ลุงเหมย
ข้าราชการครูบำนาญ นายชุมพล บุญเหมย

พระปริตรธรรม ตอนที่ ๓


พระปริตธรรม ตอนที่ ๓ มหานมัสการ

โบราณาจารย์ เรียกบทนี้ว่า มหานมัสการ คือ บทนอบน้อมที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นบทแรกที่ชาวพุทะนิยมสวดนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าก่อนจะรับศีลและไตรสรคมณ์ เพื่อปฏิญาณตนว่าเป็นชาวพุทธ อีกทั้งยังกล่าวถึงพระพุทธคุณหลัก ๓ ประการ คือ พระมหากรุณาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ ตามลำดับ บางอาจารย์มีมติว่า เทพ ๕ ตน กล่าวบทนี้เป็นเบื้องแรก คือ สาตาสิริเทพ กล่าวว่า นะโม อสุรินทราหู กล่าวว่า ตัสสะ ท้าวจาตุมหาราช กล่าวว่า ภะคะวะโต ท้าวสักกะเทวราช กล่าวว่า สัมมาสัมพุทธัสสะ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

หมายเหตุ : ไตรสรณคมณ์ คือ การเข้าถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง ผู้ที่จะปฏิญาณตนว่าเป็นชาวพุทธต้องกล่าวคำนี้ การกล่าวสามครั้งในที่นี้ เป็นการย้ำความซึ่งเป็นประเพณีของชาวอินเดียสมัยก่อน เหมือนกับการกล่าวบทมหานมัสการสามครั้ง

สมาทานศีล ๕

ปาณาติปาตา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท
ที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์

อะทินนาทานา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท ที่งดเว้นจากการลักทรัพย์

กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทาน
สิกขาบท ที่งดเว้นจากการผิดในกาม

มุสาวาทา เวรมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท ที่งด
เว้นจากการพูดเท็จ

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้า
ขอสมาทานสิกขาบท ที่งดเว้นจากการดื่มของเมา คือ สุรา เมรัย อันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท

ผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งโดยกล่าวว่า...พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.....

เป็นต้นแล้ว อาจไม่ต้องสมาทานศีลอีก เพราะจัดว่าถือศีลแล้วด้วยความเลื่อมใสที่เกิดในขณะนั้น เนื่องจากศีลมี ๕ ประเภทตามที่กล่าวในเนติปกรณ์ คือ

๑. ปกติศีล ศีลดดยปกติ คือ ศีลที่บุคคลรักษาโดยมิได้สมาทาน ด้วยเห็นว่า ศีล ๕ เป็นปกติของชาวโลก ไม่ว่าจะสมาทานหรือไม่ก็ตามถ้างดเว้นจากการผิดศีล ย่อมได้รับผลดี ถ้าล่วงละเมิดก็ได้รับผลไม่ดี

๒. สมาทานศีล คือ ที่บุคคลตั้งใจสมาทานด้วยตนเอง

๓. จิตตปสาทะ ความผ่องใสแห่งจิต คือ ศีลที่เกิดขึ้นในขณะฟังธรรม เป็นต้น ซึ่งจิตใจผ่องใสปราศจากนิวรณ์

๔. สมถะ ศีลที่เกิดขึ้นในขณะเจริญสมถภาวนา

๕. วิปัสสนา ศึลที่เกิดขึ้นในขณะเจริญวิปัสสาภาวนา

( ในสมัยพุทธกาล มีบางคนที่มิไ/ด้รักษาศีลมาก่อน เช่น สันตติอำมาตย์ ที่เมาสุราก่อนจะมาฟังธรรม แต่ท่านก็ได้บรรลุธรรมในขณะฟัง เพราะจัดว่ารักษาศีลในขณะเจริญวิปัสสนาภาวนาเมื่อฟังธรรมนั่นเอง )

สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตฺราคัจฉันตุ เทวะตา

สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง

ขออัญเชิญเทวดาในจักรวาลทั้งหลายโดยรอบมาสู่สถานที่นี่ ฟังพระสัทธรรมของพระจอมมุนี ซึ่งชี้ทางสวรรค์และนิพพาน

สัพเพสุ จักกะวาเฬสุ ยักขาเทวา จะ พฺรัหมฺมะโน

ยัง อัมเหหิ กะตัง ปุญญัง สัพพะสัมปัตติสาธะกัง

สัพเพ ตัง อะนุโมทิตฺวา สะมัคคา สาสะเน ระตา

ปะมาทะระหิตา โหนฺตุ อารักขาสุ วิเสสะโต

ขออัญเชิญยักษ์ เทวดา พรหม ทั่วทุกจักรวาล ร่วมอนุโมทนาบุญที่เราได้กระทำ ที่สามารถยังสิ่งทั้งปวงให้สำเร็จได้ ขอท่านเหล่านั้นจงเป็นผู้สมานฉันท์ยินดีในพระศาสนา และเป็นผู้ไม่ประมาท ตั้งใจปกปักรักษาเถิด

สาสะนัสสะ จะ โลกัสสะ วุฑฒิ ภะวะตุ สัพพะทา

สาสะนัมปิ จะ โลกัญจะ เทวา รักขันตุ สัพพะทา

ขอความเจริญจงมีแก่พระศาสนาและชาวโลกเสมอ ขอเทวดาจงรักษาพระศาสนาและชาวโลกเสมอเถิด

สัทธิง โหนตุ สุขี ปะริวาเรหิ อัตตะโน

อะนีฆา สุมะนา โหนฺตุ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ

ขอท่านทั้งปวงเหล่านั้น พร้อมหมู่ญาติทั้งหมดและบริวารของตน จงเป็นผู้มีความสุข ปราศจากทุกข์ และมีใจเบิกบาน

ราชะโต วา โจระโต วา มะนุสสะโต วา อะมะนุสสะโต วา อัคคิโต วา

อุทะกะโต วา ปิสาจะโต วา ขาณุกะโต วา กัณฏะกะโต วา นักขัตตะโต วา ชะนะปะทะโรคะโต วา อะสัทธัมมะโต วา อะสัททิฏฐิโต วา อะปุริสสะโต วา จัณฑะ อัตถิ อัสสะ มิคะ โคณะ กุกกุระ อะหิ วิจฉิกะ มะณิสัปปะ ทิปิ อัจฉะ ตะรัจฉะ สูกะระ มหิงสะ ยักขะ รักขะสาทีหิ วา นานาภะยะโต วา นานาโรคะโต วา นานาอุปัททะวะโต วา อารักขัง คัณหันตุ........

ขอชาวโลกจงได้รับการคุ้มครองจากอันตรายที่เกิดจากผู้ปกครองของประเทศ โจร มนุษย์ อมนุษย์ ไฟ น้ำ ตอไม้ หนาม เคราะห์ร้าย โรคระบาดในถิ่นมนุษย์ ความประพฤติของคนทราม ความเห็นผิด คนร้าย และอุปัทวะต่าง ๆ อันเกิดจาก ช้าง ม้า กวาง วัว สุนัข งู แมงป่อง งูเขียว เสือดาว หมี หมาป่า หมู กระบือ ยัำกษ์ รากษส เป็นต้น ที่ดุร้าย.....

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัง ภะทันตา มมัสสะวะนะกาโล อะยัง ภะทันตา

มมัสสะวะนะกาโล อะยัง ภะทันตา (กล่าว ๓ ครั้ง )

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

จากนั้นก็ให้กัลยาณมิตรและรัตนธรรมทุกท่านเริ่มสวด บทพระพุทธคุณ , พระธรรมคุณ , พระสังฆคุณ เรื่อยไป.....แล้วขึ้นบทสวด...บทเมตตปริตร..............แต่ตอนนี้จะขออนุญาตนำบทคัดตำนานพระปริตร เล่าสู่กันฟังเพื่อให้รู้ที่มาที่ไปของบทสวดนี้ก่อน เชิญติดตามครับ.........

เมตตปริตร คือ ปริตรที่กล่าวถึงการเจริญเมตตา มีประวัติว่า.....สมัยหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวัน กรุงสาวัตถี มีภิกษุ ๕๐๐ รูป เรียนกัมมัฏฐานจากพระองค์แล้ว ก็ออกเดินทางไปแสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม พวกภิกษุเหล่านั้นเดินทางมาถึงไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง ปรึกษากันว่าสถานที่นี้เหมาะสมแก่กากรเจริญสมณธรรม จึงตกลงใจจำพรรษาในที่นั้น ชาวบ้านก็มีจิตศรัทธาสร้างกกุฏิถวายให้พำนักรูปละหนึ่งหลัง และอุปัฏฐากด้วยปัจจัยสี่มิให้ขาดแคลน

เมื่อฝนตกพวกท่านก็เจริญกัมมัฏฐานที่กถฏิ ครั้นฝนไม่ตกก็จะมาปฏิบัติที่โคนต้นไม้ รุกขเทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ไม่สามารถอยู่ในวิมานได้เพราะผู้ทรงศีลมาอยู่ใต้วิมานของตน จึงต้องพาบุตรธิดาลงมาอยู่บนพื้น เบื้องแรกคิดว่าพวกภิกษุคงจะอยู่ชั่วคราว ก็ทนรอดดูอยู่ชั่วคราว แต่เมื่อรู้ว่ามาจำพรรษาตลอดไตรมาส จึงเกิดความไม่พอใจ คิดจะขับไล่ ให้กลับไปในระหว่างพรรษา ฉะนั้นจึงพยายามหลอกหลอนด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น สำแดงรูปร่างที่น่ากลัว ร้องเสียงโหยหวน ทำให้ได้รับกลิ่นเหม็นต่าง ๆ

พวกภิกษุหวาดหวั่นตกใจต่ออารมณ์ที่น่ากลัวเหล่านั้น ไม่สามารถจะปฏิบัติธรรมได้โดยสะดวก จึงปรึกษากันว่า...พวกเราไม่ควรจะอยู่ในสถานที่นี้ แต่ควรที่จะกลับไจำพรรษาในถานที่อื่น และได้เดินทางกลับโดยไม่ได้บอกลาชาวบ้าน เมื่อมาถึงวัดพระเชตวันได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลเรื่องนี้ พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นว่าสถานที่เดิมเหมาะสมกับภิกษุเหล่านี้มากกว่าที่อื่น จึงทรงแนะนำให้พวกท่านกลับไปยังสถานที่เดิมนั้น พร้อมกับตรัสสอนบทเมตตปริตรเพื่อเจริญเมตตาแก่รุกขเทวดา

เมื่อพวกภิษุได้เรียนบทสวดเมตตปริตรจากพระพุทะเจ้าแล้ว จึงเดินทางกลับไปยังสถานที่เดิม ก่อนจะเข้าสู่ราวป่า พวกพระภิกษุได้เจริญเมตตาโดยสาธยายมนต์พระปริตรนี้ อานุภาพแห่งเมตตาทำให้รุกขเทวดามีจิตใจอ่อนโยน มีไมตรี จึงไม่เบียดเบียนเหมือนเมื่อก่อน ทั้งยังช่วยปรนนิบัติและคุ้มครองภัยอื่น ๆ อีกด้วย ภิกษุเหล่านั้นได้พากเพียรเจริญเมตตาภาวนา และ้วเจริญวิปัสสนาภาวนาต่อมา โดยใช้เมตตาเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ทุกรูปได้บรรลุอรหัตผลภายในพรรษานั้น

๑. กะระณียะมัตฺถะกุสะเลนะ ยันฺตะ สันฺตัง ปะทัง อะภิสะเมจฺจะ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สูวะโจ จัสฺสะ มุทุ อะนะติมานี

๒. สันตุสฺสะโก จะ สุภะโร จะ อัปฺปะกิจฺโจ จะ สัลฺละหุกะวุตฺติ

สันตินทฺริโย จะ นิปะโก จะ อัปฺปะคัพฺโภ กุเลสฺวะนะนุคิทฺโธ

๓. นะ จะ ขุทฺทะมาจะเร กิญฺจิ เยนะ วิญฺญู ปะเร อุปะวะเทยฺยุง

สุขิโน วะ เขมิโน โหนตุ สัพฺพะสัตฺตา ภะวันตุ สุขิตัตฺตา

๔. เย เกจิ ปาณะภ๔ตัตฺถิ ตัะสา วา ถาวะรา วะนะวะเสสา

ทีฆา วา เย วะ มะหันตา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา

๕. ทิฏฺฐา วา เย วะ อะทิฎฺฐา เย วะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร

ภูตา วะ สัมมะเวสี วะ สัพฺพะสัตฺตา ภะวันตุ สุขิตัตฺตา

๖. นะ ปะโร ปะรัง นิกุพฺเพถะ นาติมัญฺเญถะ กัตฺถะจิ นะ กัญฺจิ

พฺยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญะ นาญฺญะมัญฺญัสฺสะ ทุกขะมิจฺเฉยฺยะ

๗. มาตา ยะถา นิยัง ปุตฺตะ มายุสา เอกะปุตตะมะนุรักฺเข

เอวัมปิ สัพฺพะภูเตสุ มานะสัง ภายะเย อะปะริมานัง

๘. เมตฺตัญฺจะ สัพฺพะดลกัสฺมิ มานะสัง ภาวะเย อะปะริมาณัง

อุทฺธัง อะโธ จะ ติริยัญฺจะ อะสัมพาธัง อะเวระมะสะปัตฺตัง

๙. ติฏฺฐัง จะรัง นิสินฺโน วะ สะยาโน ยาวะตาสฺสะ วิตะมิทฺโธ

เอตัง สะติง อะธิฏฺเฐยฺยะ พฺรัหฺมะเมตัง วิหาระมีธะ มาหุ

๑๐. ทิฏฺฐิญฺจะ อะนุปะคัมฺมะ สีละวา ทัสฺสะเนนะ สัมฺปันฺโน

กาเมสุ วิเนยฺยะ เคธัง นะ หิ ชาตุคัพฺภะเสยฺยะ ปุนะเร...ติ

ก็เป็นอันว่าบทสวดพระปริตร บทสวดที่ ๑ ก็จบลง พร้อมด้วยตำนานที่มาของบทสวด ให้ท่านได้รับทราบแล้ว ต่อไปก็จะเริ่มบทสวดพระปริตร บทสวดที่ ๒ และตำนาน อดใจรอในตอนต่อไป...ขออานุภาพแห่งพระปริตรจงคุ้มครองบรรดาท่านผู้ที่ลุงเหมยได้น้อมเคารพไหว้สากราบคุณจงมีแต่ความสุข ความเจริญ มีพลานามัยแข็งแรง เป็นผู้ค้ำจุนพระพุทธศาสนาตลอดไปทุกเมื่อเทอญ.....สาธุ

คำสำคัญ (Tags): #ตำนานพระปริตร
หมายเลขบันทึก: 586890เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2015 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2015 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท