ชีวิตที่พอเพียง : ๒๓๖๑. สัปดาห์รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ๗. การประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ๒๐๑๕ วันที่สาม (วันสุดท้าย)



ข้อสรุปของการประชุมทั้งหมด อ่านได้ ที่นี่ สรุปได้ว่า เป้าหมายหลังปี 2015 และเป็นเป้าหมาย ๑๕ ปี ถึงปี 2030 คือ SDG (Sustainable Development Goal) ซึ่งดูรายละเอียดได้ ที่นี่ เป้าหมายสำคัญเมื่อมองจาก ภาคสุขภาพ คือ Equity และ Accountability และวิธีทำงานร่วมกับภาคอื่นๆ เพื่อเป้าหมาย sustainability development โดยจะต้องมีวิธีกำกับ (governance) องค์กรข้ามชาติ

ข้อสรุปตาม ppt ข้างบนนั้น เป็นฉบับหลังการประชุม คือในช่วงสุดสุปดาห์หลังการประชุม มีการหารือผ่านทาง e-mail loop เพื่อปรับปรุงข้อสรุป นำเอาความเห็นจากที่ประชุมเข้ามารวมไว้ รวมทั้งหารือยุทธศาสตร์นำไปขับเคลื่อนในเวทีขององค์การสหประชาชาติต่อไป โดยยุทธศาสตร์สำคัญคือ ยกระดับ UHC ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมาย SDG

คือจริงๆ แล้ว UHC เป็นเครื่องมือของร่าง SDG 2030 ข้อ ๓ "Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages" เราเสนอให้เปลี่ยนเป็น "Progressively achieve universal coverage and ensure healthy lives for all"

พิธีปิด เป็นการแสดงกายกรรม ที่สื่อความหมายความร่วมมือ และการร้องเพลงวงเด็ก นำโดยนักร้องตาบอดที่เสียงมีพลังมาก สื่อว่าแม้จะเกิดมามีจุดอ่อน แต่หากได้รับโอกาสก็จะมีชีวิตที่ดี และเป็นประโยชน์ได้ และเช่นเคย เป็นพิธีปิดที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันร้องเพลง

เสียงสะท้อนหลังการประชุมคือ เป็นการประชุมที่ดีที่สุดเท่าที่เขาเคยเข้าร่วม คุณภาพสูงทั้งสาระ การอำนวยความสะดวก และการต้อนรับ

เช้าวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ผมก็ได้รับ อีเมล์ จาก นพ. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ว่าการเคลื่อนไหว ที่เป็นรูปธรรมต่อจากข้อสรุปจาก PMAC 2015 ก็คือ ต้องไปแก้ SDG 3 ซึ่งเดิมเขียนว่า Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages หมอวิโรจน์เสนอแก้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ ร่างนี้

  • Ensure healthy lives for all and progressively achieve universal health coverage
  • Progressively achieve universal health coverage and ensure healthy lives for all

คือเสนอให้การคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า (UHC – Universal Coverage) เป็นเป้าหมายหลักด้านสุขภาพ ไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายสุขภาวะเท่านั้น

คุณหมอวิโรจน์รู้ล่วงหน้าว่าใคร/กลุ่มไหน จะค้าน และเตรียมตัวไปต่อสู้ในเวที UN เต็มที่ ผมภูมิใจ ที่ได้ร่วมทำงานในฐานะ "เณรน้อย" ร่วมกับ "ยักษ์ใหญ่" ในวงการสุขภาพโลก ในการใช้เวที การประชุมวิชาการ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นส่วนหนึ่งของ Global Governance เพื่อกำหนดทิศทางของการพัฒนาสังคมมนุษย์ ร่วมกัน ซึ่งในกรณีนี้ คือ นำไปกำหนดเป้าหมายของ SDG 2030 ซึ่งหมายความว่า ตัวอย่าง UHC ของไทยจะ ปรากฎในเวทีโลกในเวลา ๑๕ ปี จากนี้ไป มีผลให้เราต้องประคับประคองและพัฒนาระบบคุ้มครองสุขภาพ ถ้วนหน้า ให้ดียิ่งขึ้น

นี่คือ การได้มีส่วนเล็กๆ ในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้แก่เพื่อนมนุษย์ ผมโชคดีจริงๆ ที่มีบุญได้เข้ามาอยู่ ในวงของมนุษย์ที่มีจิตใจสูงเช่นนี้

ใน บันทึกนี้ ท่านจะได้เห็นอีกมุมหนึ่งของมนุษย์ คือด้านมืด ที่มีต้นตอมาจากระบบ คุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้านั่นเอง คือมันมีส่วนทำให้มีผู้ได้และผู้เสียผลประโยชน์


คณะ lead rapporteur

วงนักร้องประสานเสียง

ผลงานที่ได้รับรางวัลใน PMAC Art Contest


วิจารณ์ พานิช

๔ ก.พ. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 587036เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2015 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2015 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท