วัฒนธรรม การรับน้องของอุดมศึกษาแบบไทย ๆ



วัฒนธรรมหรือระบบความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม ไม่ว่าสังคมไหนก็จะมีระบบโครงสร้าง
ความสัมพันธ์ที่แปลกแตกต่างกันไป มนุษย์ต้องการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นในสถานภาพและ
บทบาทต่าง ๆ จึงมีคำสรุปจากการศึกษาเชิงสังคมวิทยา ไว้ว่าเราเป็นสังคมแห่งระบบอุปถัมป์
สังคมที่เอื้อเฟื้อกันด้วยชนชั้น รุ่น และ ผลประโยชน์ ดังนั้นมนุษย์ในสังคมที่มีความได้เปรียบ
เสียเปรียบกัน ด้านโอกาส กับ ด้านสถานภาพทางสังคม มีแนวโน้มที่จะชื่นชอบระบบความสัมพันธ์
ที่ตนเองได้เปรียบอยู่ ให้มีโอกาสได้เปรียบตลอดไป

ดังนั้นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมเช่น การเรียน วปอ. ไม่ได้เป็นแค่การเรียนหนังสือเพื่อรับ
ใบปริญญาบัตร เพียงอย่างเดียวแต่เนื้อแท้คือการคอนเน็กชั่น ของชนชั้นสูงทางด้านเศรษฐกิจ
สังคม ได้เข้ามาเป็นสัมพันธ์กัน ความรู้สึกเป็นรุ่นเดียวกันมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมี
หลาย ๆ หลักสูตรที่ต้องการคอนเนกชั่น ไปพร้อม ๆ กับการเรียนหนังสือตามปกติ

แล้ว ปรากฎการณ์การรับน้องทั้งที่เป็นข่าวรุนแรงบ้าง ที่ปกปิดข่าวไว้ได้มิดชิดอีกจำนวนมาก
โดยเฉพาะการรับน้องของสถาบันอุดมศึกษา นั้นตั้งฐานความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ที่คนมาก่อน
หรือรุ่นพี่มีอำนาจเหนือรุ่นน้อง หรือระบบโซตัส ที่มีเนื้อหาคือ ระบบอาวุโส ระเบียบวินัย ประเพณี
ความสามัคคี มีจิตวิญญาณ เมื่ออ่านโครงสร้างไวยากรณ์แล้ว ก็จะเหลืออย่างเดียวคือความสัมพันธ์
เชิงอำนาจนั่นเอง ความรุนแรงและการกระทำจริงหรือสร้างสถานการณ์ก็แล้วแต่ เป็นสัญญะที่บ่งบอก
ว่าความสัมพันธ์ทางอำนาจเป็นเรื่องปกติธรรมดา ยิ่งวิเคราะห์โครงสร้างไวยากรณ์แล้วเป็นไวยากรณ์
ทุนนิยมที่ว่า "เชื่อฟัง จำได้ และ ทำตาม" เหมือนกับระบบการศึกษาระดับประถมมัธยมแบบเดียวกัน
เป๊ะเลย แถมยังคล้ายการผาจ้านช้างอย่างได อย่างนั้น

โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยปิดทั้งหลายที่จำกัดรับ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีศิษย์เก่าที่เป็นรุ่นพี่
ที่มีสถานภาพและบทบาทในแวดวงสังคม และแวดวงผลประโยชน์ สามารถตัดสินเรื่องการทำงาน
ในอนาคตด้วย ก็ยิ่งมีระบบโซตัสที่เข้มแข็ง มีงานวิจัยหลายปีมาแล้วชี้ชัดว่า บุคคลส่วนใหญ่ที่สามารถ
เข้ามาเรียนต่อมหาวิทยาลัยปิดได้ เป็นชนชั้นกลางค่อนข้างสูงถึงชนชั้นสูงด้วย มีฐานะทางเศรษฐกิจดี
เป็นคนเก่งตามแบบฉบับทุนนิยม คือ มีโอกาสเข้าถึงการติว เข้าถึงข้อสอบ ต้องการผลิตซ้ำฐานะทาง
เศรษฐกิจและสังคม ทำให้เต็มไปด้วยการคอนเน็กชั่น และการผลิตมนุษย์บริโภคนิยมแบบเฟิร์สคลาส
ทั้งนี้รวมทั้งมหาวิทยาลัยเปิดและมหาวิทยาลัยเอกชนด้วย ที่ผลิตซ้ำตัวแบบชนิดนี้

พิธีกรรมการรับน้อง จึงเป็นของไม่แปลกในระบบความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันทั้งระบบของการศึกษา
และการทำงาน ในการยอมรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบนี้ เป็นการศึกษาเรียนรู้เชิงสังคมและ
วัฒนธรรม ปกติของความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมป์ จึงมีวัฒนธรรมการฝากเด็กที่มีความสามารถน้อยเข้า
ทำงาน การรับคนเข้าทำงานเป็นอาจารย์มาจากรุ่น จากสถาบันเดียวกัน จากนามสกุลรุ่นพี่ในสถาบัน
เป็นวัฒนธรรมติดตามมา โดยมีระบบคิดสำคัญที่สุดที่ผลิตซ้ำก็คือ อุดมการณ์อำนาจนิยม ที่เชื่อว่าอำนาจ
สามารถแก้ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างได้ ดังนั้นระบบสังคมเราจึงเป็นอย่างที่เราเห็น และสืบทอดระบบความ
สัมพันธ์ที่เป็นอัตลักษณ์แบบไทย ๆ นี้ไปตลอด โดยเป็นปกติธรรมดา แนบเนียน จนรู้สึกเฉย ๆ แม้กระทั่ง
เด็กกระโดดตึก ผูกคอตาย จมน้ำตาย ฯลฯ เนื่องมาจากการรับน้อง ก็ไม่มีทีท่าว่าจะทำให้ระบบนี้สะเทือนแต่
อย่างใด ดังนั้น การหาความหมายจากมหาวิทยาลัยของหลาย ๆ ท่าน ก็เพื่อคอนเนกชั่น ให้เกิดความได้
เปรียบในระบบเศรษฐกิจและสังคมแบบนี้ต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #รับน้อง
หมายเลขบันทึก: 589878เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2015 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2015 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การว้ากน้องจริงๆแล้วสืบทอดความคิดแบบเผด็จการกับระบบอุปถัมภ์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท