ป๋ะป๋า
นาย เฉลิมศักดิ์ วิโสจสงคราม

ย้อนรอย "ข้าวปนเปื้อน" เพื่อกินข้าวอย่างปลอดภัยยั่งยืน


บทความ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

ย้อนรอย "ข้าวปนเปื้อน" เพื่อกินข้าวอย่างปลอดภัยยั่งยืน

จากหนังสือ ชีวจิต เล่ม 358หน้า 62-64

ข้าวที่เรากินอยู่ ปนเปื้อนอะไรอยู่หรือไม่.. ?

"เชื่อว่า ในช่วง 2 - 3 เดือนมานี้ ข่าวที่สร้างความช็อกแก่คนในสังคมและสั่นสะเทือนไปทั้งวงการอุตสาหกรรมข้าวคงหนีไม่พ้นกระแสการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องข้าวปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งตอนนี้หลายคนอาจจะกำลังเกิดอาการตื่นตระหนัก และสับสนกับกองภูเขาข้อมูลที่พรั่งพรูมาจากหลายทิศทางชีวจิตเองก็ไม่พลาดประเด็นร้อนนี้เช่นกัน จึงหาโอกาสร่วมพูดคุยกับ คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี ( Biothai) เจ้าหน้าที่จากเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อเคลียร์ใจต่อทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับข้าวไทยที่ทุกคนควรรู้ ซึ่งอาจจะเป็นข้าวที่อยู่ในจานตรงหน้าตอนนี้ก็เป็นได้"

ทำไมต้องรมควันข้าว

"ย้อนกลับไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2554 หลังการประกาศให้มีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ทำให้ชาวนาไทยส่วนใหญ่นำผลผลิตของตนมาเข้าโครงการอย่างล้นหลาม โดยโรงสีที่อยู่ในโครงการจะรับจำนำข้าวในรูปแบบข้าวเปลือก แล้วแปรสภาพให้เป็นข้าวสาร หลังจากนั้นข้าวทุกเม็ดจะถูกนำไปเก็บในไซโลหรือโกดังเก็บของโรงสี โดยเพื่อความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้ถูกรบกวนจากแมลง ในระหว่างที่เก็บรักษาทางโรงสีจึงต้องรมควันข้าว ซึ่งการรมควันนี้จะใช้สารที่ได้รับการอนุญาตจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( FAO)โดยปกติจะรมควันกันทุกๆ 6 เดือน แต่เมื่อปริมาณข้าวในโกดังถูกเก็บไว้เป็นระยะเวลานานและสถานที่จัดเก็บอาจจะไม่ดีนัก จึงต้องเพิ่มการรมถี่ขึ้นเป็น 2 เดือนต่อครั้ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพข้าวจากโกดังรัฐ ทำให้ทั้งสีและกลิ่นลดลงไปด้วย"

มารู้จักสารรมควันข้าวกันก่อน

"สารรมควัน คือ สารที่ทำอันตรายต่อแมลงและศัตรูพืช โดยก๊าซที่ระเหยออกมาจะมีพิษอย่างเฉียบพลันต่อระบบหายใจ จึงนำมาใช้ประโยชน์เพื่อควบคุมหรือกำจัดแมลง หนู รวมถึงสัตว์ที่อยู่ในดิน (อ้างอิงจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) โดยส่วนใหญ่สารที่ใช้ในการรมควันข้าวมี 2 ชนิด คือ สารฟอสฟีนและเมทิลโบรไมด์

จากความกังวลสู่การตรวจสอบ

"หลังจากที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องข้าวปนเปื้อนกันมาอย่างหนาหูก่อให้เกิดความกังขาในหมู่ประชาชน ซึ่งในการตรวจสอบการปนเปื้อน ประชาชนทั่วไปอย่างเราๆ ก็สามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน
วิธีการแรก คือ การส่งตัวอย่างข้าวไปตรวจในห้องแล็บ ซึ่งคุณปรกชล อธิบายให้ฟังว่า
เราสามารถส่งตัวอย่างข้าวที่ต้องสงสัยไปตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการที่ผ่านมาตรฐาน ISO 17025 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นห้องปฏิบัติการเฉพาะที่รับตรวจสารเมทิลโบรไมด์ โดยมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบขั้นต่ำ 2,800 บาทต่อหนึ่งตัวอย่าง ซึ่งในการตรวจสอบ ทางห้องปฏิบัติการจะใช้การวิเคราะห์หาโบรไมด์ไอออน โดยเริ่มจากนำตัวอย่างข้าวไปทำการย่อยสลายด้วยด่าง แล้วนำไปเผาไฟที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นนำตัวอย่างที่ได้ไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีชนิดอื่น จึงจะสามารถนำมาตรวจหาโบรไมด์ไอออนได้
ส่วนอีกวิธีที่ทำง่ายและสะดวก คือ การเข้าไปตรวจสอบรายชื่อยี่ห้อข้าว และปริมาณที่ปนเปื้อนที่ http://www.biothai.net ซึ่งทางมูลนิธิชีววิถีและเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รวบรวมรายละเอียดของการตรวจสอบข้าวทุกยี่ห้อและข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคไว้บนเว็บไซต์ทั้งหมด"

เคล็ดลับ เลือกข้าวปลอดภัย สบายใจทุกคำที่กิน

"ถึงตรงนี้ ผู้อ่านหลายคงเกิดอาการตกใจจนอาจจะตัดสินใจลำบากในการเลือกซื้อข้าวสารเข้าบ้านหรือไม่กล้าซื้อผักผลไม้จากร้านหน้าปากซอย เพราะเกรงว่าจะมีสารเคมีเจือปนจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้น ชีวจิต จึงเตรียมทางรอดที่จะช่วยให้คุณสามารถกินข้าวอย่างสบายใจ แถมยังปลอดภัยต่อสุขภาพอีกด้วย เอาเป็นว่า ไม่ต้องคิดมากอีกต่อไปแล้ว

สุขภาพเป็นเลิศด้วยข้าวกล้อง

"ทางรอดที่น่าสนใจและดีต่อสุขภาพอีกทางหนึ่งที่ ชีวจิต แนะนำคือ การหันมากินข้าวกล้อง เนื่องจากข้าวกล้องเป็นข้าวที่ผ่านการกะเทาะเอาเปลือกนอกออกเพียงชั้นเดียว เมล็ดข้าวจึงยังมีเปลือกหุ้มเมล็ดติดอยู่ซึ่งส่วนมากจะมีสีเหลืองอมน้ำตาลอ่อนๆ ดังนั้น ข้าวกล้องที่เหมือนมีเกราะป้องกันตัวจากศัตรูข้าวตามธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้การรมควันเหมือนข้าวขาวที่ผ่านการขัดสีแล้ว อีกทั้งข้าวกล้องไม่ได้เป็นข้าวที่อยู่ในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล จึงไม่ได้ถูกเก็บอยู่ในโรงเก็บนานๆ เพราะฉะนั้นข้าวกล้องจึงเป็นอีกทางเลือกที่จะทำให้คุณผู้อ่านปลอดภัยจากสารเคมี

ผูกสัมพันธ์กับร้านเกษตรอินทรีย์

"ทางรอดสุดท้ายคือ การเลือกซื้อจากสถานที่จัดจำหน่ายที่ไว้วางใจได้ แต่บางครั้งผู้อ่านหลายท่านอาจไม่ทราบว่าจะสามารถหาซื้อข้าวปลอดภัยได้ที่ไหนบ้าง คำตอบคือ จากร้านขายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์นั่นเอง ดังนั้น ชีวจิต จึงรวบรวมรายชื่อร้านค้าสีเขียวและกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่จำหน่ายข้าวอินทรีย์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย การจะกินข้าวให้ปลอดภัยอย่างยั่งยืนนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย รับรองว่าต่อไปนี้ เราจะกินข้าวได้อย่างสบายใจมากขึ้น แถมยังกินแบบฉลาด หุ่นดี อ่อนเยาว์ และอายุยืนอีกด้วย ถึงคราวโบกมืออำลาข้าวปนเปื้อนเป็นการถาวร..."

อาจารย์เฉลิมศักดิ์วิโสจสงคราม

สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 589560เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2015 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2015 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you.

There are other alternatives like: grow your own rice (for those who have land); buy rice in husk (paddy rice) and mill your own before cooking; (individually or collectively) enter into a contract with (local) rice growers directly (bypassing middlemen and millers);...

I would prefer 'local contract buying' (of rice and other produces). It serves to improve quality and livelihood of growers and us at the same time.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท