วัฒนธรรมการศึกษาแบบทุนนิยมมาตรฐาน


การปรับเปลี่ยนทุนนิยมเข้าสู่มาตรฐาน ส่งผลต่อการศึกษาเข้าสู่มาตรฐาน
ตามหลักแนวคิด "ระเบียบสังคม ระบบศึกษา" ซึ่งปรับไปตามความต้องการ
ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อเพิ่มกำไรสูงสุด จึงเกิดขึ้น

แต่เดิมการก่อตั้งโรงเรียนเพื่อสนองระบบทุนนิยมมีความประสงค์ประการแรก[1]
เพื่อทำลายความคิดสร้างสรรค์เด็ก เพื่อฝึกให้เป็นมนุษย์เศรษฐกิจ จึงเหลือ
เพียงเสียงเงียบทำตามคำสั่ง ละเลิกความสุข ไม่มีการทำตามความต้องการและ
ความสนใจของตัวเอง ประการที่สองคือ สอนทักษะในโรงงานสามประการคือ
การอ่าน(คำสั่ง) การเขียน (รายงาน) การคำนวณ (เพื่อชั่งตวงวัด)ได้ ประการที่
สามคือ การซึมซับเอาวัฒนธรรมอุตสาหกรรม โดยใช้บทบาทของครูที่จงรักภักดี
ต่อระบบอุตสาหกรรม โดยไม่ต้องการคนที่รู้ลึก รู้จริง มีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม
ต้องการครูแบบสมัครเล่นที่ถ่ายทอดความรู้พื้น ๆ ได้ นอกจากนั้นยังต้องพอเคารพได้
ประการที่สี่คือ พัฒนาทักษะอุตสาหกรรม ห้องและอุปกรณ์ในวัฒนธรรมจะคล้าย
โรงงาน การปฏิบัติจะมีเพียงอย่างเดียว เช่นมีระเบียบวินัย เงียบ การเรียนการสอน
ใช้การให้รางวัลและการลงโทษตามแบบจิตวิทยาแบบพาฟลอฟ เพื่อสร้างมนุษย์
เศรษฐกิจ เมื่อระบบอุตสาหกรรมใช้ผู้ชายจนหมด เลยหันมาใช้แรงงานหญิงที่ทำ
หน้าที่ครูตั้งแต่พันปี เปลี่ยนมาเป็นระบบโรงเรียนแบบโรงงานที่มาดูแลเด็กเล็กแทน
และความสำเร็จในยุคอุตสาหกรรม เป็นต้นแบบความสำเร็จ นักเรียนเป็นเพียงสินค้า
อุตสาหกรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งระบบอุตสาหกรรมมาถึงยุคปัจจุบันคือยุคมาตรฐาน

วิธีการก่อสร้างการศึกษาให้เป็นแบบมาตรฐาน[1]

ประการที่หนึ่ง คัดเลือกทักษะ และประสบการณ์แบบไหนที่จะสร้างให้เป็นมนุษย์อุตสาหกรรม
ประการที่สอง สร้างความมั่นใจว่าระบบนี้สอดคล้องกับระบบอุตสาหกรรมมาตรฐาน
ประการที่สาม พัฒนาเครื่องมือให้สอดคล้องกับระบบอุตสาหกรรมมาตรฐาน
ประการที่สี่ สร้างนักเทคนิคของระบบ เพื่อให้เข้าใจในการถ่ายทอดสอดสื่อมาตรฐาน
ประการที่ห้า สร้างสถานที่ในการฝึกอบรม และสร้าง "ครู" ขึ้นแทนการดูแลของแม่
และอุปโลกน์คุณค่าที่เกินจริง
ประการที่หก จัดเตรียมมาตรการกำกับที่จำเป็นเพื่อให้ดำรงระบอบนี้ให้นานแสนนาน

ผลของการสร้างมาตรฐาน ส่งผลต่อ การทำลายการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์และลงโทษเด็กด้วย
การทดสอบ[1]

การทำลายการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ มาจากฐานคติ ที่ว่าเด็กทุกคนมีกระบวนการพัฒนาที่เหมือนกัน
และมีอัตราเร็วเดียวกันตั้งแต่เกิดจนตาย ในรูปแบบเดียวกัน โดยทำลายความเป็นปัจเจกชนเสีย
วิธีการเหล่านี้ตรงข้ามกับความจริงคือมนุษย์นั้นมีความแตกต่างหลากหลาย มีความเฉพาะตัว ตั้งแต่
เกิดจนตาย การยกมาตรฐานหมายถึงการถูกทำให้ทุกสิ่งนั้นตายตัว การขจัดเด็กที่มีความสนใจส่วนตน
การเรียนการสอนที่เป็นระบบตายตัว ล้วนแต่ทำลายการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์โดยซื้อตัวเลขโดยทำลาย
ความคิดสร้างสรรค์ และความเป็นปัจเจกชนของผู้เรียน และถ้าตกมาตรฐานถือเป็นความล้มเหลว

ส่วนการลงโทษเด็กด้วยการทดสอบนั้น มีฐานคติที่ว่า การสอบนั้นเป็นการเครื่องมือในการวัดคุณลักษณะ
และวัดความสามารถ ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่ครอบคลุมทุกมิติ และไม่สามารถวัดความสำเร็จจจน
ไปถึงอนาคตได้ ซึ่งทักษะในการวัดมีอยู่หลายประการมาก การที่วัดนั้นหมายความว่า คนนี้คนนั้นวัดว่ามี
ทักษะด้านนั้นด้านนี้เท่าไรเท่านั้น เช่นการวัดสมรรถภาพร่างกายได้ระดับสูง ก็ไม่ได้บ่งบอกว่าจะเป็นช่างศิลป์
ที่ดี นอกจากนั้นคุณลักษณะของคนที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ คุณธรรม แรงจูงใจ
ซึ่งมีความซับซ้อนมาก ไม่มีรากฐานทางทฤษฏีใดสามารถสร้างเครื่องมือวัดมาตรฐานแบบนี้ได้ และก่อให้
เกิดธุรกิจเกี่ยวกับการสอบแบบมาตรฐานนี้ เช่นหนังสือเตรียมสอบ ติวเตอร์ ผลเลวร้ายแบบสุด ๆ คือ
คือการทอน(degrad)ฐานะของเด็กจำนวนมากที่เบี่ยงเบนจากบรรทัดฐานของผู้สอบ ถูกตรีตราว่าบกพร่อง
ทำลายความมั่นใจ ภูมิใจ และควบคุมด้วยการลงโทษ ผลสุดท้ายคือการบ่มเพาะทำให้เกลียดวิชาการไปทั้งชีวิต
และบ่มเพาะเมล็ดพันธ์แห่งความขัดแย้ง

นอกจากนั้นแล้วสิ่งที่เรียกว่ามาตรฐานได้สร้างความเป็นอื่นในสังคมไทยจากเดิมที่ความรู้นั้นชุมชนสามารถควบคุม
ความรู้และวิถีชีวิตตนเองได้[2]ได้กลายเป็นความไร้ค่าเมื่อเกิดวาทกรรมของ "ความทันสมัย" (modernization)
และ "ความศิวิไลท์" (civilization)อันเป็นรากฐานของทุนนิยมมาตรฐาน ซึ่งผลิตซ้ำสิ่งที่เรียกว่าวาทกรรมแบบผู้ใหญ่ลี
คือทางการเขาสั่งมาว่า และโครงการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งมีธงสำคัญดังที่ จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ได้อธิบายไว้ว่า

"ด้วยความที่โรงเรียนกลายเป็นแหล่งการศึกษาหลักมากว่าศตวรรษ และประชาชนก็จำนนต่อการเดินเข้าโรงเรียน
-เรียนหนังสือ-ทำการบ้าน-สอบ เหมือนโรงงาน เราจึงได้เห็นภาพความเคลื่อนไหวของการประเมินคุณภาพมาตรฐาน
สถานศึกษาที่สร้างความตื่นตัว/ตื่นตูมทั้งเด็ก ครู ผู้บริหาร ตลอดจนทุกสิ่งทุกอย่างที่โรงเรียนทำ และต้องทำเพื่อ
รับการประเมินมาตรฐานจนหนึ่งเสมือนว่า นั่นคือวิถีทางของการพัฒนาที่รัฐ/ตัวแทนรัฐที่สวมศักดิ์เป็นผู้ตรวจการ

ในทำนองเดียวกัน เพื่อให้โรงเรียนหรือแม้แต่สถาบันอุดมได้รับการรับรองว่าจัดการศึกษาได้ดีจริง โรงเรียนจึงต้อง
มีระบบประกันคุณภาพภายใน ที่เข้มตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ (หลักสูตร) /มาตรฐานทบวง
ควบคู่กับกระบวนการเตรียมการรองรับการประกันคุณภาพภายนอก ที่จะมีขบวนทัพของผู้ประเมินภายนอกจำนวน
หนึ่งมาติดตาม ตรวจวัดและประเมินคุณภาพมาตรฐานสถานศึกษานั้นๆ ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานที่สมศ.กำหนดจาก
การประมวลองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง

...สถานศึกษาที่แทบสูญสิ้นอำนาจอย่างสิ้นเชิง ที่น่ากลัวสุดคือมันกำลังจะทำลายความหลากหลายอัตลักษณ์และ
ตัวตนทางวัฒนธรรม ตลอดจนวิถีทางสังคม วัฒนธรรม และการศึกษา ซึ่งทำให้ที่เหลือคือ "ชายขอบ"
ทั้งๆ ที่กระแส
ความคิดในยุคหลังสมัยใหม่ได้เปิดมิติของการพัฒนาที่ไม่เน้น "ความเหมือน" แต่เชื่อในความต่าง สลับซับซ้อนที่
ไม่อาจหาความเหมือนได้ และมโนทัศน์ที่ถือ "ความเป็นอื่น" เป็นความงามที่ความแตกต่าง (Difference) เป็นความ
หลากหลาย (Diversity) ตลอดจนการเน้นคุณค่าและศักดิ์ศรีในมนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ชายขอบหรือไม่ก็ตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้
ควรถูกชูให้เด่นเพื่อเรียนรู้ และควรไปแทนที่วิถีทรรศ์เชิงเดี่ยวที่เคยถมทับท้องถิ่นจนแทบ "ไร้ที่อยู่ ไม่มีที่ยืน" หรือ
มากกว่าจะสร้าง "ความแยกแตก" (fragmented) ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น"

(ยังมีต่อ)

[1]ชัชชัย คุ้มทวีพร (มปป.)การใช้ศีรษะเดินต่างเท้าของการศึกษาไทย ใน http://www.academia.edu/5176552/%E0%B9%8D%E0%B8%81...

[2]ุจุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ มาตรฐานการศึกษากับการสร้างความเป็นอื่น ใน
http://v1.midnightuniv.org/miduuu/newpage34.html


หมายเลขบันทึก: 589934เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2015 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2015 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท