ว่าด้วยทักษะ "Critical Thinking" ในทักษะศตวรรษที่ 21 (3)


จิตวิญญาณของ "Critical Thinking" อยู่ตรงไหน ?

จิตวิญญาณของ "Critical Thinking" อยู่ที่ "ท่าที" และ "ญาณวิทยา"

"ท่าที" คืออย่างไร ? ท่าทีคือปฏิกริยาอาการต่อ "Critical Thinking"

ท่าทีแรก คือ ท่าทีต่อการมองปรากฎการณ์ ข้อเสนอ ความรู้ ความจริง
ว่า ปรากฎการณ์บางอย่างเป็นปรากฎการณ์ผิวหน้า ที่เรามองเห็นได้
แต่ปรากฎการณ์ที่นำเสนอมา อาจไม่ใช่ความเป็นจริง ข้อเท็จจริง หรือ
อาจมีข้อมูลข้อเท็จจริงเพียงครึ่งเดียว หรือมีข้อเท็จจริงที่มีเบื้องหลัง
ปรากฎการณ์นั้น ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อน

ท่าทีที่สอง คือ ท่าทีต่อความพยายามที่จะทำความเข้าใจปรากฎการณ์
ที่อยู่เบื้องหลังนั้น ๆ ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ผิวหน้าซึ่งเป็นตัวแสดงแทน
เสมือนหน้ากาก และเบื้องหลังหน้ากาก ในมิติแห่งการวิเคราะห์แยะแยะ
ออกมาเป็นส่วน ๆ และวิเคราะห์การเชื่อมโยงหน่วยย่อย ๆ นั้นมีความสัมพันธ์
กับหน่วยย่อยอื่น ๆ อย่างไรบ้าง

ท่าทีที่สาม คือ ท่าทีต่ออำนาจ หน่วยสำคัญที่สุดของความเข้าใจต่อ
ปรากฎการณ์ต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ต่ออำนาจอย่างไร ในลักษณะใดบ้างก่อ
ให้เกิดความนิ่งในการอนุรักษ์นิยม หรือผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ทั้งอำนาจและอิทธิพลในโครงสร้าง ภายใต้ปรากฎการณ์นั้น ๆ และสิ่งสำคัญ
ที่สุดก็คือ อำนาจในความรู้ ความรู้เป็นโครงสร้างด้านบนที่มีผลต่อการกระทำ
ซึ่งมีความสลับซับซ้อน

ท่าทีที่สี่ คือ ท่าทีต่องานวิพากษ์มีสมมุติฐานวางานอะไรที่เป็นกลางและไม่มีอคติ
ไม่ปรากฎอยู่ในโลก งานทุกอย่างรวมทั้งงานวิทยาศาสตร์เป็นงานที่ไม่เป็นกลาง
และมีอคติด้วยกันทั้งสิ้น ท่าทีความสำคัญของการวิพากษ์เป็นการปลดปล่อย
มนุษย์ ออกจากมายาคติ ออกจากอคติ ทั้งหลาย

ญาณวิทยา "Critical Thinking" เป็นวิธีการหลักทางปรัชญา ตั้งแต่สมัย
เพลโต ลงมาจนถึง โพสโมเดิร์น เครื่องมือที่สำคัญได้แก่

1. การตั้งคำถามต่อปรากฎการณ์ เป็นวิธีการแรก ๆ ทีมนุษย์ใช้แสวงหาความรู้
ตรวจสอบความรู้ หรือบางคนอาจเรียกว่า "ทนายฝ่ายมาร" ก็ย่อมได้ ตั้งแต่เพลโต
ลงมาจนถึง ฟูโกต์ ก็เป็นทนายฝ่ายมารทั้งนั้น เพลโตได้กล่าวถึงไดอะแลคติคผ่าน
การเล่าเรื่องของ โสกราตีส โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

1.1) สงสัย (Sceptical) ความสงสัยเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ การยอมรับอะไรง่าย ๆ
โดยไม่ได้คำถามและตั้งข้อสงสัยเสียก่อน จึงไม่เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา
1.2) สนทนา (Conversational) การสนทนาหรือไดอะล็อก ก็ประกอบด้วยคำถาม
และการแสวงหาคำตอบ และการตรวจสอบคำตอบนั้นด้วยคำถามต่อไป จนกว่าจะ
ได้คำตอบที่ชัดเจน
1.3) หาคำจำกัดความ (Definitional) การหาคำนิยาม หรือ คำจำกัดความ นั้นเป็น
การแสวงหาความจริงด้วยการนิยามความหมาย ปัจจุบันการต่อสู้กันทางวาทกรรม
ก็มีรากฐานมาจากการช่วงชิงการนิยามความหมาย
1.4) อุปนัย (Inductive) คือการนำเอาข้อมูลจากการผ่านข้อสงสัย ตั้งคำถาม และ
การสนทนา นำมาสรุปเป็นชุดความรู้
1.5) นิรนัย (Deductive) คือการเชื่อว่าความรู้ที่ถือว่าเป็นจริงนำมาวินิจฉัย ความรู้ไหม่
ที่นำมาวินิจฉัยย่อมเป็นแบบเดียวกันกับความจริง ความรู้ ที่ตั้งเป็นสัจจะเอาไว้

จะว่าไป การวิพากษ์หรือ ไดอะแลคติก นั่นก็คือรากฐานของวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

ตอนต่อไป มาดู "ญาณวิทยา" ของ ""Critical Thinking" ของคนอื่น ต่อไปครับ



คำสำคัญ (Tags): #critical thinking
หมายเลขบันทึก: 589269เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2015 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2015 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท