ชีวิตที่พอเพียง 2393a. ศรเนตรยิงต่อมฮอร์โมนแห่งความรักและผูกพัน


ผมขอย้ำคำ "co-evolution" สุนัขเลี้ยงกับคนมีวิวัฒนาการร่วมกัน วิวัฒนาการจากปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านชีววิทยาเกี่ยวกับความรักและผูกพัน

ชีวิตที่พอเพียง 2393a. ศรเนตรยิงต่อมฮอร์โมนแห่งความรักและผูกพัน

ผลงานวิจัยตาม บทความนี้ บอกว่าแววตาของสุนัขยามจ้องตาเจ้าของ มีพลังมาก สัมผัสแววตาสุนัข จะทำให้วงจรฮอร์โมนแห่งความรัก (oxytocin pathway) ของมนุษย์ถูกกระตุ้น และวงจรนี้ของสุนัขก็ถูกกระตุ้นด้วย แต่สุนัขใช้ "การสื่อสารแห่งความรัก" (affectionate communication) นี้ กับมนุษย์เท่านั้น ไม่ใช้กับสุนัขด้วยกัน

ยามแม่จ้องตาลูกน้อย วงจรการสื่อสารแห่งความรักนี้จะถูกกระตุ้น เป็นธรรมชาติของมนุษย์

"ตามองตา สองตามาจ้องมองกัน" คนเราเข้าใจ และใช้ การสื่อสารด้วยสายตามานาน แต่เพิ่งมาทราบกลไกว่าผ่านการกระตุ้นฮอร์โมน oxytocin ที่ทำให้เกิดความรู้สึกรักและผูกพันกัน

เขาอธิบายว่าวงจรนี้ น่าจะพัฒนาขึ้นในคน เพราะมนุษย์ต้องเลี้ยงลูกที่ช่วยตัวเองไม่ได้เป็นเวลานานมาก เมื่อสุนัขมาอยู่กับคน ก็ร่วมกันพัฒนาวงจรนี้ของตนร่วมกับคน

อ่านรายละเอียดได้ในบทความ Dogs hijack the human bonding pathway ในวารสาร Science ฉบับวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๘ และนิพนธ์ต้นฉบับที่เปิดความเข้าใจเรื่องนี้ มาจากผลงานวิจัยเรื่อง Oxytocin-gaze positive loop and the coevolution of human-dog bonds ในวารสารเล่มเดียวกัน

ผมขอย้ำคำ "co-evolution" สุนัขเลี้ยงกับคนมีวิวัฒนาการร่วมกัน วิวัฒนาการจากปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านชีววิทยาเกี่ยวกับความรักและผูกพัน

วิจารณ์ พานิช

๑๘ เม.ย. ๕๘

โรงแรม Tokyo Geen Palace

หมายเลขบันทึก: 589071เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2015 03:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2015 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท