การศึกษา เพื่อใคร หรือ เพื่ออะไร (กันแน่) ?




นอม โชมสกี้ ศาสตราจารย์กิติคุณของ MIT ซึ่งถือว่าเป็นนักปราชญ์ นักคิดที่รู้เรื่องการศึกษาและภาษาเด่นชัดที่สุดในอเมริกา เป็นทั้งนักวิชาการ ปัญญาชน และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง สุนทรพจน์และข้อเขียนต่าง ๆ อัดแน่นไปด้วย ข้ออ้างอิง ในคลิปนี้ ท่านได้ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยแอริโซน่า ในหัวข้อ "Education for Whom or for what" หรือ การศึกษาเพื่อใคร หรือ เพื่ออะไรกันแน่ ? วันที่ปาฐกถาคือ วันที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ 2012

เนื้อความทั้งหมดของคำบรรยายนอม โชมสกี้ โดยสรุปได้ฟันธงคำตอบ for whom or for what ? เน้นชัดเจนว่าารศึกษาเพื่อชนชั้นสูง (Elite) กลุ่มน้อย เพื่อคนกลุ่มน้อยที่ฉลาด และมีสิทธิ "พิเศษ" ส่วนคนกลุ่มใหญ่ที่เหลืออยู่ตามโรงเรียนอาชีวะ มันเป็นความพยายามของคนรวยที่จะดันให้ชนชั้นกลาง ๆ ออกไปแบบโง่ ๆ และเขา(คนรวย)ต้องทำให้แน่ใจได้ว่าประชาชนจะถูกกีดกันออกไปอยู่ชายขอบที่ยุ่งยากและลำบาก ทฤษฎีประชาธิปไตย เน้นไปที่ความคิดของ James Madison and Aristotle เขาได้อธิบายความคิดของทั้งสองคน ในข้อสรุปเดียวกัน แต่แตกต่างกันในวิธีการแก้ปัญหาของแต่ละคน บทสรุปของคนจน ซึ่งเป็นภาพตัวแทนคนส่วนใหญ่ ซึ่งจะมอบอำนาจลงคะแนนให้คนเพื่อจะแบ่งทรัพย์สินของคนรวย อริสโตเติลให้คำแนะนำว่า ให้ชนชั้นกลางทุกคนลดคุณภาพงานลง ส่วนความคิดของเมดิสันคือ ลดประชาธิปไตย เพื่อปกป้องชนกลุ่มน้อยเพื่อรักษาความร่ำรวยคนกลุ่มใหญ่เอาไว้ อำนาจส่วนใหญ่ได้อยู่ในมือและความรับผิดชอบของชนชั้นสูง (Elite)

กระแสความคิดที่ว่าการศึกษาที่เป็นของทุกคน ในความเป็นจริงแล้ว เป็นคำที่ชวนหลงใหลสำหรับคนจนโดยทั่วไปอย่างอัตโนมัติ สำหรับยุคศตวรรษที่ 19 ทำให้คิดถึงเกี่ยวกับ "เจตจำนงที่ดีในการล่า" (Good will Hunts) ความไฝ่รู้ที่ไม่เข้าท่าของของกลุ่มคนรวยชั้นสูง และคนงานหญิงในโรงงาน ซึ่งอ่านออกเขียนได้ ใช้กำลังแรงงานในโรงงาน เพื่อที่จะปีนไปสู่วัฒนธรรมสูงส่งของพวกเขา โดยสองความคิดนี้ไปคนละทาง นอมได้ตอบคำถามอีกว่า มันเป็นการทำเพื่ออะไร ประการที่หนึ่ง การศึกษาเหมือนกับน้ำบริสุทธิ์อยู่ในเรือที่ว่างเปล่า และเป็นเรือที่รั่วเสียด้วย เพราะฉะนั้น ไม่มีใครที่จะเรียนรู้ทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่าง
ดังนั้นกระแสความคิดอื่น ๆ เกี่ยวกับการสอน ควรเป็นอะไรที่ออกนอกกระแส ความคิดของนักเรียนควรจะเป็นกระบวนการออกจากมาจากความคิดตัวเอง และค้นพบด้วยตนเอง นอมได้เปรียบเทียบเด็กที่เรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการจำ องค์ประกอบของตารางธาตุ กับเด็กที่ ค้นพบวิทยาศาสตร์ด้วยตัวเขาเอง นักเรียนที่ไม่มีความสุขในการเรียนวิทยาศาสตร์เพราะมันยุ่งยากที่จะเรียนด้วยใจ และความที่อายุยังน้อยที่สุด การพิจารณาทางที่สอนที่เสียเวลา แต่ดีกว่าไร้ประโยชน์สำหรับความสนุกสนานและการค้นพบ เขาเปรียบเทียบ วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ที่แย่ในเนื้อหาโดยการเรียนผิดเวลา นักเรียนคนอื่น ๆ ที่เปิดเผยถึงวิทยาศาสตร์ในทางอื่น ๆ ในการสอนสามประการสำหรับดอกไม้ และต้องเดาว่า ส่วนประกอบเมล็ดพันธ์ จาการทำงานอย่างร่วมมือกัน จากการสอบสวนด้วยคำถามเพื่อที่จะหาคำตอบ นักเรียนอาจจะรู้สึกแปลแยกจากการเรียนวิทยาศาสตร์ แต่พวกเขาอาจะต้องการที่จะเรียนมากกว่าในโปรเจคนั้น ๆ เสียอีก

นอมบอกว่าการเมืองเขาสนใจเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนบนที่เป็นการเมืองและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นในอเมริกา ซึ่งเปลี่ยนแปลงการศึกษาด้วยการวิพากษ์ว่า หนึ่ง ระบบอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนองค์รวมของมุมมองเรื่องการศึกษา ที่มีแรงจูงใจในการเปลี่ยนสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรม เขาได้ติดฉลากประเภทของการศึกษาว่า การศึกษาซึ่งทำให้ผู้คนออกจากลมปาก การศึกษาซึ่งกีดขวางคนงานจากเสรีภาพ ความภาคภูมิ และวัฒนธรรมของเขา
นอมได้อธิบายผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงค่านิยมใหม่ ไปสู่การตลาดและการผลิต ทุ่มเทให้กับการสร้างความต้องการ

และการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคนิยม บริษัททางด้านพลังงาน และบริษัทรถยนต์ ได้เปิดให้มีการใช้พลังงานน้ำมันกันอย่างไม่บันยะบันยัง ซึ่งนำไปสู่ความล่มจมของสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่พบบ่อยมาก ๆ คือ พวกที่มีจิตวิญญาณและความคิดแบบปัจเจกชนนิยม เพราะว่า มหาวิทยาลัย ได้ริเริ่มใช้แรงงานราคาถูก ใช้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาได้สอนพวกปริญญาตรี ในชั้นที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ อาจพบว่ายุทธศาสตร์อาจดูดีในการประหยัดงบประมาณแต่ในเชิงลึกแล้วได้รับผลกระทบต่อคุณภาพขของการศึกษา ส่งผลให้เกิดการขึ้นค่าเล่าเรียนของการศึกษาที่ผ่านมา และโยงไปถึงความคิดที่ล้มเหลวในการปลูกฝังหลักการให้กับเยาวชน

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 590195เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2015 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2015 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมรู้สึกว่าความคิดของนอม โชมสกี้ ออกจะมาในแนวซ้ายหน่อยๆครับ

ผมคิดว่าความคิดของโนมเป็นเสรีนิยมที่ใช้ทฤษฎีวิพากษ์เป็นเครื่องมือ และจะออกไปในทางโพสโมเดิร์นด้วยซ้ำไป


ในวันหนึ่งเมื่อประมาณ 500 ปี ที่ผ่านมาในทวีปยุโรป ประวัติศาสตร์เล่มใหม่ได้เริ่มต้นขึ้น เข้าสู่ยุคที่ทะเลเป็นสีดำ ท้องฟ้ามืดมิดไปด้วยหมอกควันสีเทา เสียงเหล็กกระทบกันดังไปทั่วบริเวณท่าเรือ เหล่าขุนนางผู้ถือครองที่ดินได้ร่วมมือกับพ่อค้าและเปลี่ยนโรงนาเป็นเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ เหล่าทาสผู้ซื่อสัตย์ ทำงานท่ามกลางเสียงโหวกเหวกโวยวายด้วยความอ่อนล้าเหลือคณา เหล่านักปราชญ์ถูกจ้างเข้ามาดูแลควบคุมเหล่าทาสและเครื่องจักรโดยมีข้อเสนอเป็นค่าจ้างอันมหาศาล
วันหนึ่ง เหล่านักปราชญ์ก็ถูกปลุกขึ้นมาพร้อมฝันร้าย ปัญหานานับปการได้เร่งเข้ามาให้พวกเขาแก้อย่างไม่หยุดหย่อนในแต่ละวัน หลายคนเครียดหนัก หลายคนลาออกไปปลูกผัก หลายคนแจ้งต่อเหล่าขุนนางถึงความเป็นไปดังนั้น จึงได้มีการประชุมครั้งใหญ่ขึ้น หลังจากการหารือกันทั้งหลายฝ่าย จึงได้ข้อสรุปออกมาว่าต้องให้ความรู้แก่แรงงานซึ่งเข้ามาทำงาน หลังจากนั้นจึงมีการเปิดโรงเรียนทางวิชาการ อย่างเป็นทางการขึ้น
จากเดิมที่ต้องเดินทางรอนแรมไปพบปะพูดคุยกับนักปราชญ์เพื่อให้ได้ความรู้ ก็ไม่ต้องแล้ว ทุกคนสามารถเข้าเรียนได้โดยมีความรู้สำเร็จรูปให้กับทุกคน ความรู้ที่ป้อนให้กับเฟืองตัวใหม่ของเครื่องจักร ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อเจ้าของโรงงาน
พอทุกคนมีความรู้แล้วจึงมุ่งหน้าเข้าสู่โรงงานโดยหวังค่าตอบแทนอันมหาศาล ทิ้งเทือกสวนไร่นาการเกษตร มุ่งหน้าสู่ความหวังใหม่ เข้าไปเติมเฟืองที่เครื่องจักรไม่สามารถทำได้

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท