มายาคติของนักเรียนที่ดี ตอนที่ 4



3. การขาดหายไปของกลุ่มกลางๆ (The complete lack of middle ground)

วาทกรรม (discourse) ที่รอบล้อมอัตลักษณ์ของนักเรียนจะแบ่งเป็นคู่ มันดูราวกับว่า นักเรียนจะอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง (ดี กับ ไม่ดี) ในสังกัป (concept) เหล่านั้น จะมีความเด็ดขาดทางจริยธรรม (moral absolutism) ซึ่งเป็นผลจากการจัดการชั้นเรียน ที่ไม่ได้สะท้อนความจริงหรือสถานการณ์ใดๆ จริงๆแล้ว สถานการณ์ตามความเป็นจริง ต้องใช้ผู้สังเกต (ครู หรือ คนอื่นๆ) เพื่อที่จะมาให้คุณค่า (value judgment) ในเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของปัจเจกบุคคล โดยการตีความที่เป็นอัตนัยในเรื่องพฤติกรรม (subjective interpretation of behavior)

สังคมส่วนใหญ่ หรือแม้แต่สังคมที่ยังยึดอยู่กับลัทธิและหรือศาสนา ก็ยังมีระดับความคิดแบบสัมพัทธ์ (relativism) ในเจตคติทางวัฒนธรรมกับสังคมอยู่ (สัมพัทธนิยม (Ethical Relativisim) เป็นกลุ่มที่เห็นว่า ค่าทางจริยธรรม คือ ความดี หรือ ชั่วนั้นไม่ใช่สิ่งตายตัว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือปัจจัยอีกหลายอย่าง ) แล้วทำไมถึงไม่มีส่วนที่อยู่ตรงกลางหละ?

สิ่งที่กวนใจฉันมากที่สุดในการสนทนากับชั้นที่มีอายุเพียงแค่ 13 ก็คือว่า พวกเขาถูกล้างสมองให้เชื่อ ความดี และความชั่วเสียแล้ว ฉันรู้ว่าทัศนะเกี่ยวกับชีวิตจะผันแปรไปตามอายุ แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าพวกเขามีทั้งแนวคิดเรื่องความดีความชั่วอยู่นี่สิเป็นปัญหา

ฉันพยายามที่จะรวบรวมสิ่งเหล่านี้ในไดอะแกรม ไดอะแกรมนี้คือความคิดที่ว่าในช่วงการสอน นักเรียนสามารถที่จะวางตนเองในไดอะแกรม ที่ใดก็ได้ เราจะเริ่มจากตรงกลางก่อน แล้วหมุนทางขวานะครับ 1. ให้ความใส่ใจ (great focus) 2. มีอารมณ์ดี (in the right mood) 3. อยู่ในช่วงของการผลิต (a state pf productivity) 4. พฤติกรรมที่ไม่ดี (bad behavior) 5. เกรดไม่ค่อยดี (terrible grades) 6. มีการทำลายล้างสุดๆ (total distraction) 7. อยู่ในอารมณ์ที่ไม่ดี (in the wrong mood) 8. รู้สึกขี้เกียจ (a state of laziness) 9. พฤติกรรมดี (good behavior) 10. เกรดยอดเยี่ยม (excellent grades)

ไดอะแกรมนี้ยังไม่ดีนัก แต่ก็ดีกว่าที่เป็นรูปแท่ง (bar chart) ประเด็นด้านบวกรวมเข้าด้วยกัน เพราะว่าพวกนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดร่วมกัน ถ้าคุณอยู่ทางด้านขวา ที่เหลือก็จะง่ายขึ้น และเหมือนกับคุณอยู่ทางซ้าย ก็เป็นเช่นกัน

นักเรียนส่วนใหญ่จะวางตนเองไว้ที่ใกล้จะถึงจุดสุดยอดในครึ่งวงกลม (คืออยู่ในช่วง เกรดดี และมีอารมณ์ดี) บางคนอาจอยู่ตรงกลาง แต่ส่วนที่น้อยจะอยู่ด้านล่าง อย่างไรก็ตามก็มีส่วนน้อยจริงๆที่จะเป็นพวกสุดขั้ว (extremes) แต่โดยทั่วไปแล้ว พวกเราจะอยู่ตรงกลาง สิ่งนี้คือข่าวสารที่ฉันต้องการจะบอกพวกครูว่า การสอนให้นักเรียนของเราอดทนต่อสิ่งต่างๆที่ไม่สมบูรณ์เป็นสิ่งที่น่าทำ

พวกเราทั้งหมดเป็นปัจเจก และพวกเราทั้งหมดมีความแตกต่าง เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ เรายอมรับความไม่สมบูรณ์ของแต่ละคนได้ และเราก็ไม่เคยนิยามตัวเองด้วยฉลากแบบมั่วๆ (arbitrary label) ว่าฉันเป็นคนดี เธอเป็นคนเลว นั่นเพราะเรายอมรับเสียแล้วว่า เรามีจุดแข็ง และมีจุดอ่อน, มีภูมิหลังแตกต่างกัน และมีความสนใจต่างกัน เรามาอยู่ร่วมกันด้วยในสภาวะตรงกลาง ทำงานร่วมกัน, เรียนด้วยกัน, เริ่มต้นความสัมพันธ์ และกระทำให้เป็นสังคมร่วมกัน (socialize) ในบางกรณี การที่เราอยู่ตรงกลางนี้แหละจะเป็นสิ่งที่เราปฏิบัติได้ในชั้นเรียน

ฉันคิดว่าคำสุดท้ายที่จะได้ยิน เป็นคำสนทนาระหว่าง Joao กับ ฉัน ที่ถามคำถามฉันในช่วงเวลาสุดท้ายของการเรียน

Joao : ครูครับ ผมเป็นตัวตลกของห้องหรือเปล่าครับ

Teacher: ทำไมเธออย่างนั้นหละ

Joao: ฉันคิดว่าบางทีจะใช่ก็ได้ครับ

Tacher: เอาหละ ทำไมเธอคิดอย่างนั้นหละ

Joao: เพราะว่าผมไม่เคยเงียบ และผมเล่นมาก และชอบทำตลก

Tacher: นั่นเป็นสิ่งที่เลวเหรอ

Joao: บางที ก็อาจใช่ครับ

Tacher: ทำไมหละ

Joao: เพราะว่าผมได้เกรดที่ไม่ดีเลย

Tacher: เอาหละ ถ้าคุณเป็นตัวตลกของห้อง และได้เกรดดี นั่นแหละเป็นปัญหา แต่มันไม่ใช่ปัญหาหรอก

Joao: ฮืม ครูครับ ผมไม่อยากเป็นนักเรียนที่ไม่ดีเลย

Tacher: แต่ฉันไม่คิดว่าเธอเป็นเด็กเลวเลยนะ

Joao: ผมจะลองทำเป็นนักเรียนที่ดีดู

หนังสืออ้างอิง

David Petrie. (2014). The Myth of the Good Student. http://teflgeek.net/2015/01/15/the-myth-of-the-good-student/


หมายเลขบันทึก: 589228เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2015 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2015 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท