การแนะนำอย่างหยาบๆในเรื่องการตระหนักรู้ภาษา (Language Awareness) ตอนที่ 10


เทคนิคที่ 2 การตรวจสอบข้อผิด และการแก้ไข (Error detection and correctives)

การสังเกต (noticing) เป็นกระบวนการที่เป็นหลักในการวิเคราะห์ผลผลิต (output) และจำเป็นต่อการการตรวจจับข้อผิดและการแก้ไข การสร้างข้อผิดและการแก้ไข โดยตัวของมันเองเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ พวกเราเคยเรียนมาว่า จะไม่มีการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการทำผิด อย่างไรก็ตาม คงจะไร้ประโยชน์ หากให้นักเรียนแก้ข้อผิด โดยที่ไม่รู้ว่าจะแก้ผิดอย่างไร ในหลายๆกรณี เป็นเพราะพวกนักเรียนไม่รู้กฎ ถ้าพวกเขารู้ แน่นอนต้องไม่มีการกระทำผิด ข้อผิดที่ทำโดยนักเรียน เป็นข้อมูลในการสอนซ่อมเสริม ซึ่งอาจทำโดยปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะ หรือเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เช่น อาจให้ดูที่รูปแบบ (form) และหน้าที่ (function) ของการใช้กาลเวลาในงานเขียน

แน่นอนว่าไม่มีภาระงานที่ง่ายๆที่จะแก้ไขปัญหาที่สะสมมาเป็นเวลาหลายปีได้ แต่ก็เป็นการจำเป็นเช่นเดียวกัน ที่จะแก้ไขปัญหาที่สะสมมานานด้วยเทคนิคการตระหนักรู้ภาษา

เทคนิคที่ 3 การฟื้นฟูด้วย Cloze texts (Restoring C-texts)

การใช้ Cloze texts ในการวัดความสามารถทางภาษาแบบทั่วไป เป็นสิ่งที่รู้กันมานานแล้ว มาตรฐานของ Cloze text คือการละคำที่ 4 จนถึง คำที่ 6 สำหรับบทอ่านสั้นๆ หรือบางครั้งจะลำคำที่ 2 ไว้ แล้วแทนด้วยช่องว่าง ภาระงานของนักเรียนก็คือทำให้ช่องว่างนั้นสมบูรณ์ ด้วยการพิจารณาถึง การอนุมานหรือการสรุปบริบท (contextual inferring) และการเปรียบเทียบ (analogy) เป็นต้น

ประโยชน์ของ Cloze text มีหลายประการ ที่ยกมาก็มี

1. นักเรียนที่มีความสามารถจะได้อภิปรายประเด็นไวยากรณ์ ในกลุ่มคำ (lexi) ที่พวกเขาได้ทำผิด และได้แก้ไขที่ผิดให้ถูกต้อง

2. การทำงานกับ Cloze text ก็เหมือนการเล่มเกมปริศนา (puzzle) ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น, น่าสนุกสนาน, และยั่วใจ

3. Cloze text ทำให้ผู้เรียนตระหนักรู้เรื่องรูปแบบ (form)

4. Cloze text เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการออกแบบ และสามารถวัดความสามารถของผู้เรียนได้อย่างง่ายๆ

5. ผู้เรียนจะกลายเป็นคนที่ช่วยเหลือตนเองได้ (self-correct) และได้รับประโยชน์ในเรื่องการสะท้อนกลับแบบทันที (immediate feedback)

6. Cloze text สามารถวัดไวยากรณ์ได้ในหลายแง่มุม

7. Cloze text เป็นปรนัย (objective) ง่ายต่อการจัดการ และให้คะแนน

หนังสืออ้างอิง

James M. Bourke. (2014). A Rough Guide to Language Awareness.

หมายเลขบันทึก: 585722เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท