ไวรัสตับอักเสบซี รักษาให้หายขาดได้อย่างไร 7 : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


การเข้ารับการรักษาที่รพ.รัฐใหญ่ๆและมีชื่ออย่าง รพ.จุฬาลงกรณ์ ย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายๆ สำหรับคนที่ยังไม่เคยเดินทางไปติดต่อเพื่อขอใช้บริการ อาจจะเก้ๆกังๆ ด้วยทั้งจำนวนมากมาย และขั้นตอนที่เมื่อ 2 ปีที่แล้วยังไม่ทันสมัยเหมือนทุกวันนี้ การรับบัตรคิวยังใช้วิธีหยิบบัตรที่เสียบไว้ และรอเรียกอีกประมาณ 200 - 300 คิวกว่าจะถึง ดังนั้นการที่เคยใช้บริการ รพ.เอกชนที่มีเจ้าหน้าที่มากมายและทันสมัย อาจจะทำให้บางคนรู้สึกอึดอัด หงุดหงิด ในการรอคอยการเรียกในแต่ละจุด

คนไข้บางรายต้องมาตั้งแต่เช้ามืด บางรายเดินทางมาจากต่างจังหวัด ซึ่งไม่รุู้ขั้นตอนว่าจะต้องติดต่อตรงไหนก่อน กว่าจะได้รับการบริการก็อาจล่าช้าถึงบ่ายถึงเย็น บางคนถึงต้องบ่น ต้องเครียดต่อว่าเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการล่าช้า ผู้เขียนเองก็ไม่ต่างจากคนอื่นๆที่ต้องอดทน และเข้าใจในเจ้าหน้าที่ที่ต้องแบกรับข้อร้องเรียนต่างๆ จนดูเป็นปกติธรรมดา

ผ่านไป2ปี ทุกวันนี้ รพ. จุฬาลงกรณ์พัฒนาบริการได้อย่างรวดเร็วในขึ้นตอนการติดต่อรับบัตรคิวการใช้สิทธิ์ประกันสังคม จากที่เมื่อก่อนกว่าจะได้พบแพทย์ก็บ่ายสามโมงกลับบ้านก็เย็นเลยทีเดียว ทุกวันนี้ถ้าคนไข้ไม่เยอะเกินไปช่วงบ่ายก็ได้กลับบ้านแล้ว

กลับมาถึงขั้นตอนการรักษาอย่างเป็นทางการที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ ก่อนที่จะฉีดยา อินเตอเฟอรอนและยากินยาไรบาไวริน หมอให้ลองกินยาชนิดหนึ่งเพื่อตรวจสอบว่าวิตามินดีในร่างกายมีเพียงพอที่จะรับยาจริงๆได้หรือไม่ ซึ่งหมอก็ให้กินยาไป 15 เม็ด และนัดมาเจาะเลือดดูผลในครั้งต่อไป

เจ้าหน้าที่ที่ผู้เขียนประทับใจในบริการอย่างมากและจำได้ทุกวันนี้ก็คือ คุณปู ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผู้เขียนได้เข้ารับการรักษาที่รพ.จุฬาลงกรณ์ ได้ช่วยหลายสิ่งอย่างเหมือนผู้เขียนเป็นญาติเลยทีเดียว ซึ่งผู้เขียนจะนำเรื่องราวของเธอมาเขียนเป็นบันทึกเพื่อขอบคุณในความเอื้เฟื้อ ความมีเมตตาของเจ้าหน้าที่ท่านนี้ในบันทึกต่อๆไป

ส่วนคุณหมอประจำที่รักษาผู้เขียนตลอด 1 ปีที่ต้องฉีดยาจนครบและเจาะเลือดดูผลหลังจากนั้นอีกระยะหนึ่ง คือ นพ.เกรียงศักดิ์ เจริญสุข หลังรักษาผู้เขียนจนหายแล้ว คุณหมอท่านนี้ได้ย้ายไปอยู่ที่ รพ.พุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ตลอดการรักษาคุณหมอก็ได้ช่วยหลายสิ่งอย่างจนหาคำอะไรมากล่าวได้มากกว่าคำขอบคุณและจะนำมาเขียนในบันทึกใรครั้งต่อๆไปเช่นกัน

.................

19 พฤษภาคม 2558

พ.แจ่มจำรัส

หมายเลขบันทึก: 590344เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2015 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2015 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะคุณพ.

คุณยายมาส่งกำลังใจให้ค่ะ

สู้สู้นะคะ

ขอให้พี่แข็งแรงนะครับ มาชุมแพอย่าลืมบอก เดี๋ยวเราไปกินซาบูกัน

คนไข้ที่เคยไปใช้บริการรพ.เอกชน พอมารพ.รัฐก็จะอึดอัด รำคาญ ความล่าช้า ยืดยาด

คนไข้รพ.รัฐ กับ คนไข้รพ.เอกชน ก็มีความต่างกัน เจ้าหน้าที่ต้องอึดและอดทนทำงานหนักแต่เงินเดือนน้อยกว่าเอกชนอย่างเทียบไม่ติด พวกที่ยังอยู่ก็อยู่กันด้วยใจล้วนๆ

อีกทั้งด้วยตัวระบบที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้ระบบย่อยแต่ละระบบยืดยาด อันมาจากวิธีคิดของคนที่เปลี่ยนยากด้วยค่ะ

คุรพิชัยเป็นตัวอย่างคนไข้คุณภาพที่รู้จักโรค รู้จักการรักษา รู้ระบบเป็นอย่างดี ดิฉันชื่นชมคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท