อะไรที่เรียกว่าได้คุณภาพด้วยมาตรฐานแห่งวิชาชีพ


อะไรที่เรียกว่าได้คุณภาพด้วยมาตรฐานแห่งวิชาชีพ

แพทย์พยาบาลอย่างเรานี่ทำให้คนพ้นทุกข์ หรือทุกข์กว่าเดิมกันนะ จากการดูแลรักษาที่มีมาตรฐานเป็นที่ตั้ง แต่นั่นคือ มาตรฐานเราโห เป๊ะ มาก มีแนววทางปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ CLINICAL TRACER ที่เขียนไว้สวยหรูดูดีมีมาตรฐาน แต่เอาไปปฏิบัติไม่ได้ ทั้งหมด เพราะเรามุ่งเน้นกระบวนการที่เป็นขั้นเป็นตอน จนบางอย่างสามารถข้ามขั้นตอนนั้นไปได้โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายกับคนไข้ แต่เวลามาตรวจสอบกระบวนการตามมาตรฐานถือว่า ไม่ผ่านมันใช่หรือ ยกตัวอย่าง การตรวจพัฒนาการเด็ก ที่เรามักมอบหมายให้ผู้ปกครอง ตรวจตามสมุดคู่มือ โดไม่ได้คำนึงว่าผู้ดูแลนั้น อายุเท่าไหร่ การศึกษาชั้นไร วันไหนแกพาลูกหลานมาตรวจมักเจอพยาบาลถามว่า

"ทำไม่ไม่บันทึกพัฒนาการ หลาน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าหลานผิดปกติ แล้ว ก็ ฉอด ๆ ๆ ๆ...."

ตามสไตล์พยาบาล ลึกๆ อาจไม่ห่วงคนไข้จริงกลัวว่าเมื่อมีคนมาตรวจสอบว่าผู้ป่วยไม่บันทึก แสดงว่าเราไม่ได้บอก ไมสอน ไม่ผ่านเกณฑ์ ไรประมาณนี้

แต่ในใจคนไข้อาจคิด

"ตูเลี้ยง ลูกมา 5 คน จบ เอก. 2 จบโท 2 อีกคนจบ ม. 6 แต่เป็นเจ้าของธุรกิจใหญ่โต นับประสาหลานคนเดียว ตูจะไม่รู้ว่ามันฉลาดหรือไง่ ยัย พยาบาลหน้าอ่อนมีลูกผัวหรือเปล่าก็ไม่รูริอาจมาสอน" อาจคิดเช่นนี้แต่ก็พยักหน้า "จ้า ขอโทษค่ะคุณหมอ" ไปเรื่อย

ในทางกลับกัน "ผู้ปกครองสังเกตอาการผิดปกติของคนไข้ได้ รีบพามาตรวจ แต่กลับ เจอ จนท.ว่า วันนี้หมอไม่อยู่ อยู่แต่ตรวจไม่ทัน ต้องใช้เวลามาก นัดเป็น ....มาอีกที หมอติดประชุมด่วน เปลี่ยนเป็น.... ไม่เห็นคนไข้จะมีปากเสียงไร ก็ได้แต่ก้มหน้ารับ ๆไป

การดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลนั้น ไม่จำเป็นว่า เราต้องทำได้ครบตามแนวทางเสมอไปหรอก ว่ามั๊ย แต่มันควรเป็นความพอเหมาะพอดี เรารับได้ คนไข้รับได้ มีความสุขทั้ง 2 ผ่าย โดยไม่มีอะไรค้างคา ต่างหาก

อีกกรณีที่คิดยังไง หรือเสนอแนวคิดนี้กับใครไป แล้วมักไม่เป็นผล ทุกข์นั้นเกิดกับคนไข้และญาติอย่างเห็นได้ชัดจากมารฐานการรักษาของเรา เช่น ในคนไข้บางกลุ่มที่ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แม้การรับรู้ก็อาจน้อยเต็มที มีชีวิตอยู่แบบผัก แล้วเราก็ให้ยาที่ มันต้องมีการควบคุม ต้องเจาะเลือดตรวจทุก 1-2 เดือน การรับประทานใน 1 สัปดาห์ ก็ไม่เท่ากันทุกวัน คนไข้ต้องกลับมารับยาทุกนัดที่ รพ. เมื่อมาต้อง เข้ากระบวนการ 1 , 2 ,3,4,…… ตามที่เราวางไว้ โดยเราลืมนึกถึง คนไข้และญาติว่าเดือดร้อนหรือไม่แค่ไหน มาแต่ละครั้ง ต้องเหมารถเท่าไหร่ หากเกินเวลากำหนด เขาต้องเสียนค่าจ้างรถเพิ่มเท่าไหร่ แถมมาไม่เจอหมอเฉพาะที่ดูแลได้ เนื่องจาก แพทย์ติดประชุมด่วน อ้าวนัดใหม่ แล้วคนไข้ และญาติรู้สึกอย่างไร เราเคยถามเขามั๊ย เราสามารถ ปรับแนวทางการรักษาให้ สอดคล้องกับสภาพ ความรู้ ข้อจำกัด และฐานะของคนไข้ได้หรือไม่ ดิฉันเชื่อว่ามี และสามารถทำได้ หากเราใส่ใจสักนิด มิเพียงคิดว่า มาตรฐานต้องเดินตามเส้นทางนี้เท่านั้น ไม่สามารถหยุดพักกระทันหัน หรือเปลี่ยนวิธีได้ นั่นเอง

ฝากเป็นข้อคิดและเตือนสติ คนทำงานทางด้านการแพทย์ อย่างเราทุกคน นี่เป็นเสียงสะท้อนจากคนไข้ที่เขาไม่กล้าบอกเราตรงๆ เพราะไม่รู้จะบอกอย่างไรนั่นเอง

ชลัญธร

คำสำคัญ (Tags): #มาตฐานวิชาชีพ
หมายเลขบันทึก: 586918เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2015 05:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2015 05:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การทำงานแบบนี้ ใจต้องมาก่อนนะคะ เอาใจเขามาใส่ใจเรา มาตรฐานทั้งหลายมีไว้เพื่อช่วยเตือนขั้นตอนที่ควรต้องทำเท่านั้นเอง ถ้าคนทำงานมีความสุขและใช้ใจทำงาน อะไรๆก็คงไม่ยาก แต่ที่แน่ๆคือเหนื่อยนะคะ พยาบาลและแพทย์บ้านเราเนี่ย

-สวัสดีครับ

-ตามมาให้กำลังใจอาชีพให้บริการประชาชนครับ

-ด้วยความระลึกถึงครับ

เป็นกำลังใจให้นะค่ะคุณหมอ รู้สึกดีที่มีหมอเข้าใจคนไข้มากมายเพียงนี้

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท