การแกะสลักอนุรักษ์ไทย..สู่..การพัฒนาทักษะอาชีพ



การพัฒนาทักษะการแกะสลักอนุรักษ์ไทย..สู่..การพัฒนาทักษะอาชีพ เป็นการพัฒนาทักษะกระบวนการโดยใช้ IdaulModel ดังนี้

๑. การเลียนแบบ (Imitation) นักเรียนเรียนรู้จากตัวแบบ คือ หนังสืออ่านประกอบการฝึกทักษะ

การแกะสลักอนุรักษ์ไทยซึ่งมีเนื้อหาพร้อมทั้งภาพและขั้นตอนการฝึกปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นลำดับจากทักษะง่ายเป็นพื้นฐาน ไปสู่ทักษะที่ยากขึ้นและมีการบรรยายประกอบภาพ มีการนำเสนอภาพสำเร็จของงานเพื่อเป็นตัวแบบให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจที่จะฝึกฝนให้ภาระงานที่ทำไปสู่ความสำเร็จจำนวน ๖ เล่มดังนี้

เล่ม๑ แกะผักผลไม้เบื้องต้น

เล่ม๒ แกะผักสลักลาย

เล่ม๓ แกะผลไม้ลายประยุกต์

เล่ม๔ แกะสัตว์สวยลายสร้างสรรค์

เล่ม๕ แกะผักสลักผลไม้สู่ความเป็นเลิศ

เล่ม๖ แกะสลักสบู่สู่อาชีพ

๒. การทำตามแบบ (Doing by Pattern) นักเรียนลงมือทำตามตัวแบบโดยการศึกษารายละเอียดตามลำดับขั้นตอนที่มีการเสนอแนะไว้ในหนังสืออ่านประกอบการฝึกทักษะ การแกะสลักอนุรักษ์ไทย

๓. การทำอย่างแม่นยำ (Acting by Precision)นักเรียนฝึกปฏิบัติด้วยตนเองโดยไม่มีตัวแบบและสามารถสาธิตวิธีการปฏิบัติให้แก่ผู้อื่น

๔. การทำอย่างสม่ำเสมอ (Understanding by Articulation)นักเรียนเกิดทักษะจากการปฏิบัติการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

๕. การทำอย่างสร้างสรรค์ (Leaning by Create)นักเรียนปฏิบัติได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถคิดสร้างสรรค์งานด้วยตนเอง มีรูปแบบเฉพาะตัว


หมายเลขบันทึก: 586730เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2015 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2015 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เด็กๆ ทำเก่ง สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้เลยนะคะ ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท