พหุวัฒนธรรม กับ ความเป็นอื่น (the otherness)



ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในระดับใดก็จะมีการก่อสร้างความสัมพันธ์จากโครงสร้างที่มีอยู่ ตัวอย่างที่สำคัญก็คือระบบทาส ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างนายทาส กับ ทาส ทาสนี่หมดสิทธิในความเป็นมนุษย์เลย โครงสร้างของสังคมทาสให้ความสำคัญกับ
นายทาส ไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวทาสเลย ทาสเหมือนวัตถุชนิดหนึ่ง ที่นายทาสจะทำอย่างไรก็ได้ การที่หมดความสำคัญในโครงสร้าง นี่คือถูกกีดกันออกจากสังคม หรือเรียกว่า ความเป็นอื่น (The Otherness)

ระบบวัฒนธรรมของสังคม ได้สร้างความเป็นอื่น อีกหลายประการ ได้แก่ คนบ้าจิตเวช เกย์ คนพิการ ชาวเขา ผู้อพยพ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ชนิดหนึ่ง สิ่งสำคัญที่สุดแห่งความเป็นอื่น คือ พหุวัฒนธรรม วัฒนธรรมรองในวัฒนธรรมหลัก การกีดกันคนออกไปจากสังคมไปสู่ความเป็นอื่น นั้นมีความเนียนแม้แต่ผู้ถูกกีดกันก็ยังยอมรับในตำแหน่งแห่งที่ที่สังคมกำหนดให้เขา

ความสัมพันธ์ทางอำนาจในวัฒนธรรม แบบนี้จะใช้ความรู้ชุดหนึ่ง กฎเกณฑ์ชุดหนึ่ง ที่ระบบสังคมสร้างขึ้นมา สร้างตำแหน่งแห่งที่
ด้วยการจัดประเภทและความสำคัญ ระบอบการเหยียดสีผิว ก็เกิดจากกฎเกณฑ์ชุดหนึ่ง ที่มองว่าคนผิวสีมีสติปัญญาต่ำกว่า มีความเป็นมาและประวัติศาสตร์ที่น้อยกว่า และเคยเป็นทาสมาก่อน ความรู้สึกเดิมที่เป็นทาสอันเป็นผลมาจากพัฒนาการจากประวัติศาสตร์
คนผิวขาวจึงใช้ความรู้ชุดหนึ่งตัดสิน และ กีดกันเขาออกจากสังคมไปสู่ชายขอบ หรือ สร้างความเป็นอื่น ให้กับเขา ทั้งที่ระบอบการเหยียดสีผิว เป็นมายาคติชุดหนึ่งเท่านั้น

ในสังคมไทยที่รุนแรงที่สุดในภาคเหนือ ก็คือ การถูกกล่าวหาว่าเป็น "ผีก๊ะ" ด้วยความรู้ชุดหนึ่ง ส่วนภาคอีสานก็เห็นได้ชัดว่าการถูกกล่าวหาว่าเป็น "ปอป" เป็นอัตลักษณ์ชุดหนึ่งที่คนในสังคมนั้น ๆ ใช้ความรู้ในวินิจฉัยเพื่อกีดกันคนในสังคม และพบว่าเคยมีการใช้การกล่าวหาบุคคลดังกล่าว เพื่อยึดที่ดินทำกิน ดังนั้นอำนาจในวัฒนธรรมจึงมีความสำคัญและบงการชีวิตมนุษย์อย่างชัดเจน

มีผู้ทำการวิจัยพฤติกรรมของมนุษย์ เรื่องการป้องกันตัวจากมาลาเรีย และพบว่าทำไมคนเราถึงไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งที่มีความรู้ที่ชัดเจนแล้วว่ามีอันตรายถึงตาย เนื่องจากมนุษย์ที่เป็นมาลาเรียส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในป่า ทำงานในป่า ล่าสัตว์ปลูกข้าวในบริเวณที่ป่า
การใช้ยาทาอาจไม่สะดวก หรือ การนอนในมุ้งในบริเวณป่าอาจใช้ได้แค่เวลานอน แต่เวลาเข้าห้องน้ำ เวลาทำกิจอื่น ๆ ในเวลาที่ยุงหากินอยู่ ตลอดไปจนถึง เรื่อง การเลิกสุรา แม้ว่าจะมีความรู้ที่ชัดเจนเพียงใดก็ตาม ความสัมพันธ์ในสังคมวัฒนธรรมที่ต้องดื่ม ก็จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือเลิกได้ยาก เพราะคนเราต้องอยู่กันเป็นสังคม ดังนั้นอำนาจในวัฒนธรรมและวิถีชีวิต จึงเป็นเรื่องสำคัญและทรงอำนาจ
แม้จะใช้ความรู้ชุดอื่น อธิบาย ช่วงชิง แต่อำนาจและความสัมพันธ์ทางอำนาจของสังคมวัฒนธรรมยังคงมีอิทธิพลอยู่เสมอ

ดังนั้น คนอื่น ความเป็นอื่น จึงถูกสร้างขึ้นโดยระบบสังคม แต่ก็ใช่ว่ามนุษย์จะยอมจำนนแต่เพียงอย่างเดียว มีการใช้วัฒนธรรมเป็นพื้นที่ในการต่อรอง ต่อสู้ ดังจะเห็นได้จากวัฒนธรรมคนผิวดำในสหรัฐ วัฒนธรรมภิกษุณี เพื่อเป็นเวทีในต่อสู้ ต่อรอง เพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมได้

คำสำคัญ (Tags): #ความเป็นอื่น
หมายเลขบันทึก: 587493เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2015 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2015 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถ้าสมมติให้วาทกรรมที่สังคมนั้นยึดถืออยู่ เราเรียกมันว่าวาทกรรมหลัก และเรียกว่าวาทกรรมอื่่นๆ ที่ไม่ใช่วาทกรรมหลัก เรียกว่าวาทกรรมรอง ดูเหมือนว่าความขัดแย้งระหว่างวาทกรรมหลักและวาทกรรมรอง เป็นในความขัดแย้งหลักๆที่เราดำรงอยู่ แต่ถึงอย่างไรการวาทกรรมรองมาขัดแย้งกับวาทกรรมหลัก นั้นย่อมแสดงให้เราเห็นว่า อำนาจทุกชนิดมิใช่จะครอบคลุมเราได้อย่างเดียว แต่ยังมีพื้นที่ให้เาต่อต้านมันอีกด้วย

วัฒนธรรมจึงเป็นเวทีในการต่อสู้ ต่อรอง ในการนิยามความหมาย ระหว่างวาทกรรมหลัก กับวาทกรรมรอง
อำนาจการนิยาม ก็คือ ชุดความรู้ ชุดกฎเกณฑ์ชุดหนึ่ง

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท