ปรัชญาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภาวะผู้นำ ของ ศ. ระพี สาคริก (32)


ระวัง! ใหญ่ที่สุดคือเล็กที่สุด......สูงที่สุดคือต่ำที่สุด......และดีที่สุดคือแย่ที่สุดฯลฯ สิ่งนี้คือปรัชญาที่ควรจะอยู่ในรากฐานการปฏิบัติของบุคคลผู้ซึ่งชีวิตต้องการพัฒนารากฐานจิตใจให้มีอิสระ ถ้าจิตใจคนมีอิสระถึงระดับหนึ่งย่อมมองเห็นความจริงได้เองและนำปฏิบัติได้อย่างมีความสุข

แต่ถ้าจิตใจขาดอิสระ ทำให้การปฏิบัติเป็นไปได้ยากอีกทั้งผลการกระทำของตนย่อมหวนกลับมาทำให้เกิดความทุกข์อันเป็นผลแห่งกรรม ย่อมเป็นอันตรายแก่ชีวิตตนเองในอนาคตรวมทั้งสังคมซึ่งตนมีส่วนร่วมอย่างสำคัญที่สุด ...

ฉันนึกถึงข้อความประโยคหนึ่ง ซึ่งในอดีตเคยได้ยินบางคนปรารภให้ฟังว่า "ชีวิตคนเราซึ่งขึ้นไปอยู่ที่สูงแล้วเอาชนะใจตนเองได้ หากจิตวิญญาณความรักที่จะลงมาสู่ด้านล่างและนำปฏิบัติร่วมกับคนเดินดินอย่างมีความสุขชะรอยเราทั้งคู่คงจะทำบุญทำทานร่วมกันมาในอดีต ในชาตินี้ธรรมชาติจึงได้กำหนดให้เรามาพบกันและให้ความรักแก่กันและกันอีก"

จากบทความเรื่อง ปกากญอที่รัก 9 พฤษภาคม 2553

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญาระพี
หมายเลขบันทึก: 590384เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2015 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2015 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท