้อย ทำงาน ศึกษาเล่าเรียนก็ได้งานดีๆทำกันไป น่าดีใจอย่างในประเทศไทยที่ไม่ได้แบ่งชนเผ่าไว้ในบัตรประจำตัวประชาชนคือสัญชาติไทยหมด แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือคนต่างด้าวตัวจริงที่คลานเข้ามาเป็นชนเผ่าพื้นเมืองนี้น่าเป็นห่วง เพาะเขาสามารถที่ทำลายหรือไขว้เขวให้วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อศาสนา และสังคมเศรษฐกิจได้โดยระบบทุนนิยมครอบงำ

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้เลยในอีกมุมหนึ่งของความเป็นจริง ก็คือ ถึงแม้ว่ารัฐสมัยใหม่จะไม่อาจจะเลือกปฏิบัติต่อบุคคลธรรมดาในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิทางธรรมชาติหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ แต่รัฐอาจจะเลือกปฏิบัติต่อบุคคลดังกล่าวได้ในเรื่องที่มิใช่สิทธิทางธรรมชาติหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ รัฐสมัยใหม่จะเลือกปฏิบัติต่อบุคคลธรรมดานี้โดยคำนึงถึงความแตกต่างในสถานภาพในทางกฎหมาย(Legal Status) ที่บุคคลหนึ่งมีอยู่ การถกเถียงกันถึงผลของความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของมนุษย์ในลักษณะดังกล่าวจึงเกิดขึ้นใน ๒ ประเด็นที่สำคัญ กล่าวคือ

ในประเด็นแรก นักวิชาการได้ถกเถียงกันอย่างมากมายว่า สิทธิของมนุษย์ใดเป็นสิทธิทางธรรมชาติหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ อย่างใดมิใช่ และเมื่อได้คำตอบในแต่ละกรณีว่า สิทธิใดมิใช่สิทธิทางธรรมชาติหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ รัฐก็อาจเลือกที่จะให้สิ่งนั้นแก่ชนกลุ่มหนึ่งแต่มิให้แก่ชนอีกกลุ่มหนึ่งได้ อาทิ หากยอมรับว่า สิทธิในการทำงาน (right to work) มิใช่ “สิทธิทางธรรมชาติหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์” การไม่ยอมรับให้สิทธินี้แก่ชนกลุ่มน้อยจึงทำได้

ในประเด็นที่สอง นักวิชาการได้ถกเถียงกันต่อไปว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิทางธรรมชาติหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ อันเป็นสิทธิที่รัฐจะต้องรับรองให้แก่มนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันนั้น รัฐไม่อาจเลือกที่จะให้สิ่งนั้นแก่ชนกลุ่มหนึ่งแต่มิให้แก่ชนอีกกลุ่มหนึ่งมิได้เลย แต่ปัญหาก็เกิดอีกว่า รัฐจะต้องให้แก่มนุษย์ทุกคนใน “ปริมาณ” (quantity) หรือ “คุณภาพ” (quality) ที่เท่าเทียมกันหรือไม่ อาทิ หากยอมรับว่า สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองการทำงาน (right to labour protection) เป็น “สิทธิทางธรรมชาติหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์” รัฐก็มีหน้าที่ที่จะต้องรับรองสิทธินี้ให้แก่บุคคลทุกคน รัฐไม่อาจเลือกปฏิบัติ แต่รัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครองให้มนุษย์ทุกคนได้รับค่าจ้างแรงงานเท่ากันหรือไม่ หรือรัฐมีหน้าที่เพียงการคุ้มครองให้ได้รับเพียงค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเท่านั้นเอง

แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้สังเกตว่า โดยหลักกฎหมาย แม้ความด้อยสิทธิอาจจะเกิดในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับสิทธิทางธรรมชาติหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์นี้ได้ แต่สถานะก็มิได้เกิดเพราะว่า บุคคลเป็น “ชนกลุ่มน้อย” ในสังคม แต่เกิดจากการที่บุคคลเป็น “ต่างด้าว” ในสังคมนั้นต่างหาก หรือเกิดจากการที่รัฐไม่ยอมรับว่า บุคคลไม่มี “ภูมิลำเนา” อยู่ในสังคมนั้นต่างหาก

คำถามที่น่าสนใจในท้ายที่สุดก็คือ ความเป็น “ชนกลุ่มน้อย” อาจทำให้บุคคลไม่อาจได้มาซึ่งสัญชาติของรัฐเจ้าของดินแดน หรือภูมิลำเนาในดินแดนนั้นโดยง่ายจริงหรือไม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิข้างต้น รัฐเจ้าของดินแดนก็มักจะกำหนดอุปสรรคในทางกฎหมายอันจะทำให้ชนกลุ่มน้อยไม่อาจมีสัญชาติของตนหรือมีภูมิลำเนาในประเทศของตน และผลต่อมาในท้ายที่สุด ชนกลุ่มน้อยก็จะตกเป็น “ผู้ด้อยสิทธิในทางกฎหมาย” ในรัฐนั้น จึงต้องมาตรวจสอบว่า ประเทศไทยในฐานะของรัฐเจ้าของดินแดนกำหนดสถานภาพในทางกฎหมายของบุคคลอย่างไร และประเทศไทยได้สร้างอุปสรรคในการให้สัญชาติหรือภูมิลำเนาแก่ “ชนกลุ่มน้อย” หรือไม่

หากพิจารณาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก็อาจสรุปได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่ชนกลุ่มน้อยจะได้สัญชาติไทยย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของแต่ละบุคคล โดยหลัก กฎหมายไทยยอมรับให้สัญชาติไทยแก่บุคคลในลักษณะเดียวกับนานาประเทศ กล่าวคือ บุคคลย่อมมีสัญชาติไทยโดยอัตโนมัติหากบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์ที่แท้จริงกับประเทศไทย หรือกล่าวในอีกแง่ก็คือ หากบุคคลนั้นมีความกลมกลืนกับสังคมไทย และบุคคลย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอสัญชาติไทยหากบุคคลนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริงกับประเทศไทย หรือกล่าวในอีกแง่ก็คือ หากบุคคลนั้นมีศักยภาพที่จะกลมกลืนกับสังคมไทย

บันทึกนี้เขียนโดย Natcha Rattaphan เมื่อ Sun Apr 25 2010 02:53:11 GMT+0700 (ICT)

3.ลักษณะชนชั้นที่ สาม ชนชั้นซ่อนเร้น

นอกจากที่ทางรัฐบาลได้กำหนดกลุ่มให้กับชนกลุ่มน้อยแล้ว ปัจจุบันได้เพิ่มกลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเข้ามาอีก 1 กลุ่ม คือ แรงงานต่างด้าวแรงงานต่างด้าวเหล่านี้มาแย้งพื้นที่ของชาวไทยภูเขาดั่งเดิมอย่างสิ้นเชิงไม่ว่าเศรษฐกิจสังคมและสถานที่อยู่อาศัยที่ทำมาหากินอย่างง่ายดาย โดยอาศัยเขตชายแดนและชาวดอยเป็นประโยชน์และทุนนิยมเป็นประโยชน์ในการครอบงำ สาเหตุการอพยพของชนกลุ่มน้อยหรือต่างด้าวนั้นมีหลายสาเหตุเช่น

  • ด้านสังคม ประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะเมียนม่า การสู้รบกันโดยจับอาวุธมาประหัตประหารหักล้างกันเพื่อสิทธิเสรีภาพของตน ประชาชนชาวชนบทเขาก็อยู่ไม่ได้จำเป็นจะต้องหนีเข้ามาทางประเทศเพื่อนบ้าน ถือว่าหนีร้อนมาพึ่งเย็น
  • ด้านศาสนา อาจจะถือได้ว่าศาสนาเป็นต้นตอของความขัดแย้งทั้งหมดก็ว่าได้ เพราะมีชาติพันธุ์มาก ศาสนามากและต่อยอดด้วยความแรงศรัทธายิ่งแรงขึ้นเท่าไรความขัดแย้งก็จะทวีคูณเท่านั้น สุดท้ายประชาชนที่ไม่รู้ประสีประสาก็จะเป็นจะต้องหนีเข้ามาอยู่ทางประเทศเพื่อนบ้าน
  • ด้านเศรษฐกิจ แน่นอนว่าถ้าเกิดสงครามเกิดขึ้นความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศก็ย่ำแย่อย่างลีกเลี้ยงไม่ได้ เช่นด้านคมนาคม ด้านสุขภาพพลานามัย ด้านที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และอาหารการกิน
  • ด้านการเมือง นักการเมืองหรือกลุ่มการเมืองทั่วไปใช้ประเทศเพื่อนบ้านเป็นฐานหรือเส้นทางผ่านในการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกอย่างเงียบๆ หรืออาจจะในรูปของพ่อค้า หรือเอ็นจีโอเป็นต้น
  • บางท่านเข้ามาโดยถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมืองทั้งต้นทางและปลายทาง ความประสงค์ในรูปของการท่องเทียว การค้าขาย หรือด้วยงาน หางานทำ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ลักษณะสังคมนอกสายตาจากกฎหมายเหล่านนี้ เมื่อมาถึงต่างประเทศซึ่งไม่ใช่บ้านเกิดเมืองนอนของตนเขาจะมีสามัคคีมีความสัมพันธ์เกาะเกี่ยวกันดีมากสาเหตุอาจจะมาจาก ความว้าเหว่ เหงา หรือจากความกลัวก็เป็นได้บุคคลเหล่านี้อาจแฝงตัวตามชนบทในรูปของครอบครัว, ในสถาบันศาสนาสถานที่ต่างๆ, การใช่แรงงานสถานที่ต่างๆ ทั้งระดับแรงงานและระดับงานฝีมือ, สถาบันการเมือง(อยู่เบื้องหลัง) สถาบันราชการ(อยู่เบื้องหลัง) สถาบันการปกครอง(อยู่เบื้องหลัง)

อย่างเช่น นักการเมืองระดับสูงจากประเทศเพื่อนบ้านท่านหนึ่ง (ขอสงวนชื่อและสถานที่) เข้าไปซื้อที่กับพ่อหลวงบ้านท่านหนึ่งทีพื้นที่ทุรกันดารพัฒนาหมู่บ้านสร้างถนนหนทางโดยออกนามของพ่อหลวงและชาวบ้านปัจจุบันเขาได้เป็นสัญชาติไทยเต็มตัวแต่ตัวเขาไม่ได้อยู่เพียงอาศัยการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขาและลูกหลานเท่านั้น เทียบกับนายตำรวจท่านหนึ่งระดับผู้กำกับ (ขอสงวนชื่อ) ซื่อที่เช่นกันระยะห่างไม่ไกลไม่ใกล้กันซื่อมาเพื่อทำรีสอร์ทใช่อำนาจบาตรใหญ่ต่อชาวบ้านสุดท้ายก็อยู่ไม่ได้

ดังนั้นผมจึงตั้งชื่อชุมชนนี้ว่า กลุ่มชนเมืองนอกสายตาที่ท่าน ดร.อเนก เหล่าธรรมทัศน์ไม่ได้พูดถึง กลุ่มชนเมืองเหล่านี้สามารถล้มเศรษฐกิจของบ้านเมืองได้ เช่นไม่นานมานี้คนงานกัมพูชากลับบ้านกันได้สร้างความโกลาหลวุ่นวายให้การผลิตมากมายนี่แค่คนงานประเทศเดียวนะครับถ้ารวมกันหลายๆประเทศหนีกลับบ้านกันเศรษฐกิจไทยล้มแน่นอนทางด้านศาสนาจะด้วยเหตุผลใดก็ตามเขามีความปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนกันขึ้นและสร้างวัฒนะธรรมใหม่เกิดขึ้นตามแบบฉบับของเขาแต่หารู้ไม่ว่าวัฒนะธรรมแบบฉบับของเขาสร้างความปั่นป่วนให้วัฒนะธรรมของเจ้าของประเทศไปในด้าน ภาษา เครื่องนุ่งห่ม ความเชื่อ ความศรัทธา

ฉะนั้นถ้าในอนาคตอันใกล้นี้ AEC จะต้องเปิดแล้วปัญหา สามนคราประชาธิปไตยจะต้องรุนแรงกว่านี้แน่นอนจึงขอฝากผู้ทีเกี่ยวข้องให้ตั้งรับปัญหาเหล่านี้อย่างเหมาะสมต่อไป

นายสม จะเปา

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 590995เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2015 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2015 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท