การเปลี่ยนแปลง แบบไหนกัน


โลกภายภาพที่เรามองเห็นและสัมผัสได้ มีความเปลี่ยนแปลง บางอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน บางอย่างต้องใช้เวลา
ประวัติศาสตร์ทำให้เราเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา
ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์ ทำให้เห็นการเริ่มต้นก่อตัว ความสมบูรณ์แบบ และการล่มสลายแห่งยุค ด้วย
เหตุและปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ธรรมชาติ" ได้ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงโดยอำนาจ อำนาจนั้นอาจเกิดจากแรงระเบิดภูเขาไฟ
หรือแรงอำนาจที่กระทบมาจากนอกโลก ถึงกับต้องเปลี่ยนยุค เปลี่ยนสมัยกันเลยทีเดียวแสดงถึงความไม่แน่นอน หรือทุก
สิ่งมีภาวะแฝงแห่งความเปลี่ยนแปลง

โลกแห่งวัฒนธรรม ก็มีความเปลี่ยนแปลง อย่างเห็นได้ชัดเจน อารยธรรมต่าง ๆ ที่เป็นสายธารแห่งวัฒนธรรม นั้นล้วนแต่
ก่อรูป เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด และก็ถึงจุดจบด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่า กรีก โรมัน อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เจงกิสข่าน จักรพรรดิ์
จิ๋นซีฮ่องเต้ เหตุปัจจัยที่ทำให้วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงนั้นคืออำนาจนั่นเอง อำนาจก่อรูปอารยธรรม อำนาจก่อรูปความเจริญ
รุ่งเรือง อำนาจก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปสู่จุดดับ และก่อเกิดอำนาจใหม่แล้วก็ดับไป

เฮเกล ได้นำเสนอทฤษฎีปฎิพัฒนาการจาก Thesis ไปสู่ Antithesis และไปสู่ภาวะใหม่ที่เรียกว่า Synthesis แล้วก็หมุนวน
ไปเรื่อย ๆ หมายความว่า่ ความคิดใดมีการนำเสนอขึ้นมา ทุกอย่างย่อมมีช่องโหว่โดยมีการชี้ให้เห็นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
และเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เฮเกลได้นำเสนอในระดับไอเดีย เพราะปรัชญาของเฮเกลเป็นจิตนิยม กระบวนการเปลี่ยนแปลง
ที่มีรากฐานความคิดเช่นนี้ เป็นพื้นฐานอารยธรรมตะวันตก ที่คิดค้นคำตอบความจริงเป็นรูปแบบจำลองใด ๆ ก็จะถูกท้าทายด้วย
รูปจำลองใหม่ ๆ อันไหนอธิบายและใช้เหตุผลได้ดี แบบจำลองคำอธิบายนั้นจะถูกนิยมนำไปอธิบายในยุคสมัยนั้น ไม่มีสมัยใด
ที่ความรู้ชุดใด ไม่ถูกท้าทาย และยุคทองของยุโรปคือการเปลี่ยนแปลงจากยุคกลางไปสู่ยุคสว่างไสวด้วยวิทยาศาสตร์ แม้แต่การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ก็ยังถูกท้าทายกันมาเรื่อย ๆ

การเปลี่ยนแปลงในระดับปัจเจกชนมีอยู่สามอย่างคือ การเปลี่ยนแปลงทางกาย การเปลี่ยนแปลงทางจิต การเปลี่ยนแปลงทางความคิด
ดังที่กล่าวมาข้างบน ว่าไม่มีความคิดใดที่ยืนยงมั่นคงแน่นอน แม้แต่ความคิดก็ตาม มี Thesis Anti-thesisไปสู่ Synthesis อยู่เสมอ
การเปลี่ยนแปลงทางกาย ซึ่งก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ เกิด สมบูรณ์ รุ่งเรือง จนไปถึง แก่ชรา และเข้าสู่มรณะในที่สุด
การเปลี่ยนแปลงทางจิต ซึงปกติจิตก็มีปกติแห่งการเปลียนแปลงเกือบทุกนาทีอยู่แล้ว ตามปฏิจสมุปบาท พระพุทธเจ้านำเสนอวิธีการ
เปลี่ยนแปลงทางจิต จากที่มีกิเลส ตัณหา อุปาทาน มาเปลี่ยนแปลงเป็นไม่มีกิเลส หมดอัตตา

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่เกิดจากความตั้งใจ ด้วยกลไกสองประการ คือ กลไกด้านการปราบปราม และ กลไกด้านการกล่อมเกลา ทั้งสองกลไกนี้มีทุกวัฒนธรรม แต่พอเข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์ กลไกให้รางวัลและการลงโทษ เริ่มเข้มข้นคือ มีการประยุกต์
วิทยาศาสตร์เข้ามาเป็นวิทยาศาสตร์พฤติกรรม สังเกตเห็นได้ชัดเจนคือยุคอาณานิคม การเปลี่ยนแปลงชนพื้นเมืองให้ยินยอมต่อผู้
ปกครองใหม่ก็จะใช้ปืนและกฎหมายควบคุมเป็นอันดับแรก และอย่างที่สองคือ คัมภีร์ไบเบิล และการเปลี่ยนแปลงศาสนา ในประเทศ
ที่เปลี่ยนแปลงความเชื่อก็จะควบคุมปกครองง่าย ส่วนประเทศที่มีความเชื่อที่หลากหลาย ก็จะใช้ปืนอย่างเดียว และก็พิสูจน์แล้วพฤติกรรมศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลง ควบคุม นั้น ใช้ไม่ได้ในประเทศอาณานิคม เช่นเดียวกับประเทศคอมมิวนิสต์ก็จะใช้กลไก
ทั้งสองอย่างนี้ทำการเปลี่ยนแปลงอย่างกรณีพอล พต นั้น เห็นได้ชัดเจนว่าการใช้ปืนและการปราบปรามลงโทษด้วยความรุนแรง
และโฆษณาชวนเชื่อ นั้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะหน้าเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงด้วยความตั้งใจ ตั้งแต่สมัยปฏิวัติเขียว ไปจนถึง ระบบทุนนิยมธรรมดา จนไปถึงทุนนิยมสามานย์ แบบไหนก็ตาม มักจะใช้สิ่งที่เรียกว่ากลไกการเปลี่ยนแปลงด้วยปืนและกฎหมายน้อยทีสุด และใช้กลไกการกล่อมเกลา ตั้งแต่ครอบครัว โรงเรียน ศาสนาและ สื่อสารมวลชน ในการเปลี่ยนแปลงและควบคุมปัจเจกชนสามประการ คือ

ประการแรกการควบคุมการเปลี่ยนแปลงทางกาย ด้วยการเปลี่ยนแปลงให้ใช้สินค้าและบริการ การดูแลตัวเองด้วยผู้อื่นคือการแพทย์ การเปลี่ยนแปลงเรื่อง "ความขาวนิยม" แบบตะวันตกด้วยการใช้สินค้าและบริการที่ให้เกิดความขาวของร่างกายสตรี แม้แต่นักร้องชื่อดังที่ผิวดำ ก็เปลี่ยนแปลงให้เป็นความขาวด้วยฝีมือแพทย์ การสวมเสื้อผ้าแบบตะวันตก รสนิยมแบบตะวันตก ทุกอย่างมีเงินเป็นสื่อกลาง ถ้าออกกำลังก็ต้องซื้อสินค้า รองเท้ายี่ห้อผลิตภัณฑ์ดัง ๆ ตลอดจนเจ็บป่วยก็ให้แพทย์ตัดสินเรื่องดูแลร่างกายและใช้เงินในการแลกเปลี่ยนบริการ

ประการที่สอง การควบคุมการเปลี่ยนแปลงเรื่องของจิตใจ แบบทุนนิยมบริโภคนิยม ให้นิยมกิเลส ตัณหา กระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้สินค้าและบริการ โดยให้คุณค่า เงินตราแลกเปลี่ยน การทำบุญ หมายถึง การให้เงินเพียงอย่างเดียว สถาบันทางศาสนามีหน้าที่สร้างโลกจินตนาการขึ้นมาเพื่อหลบหนีโลกปกติที่มีการเอารัดเอาเปรียบกัน เมื่อหายจากความเครียดแล้วก็กลับเข้าไปสู่โลกแห่งการเอารัดเอาเปรียบกันต่อไป และมีสินค้าเพื่อสนองต่อความโลภและราคะของคนเช่นวัตถุบางประเภทที่เชื่อว่าใส่แล้วจะร่ำรวย ใส่แล้วจะมีเพศตรงกันข้ามสนใจ วัตถุบางอย่างมีเป้าหมายเพื่อความพินาศของคู่แข่งขัน สินค้าแบบนี้ตอบสนองต่อความสุขสำเร็จรูปที่วัดได้จากวัตถุที่มีและหาซื้อได้ด้วยเงินตรา จิตสำนึกที่ถูกปลูกฝังคือหาเงินได้มามาก ๆ ไม่ว่าจะวิธีไหน คนดีคือคนที่มีเงินเยอะ ๆ มีเงินเพื่อซื้อความสุขคือซื้อสินค้า

ประการที่สาม การควบคุมการเปลี่ยนแปลงเรื่องของความคิด การควบคุมเรื่องของการเปลี่ยนแปลงความคิดที่สำคัญที่สุดคือ วัฒนธรรมการห้ามวิพากษ์อย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ แต่การนินทาเพื่อปลดปล่อยความเครียดนั้นสามารถทำได้ ความคิดจะต้องเป็นความคิดแบบเดียวกัน ไปในทางเดียวกัน ไม่มีการตั้งคำถาม โดย ข้อสอบแบบตัวเลือกถูกแบบตัวเดียว โดยสื่อสารทางเดียวอย่างโทรทัศน์ ละครในโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ครูในโรงเรียนคือต้นแบบความคิดแบบทุนนิยม เป็นไปในทางเดียวกัน ความคิด รสนิยม และการบริโภค เป็นไปในทางเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงทั้งสามนี้เป็นไปโดยปกติธรรมดา ระบบนี้ถูกเซตไว้เรียบร้อย เข้าสู่ "โลกันตรานุวัตร" เรียบร้อยแล้ว ไม่แปลกใจกับระบบการศึกษา การศึกษาการสอน ซึ่งเป็นลูกกระจ๊อกส่วนหนึ่งของระบบนี้ ทำให้ผมนึกถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงแบบ Transformative หรือการเปลี่ยนแปลงด้วยใจที่ใคร่ครวญ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไหนกันแน่ กาย จิต ความคิด จะออกจากระบอบทุนนิยมหาทางเลือกใหม่ หรือ ผลิตซ้ำ ระบบทุนนิยมแบบแนบเนียนกันแน่ มีใครช่วยตอบการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ที





คำสำคัญ (Tags): #การเปลี่ยนแปลง
หมายเลขบันทึก: 588557เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2015 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2015 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แนวคิดที่น่าสนใจมากเลยครับ
ช่วงนี้ผมมานั่งคิดๆดูว่าระบบศักดินาแบบญี่ปุ่นสมัยก่อนมันเกิดขึ้นมาได้ยังไง ความภาคภูมิใจของซามูไร เกียรติและศักศรี อยู่ที่ความจงรักภักดีต่อเจ้านายผู้สูงศักดิ์
ปรัชญาของเฮเกล อาจไขคำตอบให้ผมได้

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท