ชื่อโครงการวิจัย:(ภาษาไทย)การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธ ของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดพะเยา


ชื่อโครงการวิจัย:(ภาษาไทย)การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิถีพุทธ ของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดพะเยา

(ภาษาอังกฤษ) Strengthening ofCorporate SocialResponsibility with Way of Buddhism of Local Politician in Phayao Province

ส่วน ก : ลักษณะโครงการวิจัย

Pโครงการวิจัยใหม่
โครงการวิจัยต่อเนื่องระยะเวลา1ปี ปีนี้เป็นปีที่ 1 รหัสโครงการวิจัย..…….....…

Iระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)*

IIระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2555-2559)

III ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับกลุ่มเรื่องที่ควรวิจัยเร่งด่วนตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2555-2559) (โปรดดูรายละเอียดในผนวก 2)

IV ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายรัฐบาล (กรุณาระบุความสอดคล้องเพียง 1 หัวข้อที่มีความสอดคล้องมากที่สุด โดยโปรดดูรายละเอียดในผนวก 3)

- นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก : เรื่อง ...........................................

- นโยบายระยะการบริหารราชการ 3 ปี ของรัฐบาล : นโยบาย..............................

ส่วน ข: องค์ประกอบในการจัดทำโครงการวิจัย

1. ผู้รับผิดชอบและหน่วยงาน

1.1 หัวหน้าโครงการวิจัย

ผศ.คนอง วังฝายแก้ว เลขบัตรประจำตัวประชาชน 3101300044237 คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000

โทร. 054431556 โทรศัพท์มือถือ 0812891171

E-mail [email protected]

1.2 หน่วยงานหลัก

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000

1.3 หน่วยงานสนับสนุน

สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทร. 035-24800-5

2. ประเภทการวิจัย การวิจัยประยุกต์ (Applied research)

3. สาขาวิชาการและกลุ่มวิชาที่ทำการวิจัย สาขาการศึกษา

4. คำสำคัญ (keyword) ของโครงการวิจัย

การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา ด้วยความดูแลใส่ใจต่อผู้มีส่วนได้เสียเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณตลอดจนมีธรรมาภิบาลเป็นเครื่องกำกับให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ
วิถีพุทธ หมายถึง แนวทางการดำเนินงานการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา ที่เกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา
นักการเมืองท้องถิ่น หมายถึง คณะผู้บริหารองค์กรท้องถิ่นในระดับเทศบาลในจังหวัดพะเยา จำนวน 9 แห่ง

  • 5. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย

แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมเริ่มต้นจากการประชุมสุดยอดระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อม (Earth Summit) ในปีพ.ศ. 2535 และได้มีการประกาศทิศทางใหม่ของการพัฒนาให้เป็น "การพัฒนาที่ยั่งยืน"หรือ Sustainable Development ที่ต้องคำนึงถึงปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นปัญหาโลกร้อนภัยพิบัติทางธรรมชาตินอกเหนือจากการคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียวดังเช่นคำกล่าวของ Bjorn Stigsonประธานสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (World

Business Council Sustainable Development หรือ WBCSD) ที่ว่า "ธุรกิจไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ในสังคมที่ล้มเหลว" (Business cannotsucceed in a society that fails.)[1]

ในปีพ.ศ. 2542 กระแสแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมมีพัฒนาการชัดเจนมากขึ้นเมื่อนายโคฟีอันนันเลขาธิการสหประชาชาติในเวลานั้นได้ออกมาเรียกร้องให้องค์กรธุรกิจและกิจการต่างๆทั่วโลกแสดงความเป็นพลเมืองที่ดีของโลก (Good Global Citizenship) รวมทั้งประกาศ "The UN Global Compact" เพื่อใช้เป็นกรอบดำเนินการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับองค์กรธุรกิจ

ในปีต่อมาองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(Organization for Economic Co-operation and Development หรือOECD) ได้ออกแนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติ (The OECD Guidelinesfor Multinational Enterprises) เสนอแนะให้บรรษัทข้ามชาติของประเทศสมาชิก OECD นำแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติและให้ติดต่อค้าขายเฉพาะกับคู่ค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมเท่านั้น

ต่อมาในการประชุม World Economic Forum ณเมืองดาวอสประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 2545 ที่ประชุมได้มีมติ ("Joint CEOStatement") ยอมรับคุณค่าและความสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคมโดยประกาศจัดตั้ง Global Corporate Citizenship Initiative (GCCI) ขึ้นเพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในการนำหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติให้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจหน้าที่และกลยุทธ์ในการดำเนินกิจการเพื่อผลกำไรและการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของกิจการเองรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียสังคมและสิ่งแวดล้อม[2]

ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate SocialResponsibility หรือ CSR) และการปฏิบัติตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมมีการนำหลักการ (Principles) นโยบาย(Policies) แนวปฏิบัติ (Practices) แนวทาง (Guidelines) ของกิจการต่างๆที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลรวมถึงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมทั้งหลักธรรมของศาสนามาแสดงให้เห็นความสำคัญและวิธีการประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ที่จำเป็นในทุกกระบวนการของการดำเนินงานของทุกภาคส่วนให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมได้ชัดเจนและละเอียดมากขึ้นทำให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อองค์กรโดยตรงและต่อสังคมผ่านกิจกรรมที่จัดทำขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดและนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ให้แก่กิจการขององค์การไปพร้อมกับผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งในที่สุดย่อมเป็นผลดีต่อความเจริญเติบโตขององค์กรและประเทศชาติที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
นักการเมืองท้องถิ่นในฐานะผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรต้องให้ความสำคัญกับการดำรงบทบาทการเป็นผู้นำกระบวนการ (Process Leadership) ที่มีความต่อเนื่องเป็นกิจจะลักษณะมากกว่าบทบาทการเป็นผู้นำกิจกรรม (EventLeadership) ที่จัดเป็นครั้งๆตามโอกาสในเชิงสัญลักษณ์สิ่งสำคัญถัดมาคือการให้ความสำคัญกับเรื่อง CSR โดยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าหรือประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเป็นรูปธรรมได้

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นไม่ใช่การทำกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรให้ถูกกฎหมายหรือถูกต้องแต่เพียงอย่างเดียวแต่เป็นการลงทุนในมนุษย์ผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งทั้งหมดนำไปสู่ความอยู่รอดโดยรวมและรายได้ที่มั่นคงนั่นเองดังนั้นวิธีมองความรับผิดชอบต่อสังคมจึงคล้ายกับการมองการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาซึ่งไม่สามารถลงทุนอย่างไร้ทิศทางได้และยังต้องใช้เวลาพอสมควรก่อนที่จะผลิดอกออกผลได้เป็นการลงทุนระยะกลางถึงระยะยาว

การแสดงความรับผิดชอบของนักการเมืองท้องถิ่นตามแนววิถีพุทธ เป็นการนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเป็นกรรมในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีต่อประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น การดำเนินการโดยใช้หลักพละ 4 ราชสังคหะวัตถุ 4 หรือหลักทศพิธราชธรรม เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสงบสุขอย่างยั่งยืน

ดังนั้นในการดำเนินการวิจังครั้งนี้เป็นการศึกษาในการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนววิถีพุทธของนักการเมืองในจังหวัดพะเยา เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือประชาชนในเขตพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  • 6.1 เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา
  • 6.2 เพื่อศึกษาการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนววิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา
  • 6.3 เพื่อวิเคราะห์และเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความร้บผิดชอบต่อสังคมตามแนววิถีพุทธของนักการเมืองท้องถิ่น
  • 7. ขอบเขตของโครงการวิจัย

7.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ ศึกษาความรับผิดาชอบต่อสังคม การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนววิถีพุทธ และรูปแบบการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนววิถีพุทธ
7.2 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตผู้ให้ข้อมูล โดยศึกษาเฉพาะเทศบาลในจังหวัดพะเยาจำนวน 9 เทศบาล โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านการสัมภาษณ์เจาะลึก (Indepth Interview) ได้แก่ พระภิกษุ 3 รูป นายกเทศมนตรี และปลัดเทศบาล จำนวน 18 คน

7.3 ขอบเขตในด้านเวลา1 ปีงบประมาณ
7.4 ขอบเขตด้านพื้นที่ เทศบาลในจังหวัดพะเยา จำนวน 9 แห่ง


*รอรายละเอียดจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

[1]คณะกรรมการกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนและการวิจัยด้านบริหารธุรกิจแห่งประเทศไทย. แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ. (กรุงเทพฯ : เมจิกเพรส, 2555). หน้า 19.

[2]เรื่องเดียวกัน. หน้า 20.

หมายเลขบันทึก: 586665เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2015 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2015 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากๆ

รออ่านตอนทำเสร็จแล้วครับ

อาจารย์สบายดีนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท