การประชุมกลุ่มย่อย ด้านทรัพยากรธรรมชาติ เรื่อง ความเป็นหุ่นส่วนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2564


สวัสดีครับชาวBlog และลูกศิษญ์ทุกท่าน

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 ได้รับเกียรติจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีการประชุมกลุ่มย่อย ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ เรื่อง ความเป็นหุ่นส่วนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2564 ณ ห้องประชุมบุษบาชั้น 1 โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยท์

หมายเลขบันทึก: 585582เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การประชุมกลุ่มย่อยด้านทรัพยากรธรรมชาติเรื่อง "ความเป็นหุ้นส่วนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ"

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยท์

กล่าวเปิดการประชุม

โดย นายพงศ์บุณย์ ปองทอง

รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายพงศ์บุณย์ ปองทอง รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวขอบคุณท่านผู้มีเกียรติทุกท่านที่มาร่วมการประชุมวันนี้

มีผู้มีเกียรติที่เกี่ยวข้องในการประชุมที่เป็นตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

ความเป็นมาของโครงการเกิดเนื่องจากทาง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจตามกฎหมายเตรียมการจัดทำแผนคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศซึ่งในปัจจุบันอยู่ในช่วงแผนที่ 4 คือปี พ.ศ.2555-2559 และขณะนี้กำลังเตรียมการแผนที่ 5 คือปี พ.ศ. 2560-2564

นอกจากนี้ยังมีการเตรียมจัดทำแผนระยะยาว 10 ปี แผนที่ 2 โดยจะเริ่มปี 2560-2569

การเตรียมการ นอกจากเป็นแผนนโยบายในระดับประเทศจึงต้องทำให้สอดคล้องกับแผนใหญ่ของประเทศ มีการกำหนดระยะเวลาประสานงานให้ สผ. ประสานกัน

โดยต้องเตรียมกรอบยุทธศาสตร์ให้เสร็จ ในการเขียนแผนในปีหน้า โดยจะเริ่มจากการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ทิศทางเป้าหมายจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2558 และจะมีการประชุมต่อเนื่องทั้งปี เพื่อหาประเด็นสำคัญในทุกภาคส่วน มีประเด็นอะไรให้หารือในที่ประชุมถึงทิศทางที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง

ในประเทศไทยดูเรื่องเศรษฐกิจ สังคม ของประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง และให้ที่ประชุมได้เสนอประเด็นที่จะพิจารณาอย่างถ่องแท้

การประชุมกลุ่มย่อย มี 3 ครั้งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เรื่อง ความเป็นหุ้นส่วนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการขยะของประเทศไทยสู่เส้นทางความยั่งยืน และการใช้เครื่องมือและกลไกที่สนับสนุนการปรับเปลี่ยนสู่วิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ในช่วงเดือนมีนาคม จะร่างแผนยุทธศาสตร์ขึ้นมา และเดือนเม.ย.-พ.ค. จะไปคุยแต่ละภาคส่วน เพื่อกำหนดเป็นกรอบยุทธศาสตร์ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำแผน 5 ปี คือปี พ.ศ.2560-2564

ประเด็นการประชุมเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

- ด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าไม้ น้ำ ที่ดิน

- แหล่งความหมายทางชีวภาพที่สำคัญ ป่าไม้เป็นแหล่งที่สำคัญ

- ป่าไม้สัมพันธ์กับทะเล และแหล่งน้ำด้วย

- มีการคุยเรื่องการป้องกัน รักษา การฟื้นฟู โดยภาครัฐจะมีบทบาทเป็นอย่างไร ทิศทางที่จะให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมมีแนวทางอย่างไร

- การปลูกป่า พบว่าพื้นที่ทุกที่ในประเทศไทย มีเจ้าของหมด จึงเกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ดิน

- การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ทางรองพงศ์บุณย์ ได้เข้ามีส่วนร่วมด้วย

- การฟื้นฟูไม่ใช่เรื่องง่าย จึงจำเป็นต้องช่วยคิดวิธีฟื้นฟู

- การใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า จะช่วยลด Demand ความต้องการใช้ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ ช่วยลดความกดดันในการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้

- ความต้องการใช้น้ำปัจจุบันไม่เพียงพอกับปริมาณน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เราต้องไปดูแหล่งน้ำธรรมชาติหรือไม่ ต้องเพิ่มป่าธรรมชาติหรือไม่ เพราะทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมด การเพิ่ม Supply น้ำ ขอให้ทุกคนช่วยพิจารณา

- ที่ดินลดลง พื้นที่ทางการเกษตรเพิ่มขึ้นแต่พบว่าคนยังจนอยู่ จะทำอย่างไร พื้นที่เพิ่มขึ้น ผลผลิตควรเพิ่มขึ้น แต่ผลยังเหมือนเดิม ยังมีความเหลื่อมล้ำในสังคม

สุดท้าย เรื่องการมีส่วนร่วม ทั้งกำหนดบทบาท และประโยชน์ที่จะได้รับจะทำอย่างไร การกำหนดบทบาท ความชัดเจนการมีส่วนร่วม ให้หัวข้อเรื่องความเป็นหุ้นส่วนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จะพูดถึงความมีส่วนร่วมอย่างไร บทบาทเป็นอย่างไร ประโยชน์ที่จะได้รับเป็นอย่างไร

การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นต้นทุนอีกประเภทหนึ่ง การพูดเรื่องความมั่นคง

กำลังอำนาจ ความมั่นคงของประเทศมีหลายด้าน เราต้องไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ต้องเชื่อมกับหลายหน่วยงานเช่น สภาพัฒน์ฯ ซึ่งถ้าเราสามารถ Balance ทั้งหมดเราจะบริหารจัดการอย่างไร

ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา ต้องพิจารณาควบคู่กับเศรษฐกิจ สังคม จึงเป็นที่มาของประเด็นเรื่องนี้

การอภิปรายเรื่อง บทบาทความเป็นหุ้นส่วนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

โดย คุณประณีต ถาวร

ผู้แทนภาคประชาชน

ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล

นักวิชาการอิสระ

ดำเนินรายการโดย ดร.ฉัตรชัย อินต๊ะทา นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ สผ.

ดร.ฉัตรชัย อินต๊ะทา

1. ความหลากหลายทางทรัพยากรทางชีวภาพเสื่อมโทรมลง

2. ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรน้ำลดลง

3. ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ ถูกนำมาใช้ประโยชน์เกินศักยภาพที่จะทดแทนได้ทันทำให้เกิดความร่อยหรอ และการจัดการภาครัฐจัดการได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงต้องขอความร่วมมือจากภาคอื่นร่วมเป็นหุ้นส่วนในการบริหารจัดการ

ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล

-แต่ละภาคส่วนจะมีส่วนร่วมการบริหารจัดการอย่างไร ควรมีสัดส่วนเท่าไหร่

-ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศถ้าเรียนรู้ให้ดีจะช่วยในการบริหารจัดการได้

- ทรัพยากรธรรมชาติมีประโยชน์กับเรา และเกิดขึ้นตามทรัพยากรธรรมชาติ มีตัวเชื่อมคือระบบนิเวศที่เป็นขอบเขตของพื้นที่ เป็นพื้นที่ที่มีการอยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต ถ้ารู้แนวทางจะเข้าไปบริหารจัดการได้

- การเชื่อมโยงจะสามารถเชื่อมโยงได้อย่างไร

1. โครงสร้าง รู้แล้ว ก็ทำต่อไป มีองค์ประกอบหลัก ๆ ในระบบนิเวศ คือ โครงสร้าง การทำงานตามหน้าที่ และประโยชน์ที่ให้กับมนุษย์ อย่างเช่น รถยนต์มีโครงสร้างอะไรบ้าง เช่น ล้อ ตัวถัง พวงมาลัย ฯลฯ มีจุดกำเนิดพลังงานคือแบตเตอรี่ ส่วนธรรมชาติจุดกำเนิดคือ พลังงานแสงอาทิตย์ มีภูมิประเทศ สัตว์ป่า ประกอบกัน เป็นต้น สังเกตได้ว่ากระบวนการเกิดจากภายนอกและภายในผสมกัน ตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหาร มีสิ่งที่เป็นแหล่งเรียนรู้และพักผ่อน แต่ละที่เชื่อมโยงกันหมด

การใช้ประโยชน์

1. ไม้ ถ้าบริหารจัดการให้ดี อย่างเช่นไม้ จะช่วยด้านเศรษฐกิจอย่างมาก

ใน 30 ปี จะมีไม้ใช้ไม่รู้จบ แต่ในทางปฏิบัติเราไม่สามารถทำได้

2. น้ำ เป็นปัจจัยร่วมกัน เช่น ฝนตกจำนวนเท่าไหร่เราไม่สามารถควบคุมได้ ต้นไม้จะเป็นตัวแบ่งพื้นที่ฝน และมีภูมิประเทศเป็นตัวควบคุมน้ำผิวดิน และใต้ผิวดิน ลักษณะที่แตกต่าง ถ้าจัดการได้ดีจะทำให้เรามีน้ำใช้ได้ดี

การเก็บกักและการใช้นำของป่าต้นน้ำ

ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้ 687ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ โดยเฉลี่ยเก็บกักน้ำได้ 1,800 ที่เหลือเก็บในดิน และมีการจัดการน้ำใช้ไป

มีตัวควบคุมอากาศ ช่วยควบคุมความร้อนและอากาศของพื้นดิน

สรุป ทรัพยากรแต่ละประเภทในระบบนิเวศเชื่อมกันหมด เราจะทำอย่างไรเมื่อมีผลกระทบขึ้นมา

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทำให้เกิดฝนตกค่อนข้างมาก เช่นนครนายก และปราจีนบุรี ฝนที่ตกมากเกิดจากฝุ่นละออง ดังนั้นจะแก้ปัญหาอย่างไร รัฐบาลต้องทำให้ได้ว่ากำหนดปริมาณน้ำฝนแต่ละพื้นที่จะทำอย่างไร

วิธีการ

1. สร้างกระบวนการเรียนรู้

2. กลไกต่าง ๆ ต้องจริงจัง ตรงไหนหยุดได้ และตรงไหนหยุดไม่ได้

3. พื้นที่รองรับไม่สมบูรณ์ ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคประชาชน และเมื่อมีกลยุทธ์ให้อยู่รอดปลอดภัย แล้วหลังจากนั้นถึงเริ่มการสร้างความไว้วางใจร่วมกัน

การพัฒนาแบบจำลอง ทั้งการเตือนภัย มูลค่า พื้นที่ป่า การทำโครงการหลวง มี Model สำเร็จรูป มีพื้นที่ทำกินที่พอเพียง มีเงินทุนในการสนับสนุน จะช่วยให้บรรลุเป้าหมาย

วิธีการ

1. พื้นที่ป่าจะรักษาอย่างไร ดูแลอย่างไร

2. พื้นที่เสื่อมโทรมทำอย่างไร

3. พื้นที่เกษตรจะมีรูปแบบอย่างไร สามารถใช้โปรแกรมในการคำนวณได้อย่างไร

ประชาชนต้องเข้ามาทำงานร่วมกัน

พยายามสนับสนุนให้มีพื้นที่มากขึ้น

สิ่งที่ทำสามารถตอบแทนประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน

ตัวอย่าง พื้นที่ดำเนินโครงการ CPF ที่จ.ชุมพร ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกป่าชายเลนที่อ่าวสน เอาโปรแกรมของ สพพ.ที่กระทรวงฯ มีการประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อม

SCG ทำเยอะ แต่ที่เห็นชัดเจนคือเขายายดา พยายามส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้ฝายชะลอน้ำ

ในภาพรวมยังมีการบริหารทั้งเขา มีพื้นที่ที่ยังไม่สมบูรณ์ สร้างฝายชะลอน้ำ

การหาข้อมูลเพื่อประชาชน มีการวางหลักสูตรให้กับเด็กและสิ่งแวดล้อมว่า เด็กควรจะรู้อะไร มีการประชุมกัน มีแนวทางในการทำระหว่างนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ SCG และกลุ่มต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อร่วมร่างหลักสูตรการปฏิบัติและทดลองทำเพื่อได้เนื้อหาที่จะวางให้กับชุมชน มีการขยายจากชุมชนรอบเขายายดา ออกมาว่าจะทำอย่างไรในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

ให้มีกองทุนในแต่ละหมู่บ้านไปทำ ให้หมู่บ้านละ 50,000 บาท

สรุปการทำมาแต่แรก คิดว่า ถ้าหมดโครงการฯ หรือหมดเงินแล้วประชาชนจะสามารถยืนได้ด้วยตนเองหรือไม่ จึงย้อนกลับมางานวิจัยที่ทำร่วมกับอุทยานฯ ซึ่งถ้าทำโครงการร่วมกับชาวบ้าน ชาวบ้านก็จะสามารถยืนอยู่ได้เอง การจัดให้โครงสร้างเป็นป่าโดยธรรมชาติ ผลผลิตที่เกิดขึ้นไม่เพียงพอ ทำอย่างไรถึงจะชดเชย ทำให้มีความยั่งยืนอยู่ได้

ดร.ฉัตรชัย สรุป

โครงการในภาครัฐ สนับสนุนความสำคัญประชาชนให้รู้ว่าทรัพยากรอันไหนเอาไปใช้ได้ องค์กรภาคเอกชนที่ได้ไปสนับสนุนร่วมกัน โครงการที่จะดำเนินการต่อเนื่องให้กับชุมชนได้ ชุมชนจึงเห็นความสำคัญและสืบเนื่องต่อไปในอนาคต และเห็นว่าประชาชนจะมีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ดี ควรดูว่าคนจะมีบทบาทอย่างไรในการจัดการอนาคต

คุณประณีต ถาวร

จะอยู่ร่วมกับประชาชน และจะให้อปท.มีส่วนร่วมอย่างไร ทุกวันนี้เราต้องเข้าใจที่มาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน เนื่องจากเทศบาลเกิดจากชาวบ้าน งานที่กำหนดให้เทศบาลมี 3 ประการ คือ

1. การคมนาคมทางบกทางน้ำ

2. ความสะอาดคือขยะมูลฝอย

3. แสงสว่างทางเดินให้ประชาชนปลอดภัย

การจัดตั้งเทศบาลในสมัยก่อน ตั้งเป็นเมืองที่มีความเจริญพอสมควร ไม่ได้ตั้งเป็นป่า ปัจจุบันอาจมีการปรับตัว เทศบาลบางแห่งมีป่าเป็น 100-1,000 ไร่ ก็มี

ในปีพ.ศ. 2537 ได้เกิด อบต.ขึ้นมา กฎหมายได้เปิดโอกาสให้ อบต. ว่าให้มีหน้าที่คุ้มครอง ดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมาเมื่อ อบจ. เกิดขึ้นก็มีเหมือนกัน

กฎหมายกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 เทศบาลและอบต. มีหน้าที่ร่วมกันในการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนอบจ.มาตรา 17 มีหน้าที่ ร่วมกันคุ้มครองในการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

สิทธิชุมชน

ประชาชนมีสิทธิร่วมคิด ร่วมทำและใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

อปท. มีหน้าที่ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายบัญญัติ มีการบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ และอาจมีการทำนอกพื้นที่ได้

อปท. ต้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาโครงการทั้งในและนอกพื้นที่ ต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ

สมัยรัฐบาลท่านสมัคร สุนทรเวช เริ่มยกย่องท้องถิ่นใหม่ ทำกฎหมายให้แล้วเสร็จ ตั้งแต่รัฐบาลแถลงต่อสภาฯ

การเปลี่ยนรัฐบาล ได้มีการชี้แจงรัฐบาลใหม่ว่าจะเอาหรือไม่กับกฎหมายฉบับนี้

สิ่งที่อยู่ในพื้นที่ มีปัญหากับการปฏิบัติ อย่างเช่นป่าไม้มีเจ้าหน้าที่ 2-3 คนจะมีกำลังเพียงพอกับคนตัดไม้หรือไม่ จึงต้องอาศัยความร่วมมือ และการสร้างจิตสำนึก

ปัญหาที่พบคือ

1. ขาดองค์ความรู้ ต้องหมั่นอบรม หมั่นเรียนรู้

เต่าเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่ง ในโลกเรา มีคน สัตว์ น้ำ ดิน ต้องมี 5 สิ่งในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

2. ป่าชุมชน เริ่มให้มีการเรียนรู้จากการปิดทองหลังพระด้วย ให้สามารถใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนด้วย มีการนำร่องมาใช้ให้เกิดประโยชน์เต็มที่ มีการสำรวจร่วมกับป่าไม้ ว่าในป่าชุมชนมีไม้อะไรบ้างจำนวนกี่ต้น เจตนารมณ์ไปสู่โครงการลดเมืองร้อนด้วยมือเรา มีเจตนาให้เกิดพื้นที่สีเขียวเพื่อลดการใช้พลังงานฟุ่มเฟือย

ป่าชุมชนหลายแห่งเมื่อได้รับการดูแลอย่างดีแล้ว ประชาชนควรมีส่วนจากการใช้ประโยชน์ด้วย เช่นการเก็บเห็ด การเพิ่มข้าราชการไปรักษาทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มเท่าไหร่ไม่พอ

ประเทศไทย เศรษฐกิจนำ และสิ่งแวดล้อมตาม ตัวอย่างการปลูกต้นไม้ จึงต้องเน้นการปลูกต้นไม้เพื่อให้รอด ไม่ใช่แค่ปลูก

การพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

- การปลูกต้นไม้ เช่น ต้นหว้า เป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีห่วงโซ่อาหาร

- การคิดของชาวบ้าน เป็นภายใต้ความปรารถนาดี และเพื่อสิ่งที่เขาเป็นอยู่

- ความเป็นประชาชน เป็นคนท้องถิ่นเขาจะรักท้องถิ่นของเขา ถ้าเราสามารถสร้างกติกา และหลักเกณฑ์ร่วมกันได้ จะเป็นสิ่งที่ดี

การแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ดร.จีระ กล่าวว่า ครั้งที่ 1 มีคนเข้าร่วมประชุมมาก ร่วมแสดงความคิดเห็นว่า คนไทยมีปัญหาเรื่องการนำแผนไปสู่ปฏิบัติ เราควรเน้นความต่อเนื่อง ส่วนการประชุมครั้งที่ 2 พบว่าเป็นการพูดที่ตรงประเด็นคือพูดถึงหุ้นส่วน และ End Result ของคนไทย ในมุมเศรษฐกิจ สังคมมีความกระเตื้องขึ้นหรือไม่ ซึ่งถ้าผนึกกำลังกัน และมุ่งไปสู่ยุทธวิธีในการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ จะทำให้ไปได้ คนไทยควรผนึกกำลังกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และสนใจในความหลากหลาย เราต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำความรู้ (Knowledge) ต้องเอาไปใช้ให้ตรงประเด็นที่สุด

เราต้องมี Achievement ไม่ให้เสียเวลามาก และต้องเน้นความต่อเนื่อง อย่าทำตัวแบบทำไปเรื่อย ๆ ต้องเน้นการวัดผล

ข้อสงสัยคือ

1. Definition ของทรัพยากรธรรมชาติ ทางกระทรวงฯให้ไว้ว่าอย่างไร ด้านพลังงานหมายความอย่างไร เพราะมีประเด็นเรื่อง ปิโตรเลียมที่ขัดแย้งกับสังคมในทุกวันนี้ ขอถามว่าสิ่งที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำนั้นครอบคลุมกับปิโตรเลียมหรือไม่

ดร.พงษ์ศักดิ์กล่าวว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่เป็นข้อตามกฎหมาย ปิโตรเลียมเกิดจากทรัพยากรธรรมชาติ แต่การระบุเพื่อนำมาใช้จะมีกฎระเบียบหรือ Definitionต่างหาก

รองเลขาธิการฯ พงษ์บุณย์ กล่าวว่า ปิโตรเลียมเป็นทรัพยากรธรรมชาติ แต่การปฏิบัติตามแผน กระทรวงพลังงานจะเป็นคนดูแลอยู่ แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ จะดูว่าใช้อย่างไรไม่ให้เกิดผลต่อสิ่งแวดล้อม ต้องมีนโยบายยุทธศาสตร์ด้านพลังงานเช่นกัน

ดร.จีระ กล่าวว่า ต้องแยกบทบาทหน้าที่กระทรวงฯ นี้กับด้านพลังงานอยู่ตรงไหน

2. ถ้ากำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถ้าเรากำหนดโดยสภาพัฒน์ฯ หรือทุกหน่วยที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมมือกัน

ดร.จีระ กล่าวว่า ต้องเน้นการบูรณาการในการทำงานร่วมกัน เราเป็นสังคมไม่เรียนรู้ เน้นแต่ทำงาน มี LO จึงต้อง Relevance กับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง

ผอ. ธัญชนิต กล่าวว่าการทำแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องมองทุก Sector ที่เกี่ยวพัน การทำแผนต้องมองแผนยุทธศาสตร์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยว่ามีเป้าหมายอะไร จะได้ตอบโจทย์ไปในทิศทางที่เกี่ยวข้อง ใช้ในโจทย์ของแผน 12 ด้วย ส่วนเรื่องปิโตรเลียม เป็นเฉพาะเรื่อง เป็นส่วนของพลังงานที่ต้องดูแลอยู่แล้ว การทำแผนให้ทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ต้องมองในเชิงภาพรวมและการบูรณาการ ด้านทรัพยากรธรรมชาติต้องปกป้องและดูแลให้ดีขึ้น ต้องมองว่าทำให้ทรัพยากรได้รับความเป็นธรรมได้อย่างไรคือสิ่งที่จะต้องนำมาผนวกกันอีก

รองเลขาธิการฯ พงศ์บุณย์ กว่าวว่า นิยามทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่อยากให้แยกระหว่างเมืองกับป่า นิยามคือทั้งประเทศและโลกคือต้องสัมพันธ์ระหว่างเมือง อุตสาหกรรม และอื่น ๆ การทำแผนคิดกว้าง ๆ แผนใหญ่ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องแตะตรงนี้ด้วย ทั้งคน ทั้งน้ำ และสิ่งต่างๆ

แผนใหญ่ มีสภาความมั่นคง และสภาพัฒน์ฯ และแยกมาตามแต่ละกระทรวงฯ แต่ก็มีการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน

คุณประณีต กล่าวว่า ส่วนเทศบาล พยายามที่จะขยายโครงการอย่างปิดทองหลังพระ ทำเรื่องหนึ่งและส่วนหนึ่ง โครงการสันนิบาตและสิ่งแวดล้อมก็ทำอีกส่วนหนึ่ง แต่จะให้ไปพร้อมกันทีเดียวอาจเป็นเรื่องยาก แต่ต้องยอมรับว่าองค์ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมค่อนข้างน้อย

ผอ. ธัญชนิต กล่าวว่าป่าชุมชน มีการเรียนรู้หรือไม่ที่จะสร้างผลประโยชน์กับท้องถิ่นเอง เป็นปัญหาหรือไม่ที่คิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ และไม่ฟังเสียงประชาชน

คุณประณีต ตอบว่า เป็นไปไม่ได้เพราะเทศบาลได้รับการคัดเลือกมาจากประชาชน

ดร.พงษ์ศักดิ์ ถาวร กล่าวว่าการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คนในท้องถิ่นน่าจะมาช่วยได้ โครงสร้างใครใช้ประโยชน์ได้มาก ใครใช้ประโยชน์ได้น้อย ที่ดิน ต้นน้ำ บ้านเรือน สัตว์ป่า ได้ประโยชน์โดยตรง ถ้าการใช้ประโยชน์เกินขอบเขตจะส่งผลกระทบในทางลบได้

ชุมชนได้อะไร จะเป็นเรื่องการท่องเที่ยว ป่าไม้กับภูมิประเทศชื่นชม ใครได้ประโยชน์ ใครได้ผลกระทบ แล้วมาจัดเป็นหุ้นส่วน ถ้าพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ผลกระทบจะลดลงตาม ต้องพิจารณาให้ดี เอาผลกระทบมาประเมินหาสัดส่วนความเป็นหุ้นส่วนของแต่ละภาคส่วนว่าควรเป็นเท่าไหร่

คุณประณีต ถาวร กล่าวว่า ถ้ากฎหมายมีความชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ คนยังมีความรัก ความใส่ใจทรัพยากรธรรมชาติก็ยังคงอยู่ แต่ต้องให้ความรู้ ความเข้าใจกับเขาที่มากขึ้น ๆ ถ้าไม่มีองค์ความรู้ตรงนี้จะลำบาก ต้องให้ความรู้ต่อเนื่อง ต้องให้ท้องถิ่นไปร่วมมากกว่า 1 คน ต้องให้โจทย์ให้ท้องถิ่นมีส่วนได้ส่วนเสีย เช่นวิถีชีวิตของปากปาราเป็นอย่างไร จะให้ประโยชน์อะไรบ้างกับการทำท่าเรือน้ำลึก ชาวบ้านไม่ดื้อ แต่การให้ความเข้าใจสวนทางกับภาครัฐ ต้องดึงคนไปมีส่วนร่วมมากขึ้น และขอให้ทำต่อเนื่อง ไม่อยากเห็น การทำ Event ที่มีมาแล้วผ่านไป ขอให้จับมือร่วมกันต่อไปเรื่อย

สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำประเด็นยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทรัพยากรธรรมชาติเป็นเครื่องมือเศรษฐกิจของประเทศ ในทางเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติต้องไปเชื่อมกับทรัพยากรมนุษย์ สามารถขับเคลื่อนประเทศได้ การสะสมจะเกิดค่านิยมการปลูกฝังการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแทนการรักษา การผนึกกำลังเพื่อเปลี่ยน Mindset ของทรัพยากรของประเทศไม่ให้ใช้อย่างฟุ่มเฟือย

ปัญหาที่เรียกว่าการสมดุล เป็นสิ่งที่ต้องศึกษา

การร่างแผน ไม่ได้หาข้อเท็จจริงอย่างเดียว แต่ควรคิดถึง End การบริหารจัดการจะบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร ควร Turn idea into action และ Turn action into success

หุ้นส่วนในการทำให้ทรัพยากรธรรมชาติไม่เสื่อมโทรมลงไป เป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้แก่ลูกหลานในยุคต่อไป

กระทรวงฯทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องเป็น Partnership กัน ในอนาคตถ้ามีราชการ มีหลายกระทรวงฯ ต้องทำงานร่วมกัน นักธุรกิจ ผู้นำท้องถิ่น นักวิชาการ ในอนาคตข้างหน้า อาจร่วมมือกับต่างประเทศมากขึ้น

ข้อดีของการทำงานครั้งนี้ คือการได้เชิญบุคลากรหลายด้านเข้ามา เพียงอยากให้มีส่วนร่วม มาครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ในอนาคตอยากให้หุ้นส่วนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันคือต้องทำงานต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ใช้แนวของ ดร.จีระ ที่ทำเรื่องคน

ปัญหา และอุปสรรค ต้องมี Achievement บางอย่าง ต้องมีอุดมการณ์สร้างเยาวชนให้รัก และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

ความสำเร็จ น่าจะเป็นจุดสำคัญ การร่างแผนอย่าลืมเรื่องอาเซียน เพราะเป็นตัวที่ทำให้หลุดจาก Comfort Zone การเรียนรู้จากเขา ระบบการศึกษาที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ไม่ใช่เป็นสังคมที่ไม่ดี อย่าบ้าแต่เรียนปริญญาเอกแต่ไม่รู้จักนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

การสร้างคุณธรรมจริยธรรม ด้านต่าง ๆ ให้ต่อเนื่อง และมีค่านิยมที่เหมาะสม จังหวะของการร่างแผนครั้งนี้ ต้องดูสถานการณ์ของการปฏิรูปด้วย ไม่ใช่ให้เข้ามาแค่มีส่วนร่วมอย่างเดียว

สุดท้าย การทำงานเรื่องทุนมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงฯ ต้องหาคนที่เป็นแบรนด์ ที่ขับเคลื่อน และต้องกัดไม่ปล่อย ต้องมีองค์กรเอกชน หรือภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาร่วมด้วย

ทุนมี 4 ชนิด คือทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพย์สินทางปัญญา และทุนทางทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งพบว่าทุนทั้ง4 ชนิดนั้นมีเรื่องเงินมากเกี่ยวข้อง กระทรวงดิจิตอล ถ้านำทรัพยากรทุน 4 ตัวมารวมกัน ให้เห็นความสัมพันธ์แบบยุทธศาสตร์จะเป็นประโยชน์

จึงควรมีนักวิชาการที่ดี ปราชญ์ชาวบ้านที่ดี เป็นองค์ประกอบด้วย ดร.จีระ และทีมงานจะเป็นปราชญ์เล็ก ๆ ที่ทำต่อไป

หลายกลุ่มบอกว่า มีแผนแต่ปฏิบัติไม่เป็น อยากให้ใช้ศักยภาพของตนเอง ในการดำเนินการและกัดไม่ปล่อย อยากให้เอาประเด็นการสร้างความเข้าใจและจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีการนำเรื่องกฎหมาย เรื่อง R&D และการบูรณาการระหว่างกระทรวงฯ ด้วยกัน

จุดอ่อน

การทำ Internal environment ยังไม่ค่อยดี คนขาดสังคมการเรียนรู้ ขาดการทำงานเป็นทีม ยังไม่ข้าม Silo และไม่มีการบูรณาการ

อะไรก็ตามที่ทำสำเร็จแล้วควรจะทำต่อ ควรดูว่า Stakeholder ที่เป็นแนวร่วม หรือ Customer ต้องทำอะไร และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือต้องพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของข้าราชการให้ดี

หุ้นส่วนต้อง develop ให้ต่อเนื่อง เมื่อเจอปัญหาการเมืองและเอาชนะอุปสรรคกัน ให้ทุกคนรักชาติ รักสิ่งแวดล้อม ใช้ informal network สำคัญที่สุด

ต้องสร้างความไว้ใจ Trust ซึ่งกันและกัน และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ต้องไม่ติดยศ และสร้าง Capacity ให้มากขึ้น ให้มีปัญหา คุณธรรมจริยธรรม และเครือข่ายความยั่งยืน แล้วคนในห้องนี้จะรอด

อยากให้วิ่งไปที่ 3 V ร่วมมือกันคิดว่ามีอะไรบ้างที่กระเด้งไปจากศูนย์ หรือติดลบ และพุ่งสู่ข้างหน้าได้ เราต้องแชร์ความแตกต่าง และกระตุ้นให้ทุกคนคิดร่วมกัน ให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

จากการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่แล้วที่ สิ่งที่จะดึงสู่ประเด็นยุทธศาสตร์มีเรื่องบทบาทภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ภาครัฐ มีส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น การออกกฎหมาย การวางนโยบาย และวางแผน โดยต่างฝ่ายต่างทำ ในภาคเอกชน นั้นเป็นประชาสังคมและประชาชน มีเรื่องภาคธุรกิจกับเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นทั้งพระเอก และผู้ร้าย

ประเด็นที่พบจากการประชุมครั้งที่แล้ว มีเรื่องผู้ประกอบการเอกชน มีภาคการเมืองเข้ามาแทรกทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นในการช่วยแก้ไขปัญหา ส่วนในภาควิชาการ จะเป็นผู้ให้ความรู้ ทำวิจัย R&D และพัฒนา สู่การสร้างจิตสำนึก

ปัญหาและอุปสรรค ในภาครัฐ ขาดความเป็นเอกภาพ มีการอนุมัติโครงการที่ขัดแย้งกับนโยบายการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ มีข้อยกเว้นต่าง ๆ โดยใช้ข้ออ้างทางกฎหมาย ประชาชนเป็นหุ้นส่วนสำคัญ ภาควิชาการปัญหาและอุปสรรคคือไม่ได้นำองค์ความรู้หรือการวิจัยมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

มีภาคการเมืองมาช่วยเรื่องการหาประโยชน์และรายได้ แต่ไม่มีนายทุนเข้าไปช่วยสนับสนุนต่อ

ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกันเรื่องการสร้างแนวทางการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วน กำหนดสู่ความรับผิดชอบและบรรลุสู่ผลสำเร็จจริง เน้นความต่อเนื่อง การบูรณาการ และความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน การให้เกียรติ ความเสมอภาค ให้คนมีศักยภาพมากขึ้น

การประชุมกลุ่มย่อย

1. สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในส่วนของ สปก. 35 ล้านไร่ พื้นที่มีหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลอยู่ เน้นเรื่องที่ดิน ที่ป่า น้ำ

พื้นที่ตรงนี้จะนำผู้ที่มีส่วนร่วมมาบริหารงานกับภาครัฐนั้น มีความเห็นด้วยอย่างยิ่งเนื่องจากใกล้ชิดกับพื้นที่ แต่หน่วยงานที่จะมาดูแลเป็นหุ้นส่วนที่ไม่มีเงินจะทำงานได้ยาก จึงอาจต้องช่วยกันคนละด้าน

การนำงบประมาณให้ทางท้องถิ่นใช้จ่ายดูแลส่วนนี้ให้ตรงกับระยะเวลาที่เหมาะสม ให้มีการใช้งบประมาณถูกต้องกับเวลา และส่งให้เกิดผลประโยชน์เต็มที่

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ ได้กล่าวเสริมว่า ถ้าลำดับของการจัดการ ถ้าไม่ถูกต้องจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

2. สำนักอุทยานแห่งชาติ ได้เข้าไปในพื้นที่ปฏิบัติการหลายแห่ง ช่วงหลังมีโครงการที่น่าสนใจ เป็นโครงการที่กรมอุทยานได้สนับสนุนเงิน 50,000 บาทให้ชุมชนให้เขาคิดเอง ทำเอง โดยหน่วยงานรัฐไปจัดการ มีกิจกรรมหลายอย่างด้านการอนุรักษ์และดูแลสิ่งแวดล้อม และได้เข้าไปสัมผัสหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน

มีคำถามว่า...การให้เงิน 50,000 บาทกับชุมชนและชุมชนดูแลรักษาป่า แล้วปล่อยชุมชนดูแลรักษาป่าเองสมควรหรือไม่ และจะมีความยั่งยืนหรือไม่กับสิ่งที่รัฐให้ได้ ดั้งนั้น เงิน 50,000 บาท ควรมีการประเมินว่าค่ารักษาทรัพยากรธรรมชาติจริง ๆ เท่าไหร่ และสิ่งที่ได้รับควรมีมูลค่าเท่าไหร่ หน่วยงานรัฐบาลควรเข้าไปดูและคิดใหม่ ทำใหม่ ดูแลเพื่อให้น้ำใส สะอาด กับคนข้างล่างและช่วยอะไรบ้าง ให้คนข้างล่างมีบทบาทในการดูแลบ้าง และจะทำอย่างไรให้หมู่บ้านกับองค์กรเจอกันโดยเกื้อหนุน และสนับสนุนกันเอง องค์กรอาจมีความภูมิใจในการสนับสนุนดูแลรักษาป่าเอง และควรเสนอแนะวิธีการที่จะทำอย่างไรถึงจะได้รับการสนับสนุน

การดูแลรักษาป่าข้างบนทำเพื่อตัวเอง และทำอย่างไรถึงกระทบไปถึงคนข้างล่างได้ด้วย ตัวอย่างเช่น การปลูกข้าวโพดทำรายได้ให้เท่าไหร่ รายได้ 2,000 บาท ต่อไร่ต่อปี ถือว่าเป็นรายได้ที่ไม่มาก

การออกกฎระเบียบในการจัดเก็บเมืองสิ่งแวดล้อม โครงการหญ้าแฝก หลายชุมชนเห็นว่าเป็นโครงการในหลวงฯ ก็นำไปทำให้ มีการดูแลรักษาป่าให้อย่างดี แต่พอทำไป 2-3 ปี มีเสียงตอบกลับมาว่าปลูกข้าวยังไม่มีเงินแล้วปลูกแฝกจะได้อะไร เนื่องจากไม่รู้วิธีการการหารายได้ที่พอเพียง ต่อมาจึงได้มีการเสริมรายได้จากผลิตภัณฑ์หญ้าแฝก จัดเป็น Case Study เล็ก ๆ ให้กับหน่วยงานราชการหรือชุมชน

ขอให้อยู่ได้เพราะชุมชนของเขาก็รักเขา

องค์กรที่ไม่อยู่ในวันนี้ ทำเรื่องชุมชนให้มีส่วนร่วม ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติช่วยดู

3. จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มองว่าหลายครั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่เป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาตินั้นจะมีบทบาทดูแลตรงนั้น แต่ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของทุกคนดั้งนั้นทุกคนจึงควรมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา ตัวอย่างเช่น ทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลนกเงือกในผืนป่า แล้วชุมชนจะได้ประโยชน์ร่วมกันจากการดูแลนกเงือก ให้เป็นลักษณะการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนความคิดคือ ทรัพยากรไม่ใช่ของรัฐ แต่เป็นของทุกคน

4. กรมป่าไม้ ได้มาประชุมในครังแรกด้วย เลยได้รู้แนวคิดของแต่ละกลุ่มว่ามีกระบวนการการสร้างความมีส่วนร่วมแต่ละภาคส่วนจริง ๆ กรมป่าไม้มีการดำเนินการด้านการป้องกันและปราบปราม บทบาทของกรมป่าไม้ได้มีการปรับรูปแบบการดำเนินงานของกรมฯให้เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม จัดศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ป่าแห่งชาติ มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปในกลุ่มป่า การส่งเสริมบุคคลากรให้มีความรู้ทุกด้าน และเข้าไปสู่ท้องถิ่น ให้มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์และมีการสร้างเครือข่าย มีอาสาสมัครพิทักษ์ป่า ด้านการป้องกัน ก็มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมด้านการป้องกันและปราบปรามให้ประชาสัมพันธ์ให้คนในพื้นที่ได้ทราบเรื่องการป้องกันป่า

กรมอุทยานมีงานเยอะมาก แต่ขาดการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ไปสู่การใช้งานที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรมีโครงการใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้เด็กกับประชาชนใช้ประโยชน์มากขึ้น

5. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ มีการทำงานร่วมกันหลายเรื่องกับ สผ. ในการปฏิบัติมีการเชื่อมโยงกันในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เรื่องเหมืองแร่เป็นภาครัฐ มองในทั้งภาพบวกและภาพลบ ในส่วนเรื่องการมีส่วนร่วม พยายามเพิ่มความสัมพันธ์ในทุกภาคส่วน มีการตั้งประชาคมในพื้นที่ตั้งและหมู่ที่ตั้งเป็นการประชาคมในลักษณะของคนที่เข้ามาในพื้นที่ได้ ต้องมีการจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียเวลาในการให้ทำประชาคม

ปัญหาการร้องเรียนการมีส่วนร่วม คนที่ไม่รู้เรื่อง ไม่แสดงความเห็น เป็นกระบวนการส่วนหนึ่ง ที่ต้องทำ เป็นกระบวนการที่เป็นจุดอ่อนของการทำกระบวนการ

มีการอธิบายในวิธีการ มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาสุขภาพ มีการฟื้นฟูกองทุนพื้นที่ทำเหมือง มีการเฝ้าระวังด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง มีกองทุนพัฒนาหมู่บ้านและการทำเหมืองแร่ เป็นการค้าขายเบื้องต้น กองทุนด้านการส่งเสริมสุขภาพตั้งไว้ในวงเงิน 2 แสนบาทต่อปี กองทุนพัฒนาหมู่บ้านตั้งไว้ 5 แสนบาทต่อปี มีการร่วมกับนโยบายของกระทรวงในการดำเนินการ

การตรวจสุขภาพ วงเงิน 5 แสนบาทต้องใช้ทุกปี แต่พอมีเงินเกี่ยวข้อง ชุมชนโดยรอบอยากเข้ามาอยู่ด้วย แต่กรมฯ ไม่ได้เข้าไปยุ่ง กรมฯ วางกรอบไว้อย่างเดียว ที่ทำกองทุนไม่ได้ทำเรื่องใหม่ แต่เป็นการทำแบบไม่ได้ตั้งโชว์ขึ้นมา ซึ่งเป็นภาพลบที่อยากประชาสัมพันธ์ให้ถึงเพื่อเป็นการดึงภาพลักษณ์ที่ดีกลับมา

ด้านทรัพยากรแร่ธาตุในพื้นที่ลุ่มน้ำมีปัญหาเยอะ

พื้นที่ป่า เจ้าของคือกรมป่าไม้ มีผู้เข้าไปครอบครองที่ดิน ขอให้กรมฯ ช่วยประสานกับส่วนที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ป่าต้องยินยอม ต้องเห็นชอบ ป่าไม้ต้องเคลียร์กรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครองก่อน ป่าไม้ถึงยินยอม

กรมฯ พยายามอย่าอนุญาตการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีความขัดแย้ง ผู้ประกอบการต้องไปเคลียร์สิทธิ์ตรงนี้เอง เนื่องจากมีกรอบไม่ชัดเจนจึงเป็นปัญหา สิ่งที่ควรทำคือควรมีการดำเนินการเพื่อวางกรอบให้ชัด

ด้านเหมืองแร่ การเพิ่มศักยภาพและการคัดเลือกคนเข้ามาบริหารจัดการอาจมีปัญหา คณะกรรมการเข้ามาทีหลัง ต้องยอมรับว่าในเหมืองแร่ มีการบริหารจัดการในพื้นที่คนละส่วน เรากำลังปรับปรุงอีกหลายส่วน หลายส่วนกำลังพัฒนา เป็นตัวระเบียบหรือเงื่อนไขที่เพิ่มมากขึ้น

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ กล่าวเสริมว่าเรื่องการตั้งกองทุน จ่ายค่าชดเชย และเรื่องสุขภาพ งบประมาณมีมาตรการทางภาษีที่ต้องจ่ายเรียกว่า CSR สามารถดึงตัวอย่างไปใช้ได้ ทุกท่านที่พูดมายังขาดเรื่องประชาสัมพันธ์ การรับรู้เข้าใจ การมองต่างมุม และประโยชน์เกี่ยวข้อง

6. งานด้านทรัพยากรป่าไม้ และนำมาสู่ทรัพยากรอย่างอื่น เรื่องแรกคือ Capacity Building การวิจัย น่าจะเป็นลักษณะการวิจัยป่าไม้ แต่ยังไม่ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง ป่าเป็นป่าของหลวง เป็นป่าของรัฐ มอบให้หน่วยงานบางส่วนเป็นผู้ดูแลหลัก รัฐธรรมนูญก่อนหน้า เชื่อว่าปี 2558 อาจกำหนดสิทธิชุมชน อาจเข้มข้นกว่าปี 2550 ด้วยก็ได้ ต้องยอมรับการเป็นหุ้นส่วนของภาคประชาชน และประชาสังคม ให้มากขึ้น การมี Barrier ให้เชื่อมโยงไปสู่เป้าหมาย

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติไม่มีใครไปเปลี่ยนข้อมูลได้ ต้องมีการบอกประชาคมในเรื่อง Management เรื่อง Horizontal link พื้นที่ป่ามีพอหรือไม่ ส่วนที่ขาดมาก ๆ คือป่าเศรษฐกิจ ความต้องการมีมาก และแนวโน้มมากขึ้น สินค้าเป็น Eco Product มีการนำเข้าไม้จากต่างประเทศมา ทั้ง ๆ ที่เราเป็นเมืองที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์

การทำการเกษตรเข้มข้น ภาคเหนือต้นน้ำใหญ่ ๆ ต้องมีป่า จังหวัดในแม่ฮ่องสอนเยอะมาก อยากให้ดูแลและเสริมศักยภาพทางป่าเศรษฐกิจ

ก๊าซ แอลพีจี ที่แพงขึ้นต้องไปพึ่งฟืนตามเดิมด้วย เพื่อจะ Take Balance แต่อาจจะไม่ทันต้องดูดี ๆ

7. กรมพัฒนาที่ดิน ขาดการดูแลดินที่มีอยู่แล้ว อย่างหนึ่งคือทรัพยากรดิน เรื่องการทำงาน ประเด็นหลัก มี 2 ประเด็นคือ แผนทุกแผนดีทุกแผน แต่ทำไมถึงไม่ประสบความสำเร็จ จะ Turn Idea into action อย่างไร คิดดี แต่ทำไม่ได้ เป็นในเรื่องการบริหารและการจัดการ เสนอข้อคิดดีอย่างไรแต่ไม่นำไปใช้ก็จบ การบริหารจัดการเป็นสิ่งสำคัญ เขียนดี พยายามล้อเลียนจากพันธกิจ วิสัยทัศน์ทุกอย่าง แต่ไม่ได้มีผลที่ดีเกิดขึ้น

ทำอย่างไรให้ดินดีขึ้น ปลูกพืชดีขึ้น ขายของได้ แต่ปัญหาที่พบคือเกษตรกรยังไม่มีกิน

การทำงาน งานนโยบายไปเร็วมาก งานวิจัยเขียนเสนอขอทุนยังไม่ได้ งานชัดเจน นโยบายมองว่าฉาบฉวยไม่เข้าถึงเกษตรกรจริงๆ เกษตรกรไม่อยากทำตามที่เจ้าหน้าที่บอกเพราะรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีความเข้าใจเรื่องเกษตรอย่างแท้จริง

ผู้บริหารเข้าใจหรือไม่ เจ้าหน้าที่ต้องเข้าใจด้วย เช่นสังคมคาร์บอนต่ำ พูดอีกระดับแต่ไม่ถึงผู้ปฏิบัติ พูดดีมาก แต่ปฏิบัติใช้ไม่ได้เลย มีการพัฒนาที่ดินเยอะมาก มีการติดตามทุกปี มีการประเมินดีมาก มีกี่รายที่คนที่อยู่ในเขตพัฒนาที่ดินดีใจ

การจัดอีเวนท์ ทำไมไม่จัดพื้นที่ที่มีปัญหา ถ้าออกไปจัดอีเวนท์ที่อื่นน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า ให้เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส ทำให้เกษตรกร รู้สึกหวงแหนที่ดินทำกิน บางพื้นที่มีนายทุนครอบครองพื้นที่อยู่ พยายามไปพัฒนาแต่พัฒนาไม่ได้ ทำอย่างไรถึงทำได้ พื้นที่ที่ถือครองมีปัญหาต่อพื้นที่ข้าง ๆ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า

ต้องมี Thinking Skill และ Enjoy learning อยากให้มีการ Share ความคิดกัน และไปต่อยอด Value Diversity เพื่อให้เกิดความหลากหลาย และแปลงความหลากหลายไปสร้างคุณค่า

คนในห้องนี้ต้องมีประเด็นในการพูดหลายเรื่อง อยากให้มี Passion ในการขึ้น และต่อยอด

ความแสดงคิดเห็น (ช่วงบ่าย)

1. ตัวแทนจากTDRI มองว่าอปท.มีส่วนสำคัญในการนำแผนสู่การปฏิบัติได้ มีบางอปท. ที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ในการทำให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ถ้าสามารถโน้มน้าวผู้บริหารให้ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะทำให้แผนขับเคลื่อนไปได้ดี

2. ตัวแทนจากกรมการท่องเที่ยว มองว่าบทบาทด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เราดูด้านพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ดูการปรับปรุงภูมิทัศน์ พยายามสร้างอะไรที่เน้นเรื่องความมั่นคง พยายามทำให้กลมกลืนกับธรรมชาติ เข้าไปส่งเสริมแนะนำความรู้ให้ชุมชน พื้นที่ กรมอุทยาน ให้ความรู้ ให้ข้อมูล โดยเข้าร่วมจัดทำแผน ติดตามการทำงานร่วมกัน ด้านการท่องเที่ยว มุ่งเน้นนักท่องเที่ยวด้านการอนุรักษ์ ไม่ทำลายแหล่งท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวได้รู้และเข้าใช้บริการแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสม ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง งบประมาณมีไม่เพียงพอ ด้านบุคลากรเรื่องชุมชน เจ้าของแหล่งท่องเที่ยว งบประมาณที่จะได้รับน้อย มุ่งเน้นการพัฒนามากกว่า

แหล่งท่องเที่ยวแต่ละที่ พอรัฐถอยมา ชุมชนหรือแหล่งท่องเที่ยวไม่สามารถดูแลแหล่งท่องเที่ยวได้

แนวทางการส่งเสริมการแก้ไขปัญหา กรมการท่องเที่ยวทำแผนจัดการการท่องเที่ยวในระยะ 3 ปี จะนำข้อมูลไปใส่ในแผน 3 ปีที่กำลังดำเนินการอยู่ งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ ก็จะจัดตั้งงบประมาณเพิ่มขึ้น มุ่งเน้นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศมากขึ้น มุ่งเน้นหน่วยงานภาครัฐให้มี่ความร่วมมือกันเพิ่มมากขึ้น

3. ประสบการณ์การหารือ หน่วยงาน สผ.ทำหลักจริง แต่เรื่องการมีส่วนร่วมกับชุมชน อยากให้แผนมาจากการมีส่วนร่วมกับชุมชน อยากให้ไปดูบริบทชุมชนว่ามีอะไร ให้ชุมชนช่วยคิดช่วยทำ ให้แผนที่เกิดขึ้นมาจากตัวชุมชน มาจากสิ่งแวดล้อมจริง ๆ การส่งเสริมให้ความรู้ และความเป็นหุ้นส่วนมีเยอะขึ้น ตัวชุมชนมีความตั้งใจ และใส่ใจไม่รอความช่วยเหลือว่าเมื่อไหร่ทางราชการจะมาช่วยสักที เพราะไม่สามารถรอได้

ทางราชการเองนอกจากให้ความรู้ ควรเป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชนสามารถเดินต่อไปได้เอง ให้ตัวชุมชนเองเป็นพระเอก มีผู้นำที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นำ สร้างเป็นกลุ่มที่เราจะไป Train คนอื่นต่อ เครือข่ายมีความสำคัญมากกว่ารัฐหรือชุมชน

ชุมชนใดทำอะไรประสบความสำเร็จจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อชุมชนเอง เราเสมือนเป็นผู้ชม หรือคอยแนะนำเขา อยากให้มองชุมชนในเรื่อง CSR เป็น Hidden Agenda ซึ่งมีบางชุมชนที่ทำสำเร็จแล้ว

4. โครงการฯ ควรชี้ให้เห็นถึงเป้าหมายหรือหุ้นส่วนร่วมกัน การเป็นหุ้นส่วนได้ต้องจัดการร่วมกันหลายภาคส่วน และภาครัฐต้องรู้จักไว้วางใจภาคส่วนอื่นบ้าง บางเรื่องเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีความซับซ้อนอยู่ คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะคนในพื้นที่ สิ่งแวดล้อมเป็นสมบัติของคนไทยที่ควรหวนแหนและมีส่วนร่วมได้ ให้คิดถึงผลที่จะสำเร็จ

ใช้ทุนทางสังคมไปช่วยชุมชน ใช้ทรัพยากรป่าไม้ตอบแทนประเทศ ภาคส่วนต่าง ๆ อยากเห็นการจัดการที่ดีของชุมชน ชุมชนจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ภาคธุรกิจต้องเห็นโอกาส และการจัดการที่ดีในการเข้ามาจัดการโครงการ

การพัฒนาในพื้นที่ระวังบทคุณพ่อใจดี จะสร้างความไม่ไว้วางใจ กฎ กติกาจะมีส่วนร่วมอย่างไร สร้างความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มขึ้นได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่าควรมีการ Respect และนับถือเขาอย่างจริงจัง ให้ศักดิ์ศรี ความเสมอภาค การยอมรับ การมีศักดิ์ศรีทำยาก ถ้าข้าราชการที่นั่งอยู่ในห้องนี้รวมทั้งนักวิชาการ ทำต่อเนื่อง ให้เอากรณีศึกษาที่สำเร็จจริง ๆ มาดู

Turn idea into action / Turn action into success

หุ้นส่วนคือความเสมอภาค ควรมีการปรับ Mindset พฤติกรรมของห้องคือ learn share care ดังนั้นเมื่อมีโอกาสได้มาในวันนี้ ต้องสามารถนำไปทำทำแผนให้เกิดประโยชน์แท้จริงได้

ด้านเทคโนโลยีที่เข้ามา ถ้าใช้ประโยชน์ไม่เป็นและคนโลภมากก็เจ๊ง

เส้นทางเดินยาวไกล อีกนานกว่าจะสำเร็จ ให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ปล่อยให้ปราชญ์ชาวบ้านทำ มนุษย์ต้องการความสบายใจ มีเสรีภาพ แต่เสรีภาพจะสามาระกลายเป็นประโยชน์ส่วนรวม

5. ตัวแทนจากกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่าเมื่อพูดเรื่องทรัพยากรธรรมชาติจะพูดเรื่องป่าไม้ สามารถดูว่าเพิ่มเติมได้มากน้อยแค่ไหน บางโครงการทำไม่สำเร็จ กระทรวงฯ มีหน่วยงานทรัพยากรธรรมชาติหลายด้าน มีฐานข้อมูลจำนวนมากแต่นำมาใช้ได้จริงหรือไม่ ได้ดึงข้อมูลมาใช้จริงหรือไม่

การพัฒนาปลูกป่า การประสบความสำเร็จจะอยาก ถ้าเลือกโครงการที่เหมาะสมกับพื้นที่ โครงการจะไปได้เร็วกว่า และประชาชนจะได้ประโยชน์มากกว่า

6. เป็นตัวแทนจากภาคเอกชน มองว่าถ้ามองถึงระยะยาว จะถูกบีบหรือแรงกดดันให้เป็นคนดีเกือบทั้งหมด เช่น กระแสของโลกมีกฎ กติกาด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่นเรื่องการส่งอาหารทะเลถ้าไม่ทำตามเงื่อนไขของยุโรปก็ส่งออกอาหารทะเลไม่ได้ เป็นต้น

สินค้าอื่น ๆ เช่นถั่วเหลือง การปลูกป่า ปลูกปาล์มน้ำมัน อยากให้มีใบ Certificate

เป็นห่วงเรื่องกรณี SMEs ปรับตัวไม่ได้ แต่เป็นสายใน Supply Chain ถ้าบริษัทใหญ่ปรับตัว บริษัทเล็กจะปรับตัวตาม

CSV เป็นเรื่องการทำ CSR ที่ไปสอดคล้องกับสังคม การใช้พลาสติกที่ทำลายบรรยากาศของโลก ใช้พลาสติกในทะเลจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม จึงควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยโลกมากขึ้น ตัวอย่างเช่นหนังสือพิมพ์ในศรีลังกา นำหนังสือพิมพ์เคลือบด้วยสารกันยุงก็สามารถกันยุงได้ คนศรีลังกาจึงเป็นไข้เลือดออกน้อยลง

เรื่องนักลงทุน เอกชนอยู่ได้เมื่อมีการขยายธุรกิจ นักลงทุนใหม่ ๆ ของโลก สนใจเรื่อง CSV

เรื่องกระแสการรายงาน จะได้รับเชิญในกระบวนการประเมิน GSI อย่างปูนซีเมนต์ไทย และ ไทยออยล์ โดยรวม ๆ แนวโน้มธุรกิจมุ่งสู่ความยั่งยืน ต้องใช้ทรัพยากรน้อยลง

6. กรมที่ดิน เป็นหน่วยงานดูแลที่ดินภาคเอกชนซึ่งเกี่ยวเนื่องกับที่ดินของรัฐ มีการรุกไปสู่ที่ดินของรัฐ เปลี่ยนบทบาทจากดูแลเกี่ยวกับทรัพยากรที่ดิน เป็นดูเรื่องข้อมูล และมีแผนบูรณาการเพิ่มขึ้น

ในความเห็นได้ทำงานด้านแผน มีการตื่นตัวด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในบริบทแผนภูมิภาคมีการพัฒนาสู่กลุ่มจังหวัด ซึ่งได้มาจากทุกฝ่ายของจังหวัดสามารถใช้เป็นกลไกกำหนดบริบทของประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องร่วมมือกัน สร้างความตื่นตัวให้เกิดจาก Bottom Up

ด้านที่อยู่อาศัย เราไม่รู้จริงว่าภาวะเรือนกระจกเกิดอะไรกับเรา เรามีเฉพาะหัว ๆ ที่เข้าใจ

ด้านการสร้างทัศนคติ หรือความเข้าใจจะสร้างอย่างไรให้เข้าใจว่าทำอย่างนี้แล้วจะเกิดปัญหา

ญี่ปุ่นได้ประสบการณ์เลวร้ายจากการเปลี่ยนประเทศสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดฝนกรด ทำให้เกิดมีโรคมินะมาตะมากับฝน สังเกตได้ว่าญี่ปุ่นมีบทเรียน ดังนั้นญี่ปุ่นกลับมาพลิกฟื้นและดูแลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อย่างประเทศไทยมีความสบายในทุกด้านจึงอยากสร้างให้เกิดความตระหนักรู้ในทุกด้าน ทำอะไรให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมเป็นสำคัญ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กล่าว่า บางครั้งการทำสิ่งเล็ก ๆ จะเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องหยุดเพื่อให้เห็นความสำเร็จบ้าง

7. แผนชาติระบุไว้เรื่องการมีส่วนร่วมกับชุมชน เน้นให้คนมีส่วนร่วม และสามารถสร้างให้เกิดความประสบความสำเร็จได้ ให้มุ่งสู่การปฏิบัติ ผลักดันให้เกิดขึ้นจริง เขียนแผน และผลักดันให้ประสบความสำเร็จ อาจยังไม่มีความรู้มากเท่านักวิชาการ ควรให้มหาวิทยาลัยท้องถิ่นเพิ่มความรู้ ให้กับชุมชนเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ

8. ความเป็นหุ้นส่วนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ข้าราชการ นักวิชาการ นักวิจัย เอกชน ชุมชน ประชาชน ผู้นำท้องถิ่น

บทบาทของตัวภาครัฐ ด้านทรัพยากรธรรมชาติจะเปลี่ยนบทบาทลง อาจใช้น้ำหนักแค่ 30 % เท่านั้น ทำหน้าที่ในการกำหนดกฎระเบียบให้กับทุกภาคส่วนในสังคม

นักวิชาการ อาจให้น้ำหนัก 5-10% ในการวิจัย พัฒนา หาแนวทางใหม่ ๆ ในการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

ภาคเอกชน อาจให้น้ำหนัก 50% ใช้การบำรุงรักษาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การทำเหมืองแร่ ทำป่า

อปท. ชุมชน ประชาชน น่าจะให้น้ำหนักมากหน่อยเป็นต้น

ตัวการศึกษาปัจจุบัน ไม่สามารถสอนเด็กให้นึกคิดถึงทรัพยากรธรรมชาติเท่าที่ควร บางครั้งก็สามารถบรรจุหลักสูตรให้กับทหารเกณฑ์ได้เป็นต้น

ประชาชน สิ่งสำคัญที่สุดคือ การไม่รู้ บางครั้งไม่อยากบุกรุก แต่ขอบเขตแนวป่าไม่ชัดเจน

ด้านเศรษฐกิจที่บอกเรื่องแนวทางการนำโครงการแต่ละโครงการไปให้และแจกเงินไม่เห็นด้วย ควรออกกฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ภาครัฐจะควบคุมให้ตามระเบียบนั้น ๆ ในพื้นที่ที่อยู่ทำให้มีเศรษฐกิจพอเพียง พอกิน และอยู่ได้ อยากให้คิดเรื่องการอพยพ ย้ายถิ่นที่อยู่ ทำพื้นที่ให้พร้อม จะจัดการอย่างไรกับเรื่องพวกนี้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า นักวิชาการต้องมีความสามารถในการเป็นผู้นำ ต้องมีการฝึก Leadership อย่างบ้าคลั่ง Leadership ในยุคต่อไปไม่ได้มาจาก Authority Base

ต้องมีการสร้าง Capacity Building ทุนมนุษย์ และจะ Motivate อย่างไรให้คนในองค์กรอยากเป็นเลิศ

9. ด้านเศรษฐกิจ มี 6 ประเด็นใหญ่ มีน้ำ ที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติ ในรัฐธรรมนูญปี 2540-2550 มีการพูดถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเป็นจุด ๆ ไม่แสดงเจตนารมณ์ว่ารัฐจะต้องทำอะไร อย่างเช่นการเห็นความสำคัญของทุนมนุษย์ และการพัฒนาตลอดชั่วชีวิต

การอนุรักษ์ การประเมินค่า และการใช้ประโยชน์ ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของเนื้อหาไว้ การรักษาทรัพยากรธรรมชาติเป็นผลประโยชน์โดยรวมของชาติ ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ให้เกิดประโยชน์ที่เป็นธรรม

กระบวนการเริ่มตั้งแต่ การวางแผน การประเมินค่า การพยากรณ์ มีระบบติดตามและประเมินผล เป็นประเด็นที่ขอให้บูรณาการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จนครบวงจร

10. คณะกรรมการปฏิรูป รับผิดชอบด้านพลังงาน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทุกวันนี้มีปัญหาคล้ายกันคือผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้กำหนดนโยบายภาคเอกชน เรื่องความเหลื่อมล้ำ ผลประโยชน์ไม่ได้ตกอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ ตกกับบางกลุ่ม ไม่ได้อานิสงส์อะไรตรงนั้น มีข้อมูลกระทรวงพลังงาน ภาค NGOs ประชาชน รัฐพูด อันไหนถูกต้อง เป็นประเด็นที่ต้องพิสูจน์ต่อไป ว่าอะไรเป็นปัญหา

ยุทธศาสตร์ ต้องมีเป้าหมาย เกณฑ์ต้องชัดเจน และก่อให้เกิดผล (Impact) แผนยุทธศาสตร์ต้อง Impact กับแผนประเทศ ต้องสามารถตอบยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเกิดความยั่งยืนระยะยาว

ผอ.ธัญชนิต กล่าวว่า แผนยังไม่นิ่งต้องมีการประกาศใช้ก่อน แผนที่ 11 พื้นที่ป่า การให้คุณภาพน้ำดีขึ้นเกณฑ์จะไปในทิศทางเดียวกันหมด

11. แผนสภาพัฒน์ฯ เน้น 3 ด้านคือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้เกิดความยั่งยืน

12. ตัวแทนกรมประมง ขอ Share ความเห็นส่วนตัวคือ ในเรื่องคนมี Layer หรือ Stakeholder เยอะ หุ้นส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ บทบาทมีน้อยแค่ไหน

การที่มีกรรมการเยอะ Stakeholder เยอะใครจะเป็นผู้จัดการทีม ประเด็นที่ตามมาคือ การขับเคลื่อนจะทำอย่างไร มีแนวคิดในการปรับโครงสร้าง สร้างขึ้นมาเพื่อดูแลตรงนี้ ต้องบริหารคนและ Stakeholder ที่หลากหลาย

งบประมาณที่ผ่านมาเรียกว่าเป็นการ บูแผน แต่ไม่บูตังค์ น่าจะทำเป็น Model เล็ก ๆ ดีกว่าวางแผนและทำทั้งหมด

การเสริมสร้างการเรียนรู้จะทำแค่ไหน คนในชุมชนเท่านั้น หรือจะลงลึกไปที่โรงเรียน ด้วย แนวคิดการสร้างจิตสำนึกมีเรื่องการสร้างปราชญ์ชาวบ้าน หมอดิน จิตอาสา เอาคนที่ประสบความสำเร็จมา และพยายามถ่ายทอด เชิดชูเป็น Role Model ของชุมชน ทำอย่างไรให้ยืนได้ ปรับตัวได้และอยู่ได้เอง มีระยะเวลาที่ยืนได้ด้วยตัวเอง ควรมีการเสริมสร้างศักยภาพที่เข้มแข็งในชุมชน ใช้แผนชุมชน ให้ท้องถิ่นคุยกันเอง อยากได้อะไร แล้วภาครัฐช่วยสนับสนุน

อยากให้มองความสอดคล้องของนโยบายที่เกี่ยวข้อง แผนชาติต้องการให้เป็นสีเขียว คือเขียวแค่ไหน ตัวอย่างเช่น ถ้าส่งเสริมเรื่อปลูกพืชน้ำมัน ป่าก็จะถูกบุกรุกไปเรื่อย

13. จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพยังขาดหลายประเด็น อาทิ เรื่องพันธุกรรมจากป่าสามารถพัฒนาได้ ซึ่งสามารถส่งให้เกิดเป็นผลผลิตที่สูงทนต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก มีหลายกะทรวงฯ ดูอยู่ ด้านป่าไม้คนเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ การมีส่วนร่วมระดับนักวิจัย ชุมชนมีอยู่น้อย

การปกป้องแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ มีพืชพันธุ์ต่าง ๆ มาก แหล่งป่าดิบชื้นมีความหลากหลายสูง ชุมชนต้องมีความรู้ ความเข้าใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น เขตป่าชุมชน มีการนำสมุนไพรต่อเนื่องราคาแพงมาขายจะทำอย่างไร พื้นฐานความคิดที่เกี่ยวกับการแชร์ใช้ไม่ได้บางเรื่อง เป็นปัญหาว่าจะไปได้อย่างไร

มีหน่วยวิจัยต่าง ๆ ต้องรู้กฎระเบียบ ดูแลต่าง ๆ ในเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น หนอนบางชนิดสามารถใช้ในการฆ่าแมลงได้ เป็นต้น

14. มีความยากง่ายในการดูงาน ใครเป็นคนจ่ายเงิน แรงจูงใจในการทำงานคืออะไร

กลไกทางเศรษฐศาสตร์ไหลไปได้ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ดึงให้คนทำดีจากธรรมชาติ สามารถโยงกลับสู่การดำเนินพฤติกรรม ถ้ามีแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยได้ดี เช่น ชุมชนบางกระเจ้า ได้รับการควบคุมทางนิเวศ ขอไม่เสียค่าภาษีโรงเรือนสามารถทำได้หรือไม่ แล้วเขายินดีที่จะคงความเป็นสวน ผัก ผลไม้เอาไว้

เงินมี Willing to pay และ Willing to accept แต่ไม่มีสถาบันรองรับในการจัดการเรื่องนี้ ถ้าภาครัฐตั้งกลไกขึ้นมาว่าเงินต้องจ่ายเพื่ออะไร น่าจะทำให้เกิดการเจรจา พูดคุยและทำงานระดับรากหญ้าง่ายขึ้น

หุ้นส่วน ปัจจุบัน กรมอุทยาน จัดประชุมแต่ละครั้งต้องเสนอถึงปลัดกระทรวงฯ ก่อน ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานยาก และเทอะทะ

เรื่องการได้เสียผลประโยชน์ จึงอยากนำเสนอประเด็นว่าถ้าทำให้เกิดหุ้นส่วนจริง ๆ ต้องนำระเบียบตรงนี้ออก เพราะหุ้นส่วน หมายถึงความเสมอภาค

อุปสรรคและบทบาทต่าง ๆ

มองกลุ่มการทำงานเป็น 7 กลุ่ม

1. ภาครัฐ แบ่งเป็นส่วนกลาง และท้องถิ่น

2. Private Sector คือสมาคมธุรกิจต่าง ๆ

3. สื่อ

4. ภาควิชาการ (Academy) เช่น มหาวิทยาลัย ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการอิสระ

5. NGOs

6. องค์กรต่างประเทศ

7. ชุมชน ท้องถิ่น

ขอให้สังคม และคนไทยรักธรรมชาติ

การใช้ กรมป่าไม้ กรมอุทยาน ต้องแบ่งบทบาทให้ชัด

การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานจากไม้ กระแสสังคมตื่นหรือยัง Private Sector ตื่นหรือยัง พบว่ายักษ์ยังไม่ตื่น จึงต้องกลับมาที่ Competency Development และ Organizational Development

มุ่งเน้นการทำงานให้เกิดความสัมพันธ์ เป็นหุ้นส่วนจริง ๆ ต้องปลุกยักษ์ให้ตื่น

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย กล่าว่า สาเหตุของการติดกับคือ เทคโนโลยี กับ Ecology เดินสวนทางกัน สิ่งที่ขาดคือ การหนีป่าไม่พ้น ต้องซื้อที่ทำกินและรวมกันขาย อย่างเช่นการสร้างสนามกอล์ฟ

ให้เดินตามแนวอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แต่มรรคมักสะกดมักผิด เป็นมัก – มักง่าย Mindset ต้องเปลี่ยน ตัวอย่างเช่นคนไทยจะไปซื้อไม้จากปาปัวนิวกินี น่าจะทำป่าไม้ ต้องคุยกับหัวหน้าเผ่า เพราะป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติ และชนเผ่าต้องดูแล ตัดกี่ต้น ปลูกเท่านั้นต้น การมองและพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนกว่าสำเร็จ ต้องฝึกพร้อมกันและทำอะไรให้ทั้งสองฝ่ายมาสู่จุดตรงกลางได้ ต้องสร้างความภูมิใจ ไม่ใช่สร้างเพื่อให้คนเอารางวัล

อาจารย์ทำนอง ดาศรี กล่าวว่า ให้มองเรื่อง Demand / Supply จะใช้ทรัพยากรให้มีค่าอย่างไร ถ้าเราใช้ทรัพยากรเป็นก็ถือว่าเราสามารถทำ Demand Side ได้

4 E

1.Emotion อารมณ์ร่วมในการคุยกัน และอารมณ์ร่วมในการดูแลทรัพยากร ดูแลส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

2. Empowering ต้องสร้างและให้อำนาจผู้ดูแลทรัพยากร กฎระเบียบไม่เพียงพอ ใครทำผิดต้องควรลงโทษ

3. Education การให้ความรู้ การให้การศึกษา

ควรมีกระบวนการให้ความรู้ประชาชนและราชการให้รู้เท่าเทียมกัน

จะดูแลทรัพยากรอย่างไร ให้ทรัพยากรธรรมชาติดูแลตนเองให้ได้ ทำอย่างไรให้ธรรมชาติดูแลตนเองให้ได้

4. Execution เราจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร ทำอะไรก็ตามต้องมี Accountability ต้องรับผิดและรับชอบ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของโลกไม่ใช่ของประเทศไทยเท่านั้น

3 G

ทุกอย่างต้องคำนึงถึงส่วนร่วม ทำให้ได้ 100 % เพื่อรักษาธรรมชาติ และทำด้วยใจ

สรุป ทุกอย่างต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ กล่าวว่า Butterfly Effect การทำอะไรก็ตามนิดนึงกระทบถึงส่วนอื่น ๆ หมด "เด็ดดอกไม้ กระทบถึงดวงดาว" หมายถึง ทุกส่วนมีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

ภาครัฐ ให้ดูเรื่อง นโยบายแผน กฎหมาย กฎระเบียบ การบริหารจัดการ

ภาควิชาการ ให้ดูเรื่ององค์ความรู้และการสร้างจิตสำนึก

ภาคเอกชน มีความคิดสร้างสรรค์มาก มีทุน มีคน มีความยืดหยุ่น หุ้นส่วนมีความเข้มแข็ง

ภาคประชาชน อปท. ประชาสังคม ประชาชน ควรมองทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่

และควรมีการมองถึงแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ให้วิเคราะห์จากบทบาทนำสู่การสร้างแรงจูงใจ

การสร้างสมดุลขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ถ้ารัฐ Balance ไปด้วยกันได้ จะเคลื่อนย้ายชุมชน AEC เป็นประเด็นใหม่ ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม

ควรมีการดูในเรื่องสื่อมวลชน International NGOs ที่ควรดูเพิ่มเติม

ปัญหาคือ ขาดความต้องการของประชาชนแท้จริง ขาดการตระหนักรู้ ขาดหุ้นส่วน ขาดมุมมองในลักษณะหุ้นส่วนทั้งหมด การเปลี่ยนแปลง งบประมาณ การใช้กฎหมาย การทำงานที่ไม่ตรงจุด ไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง การบูรณาการการทำงาน การติดตามงาน การดูแลสิ่งแวดล้อม การประชาสัมพันธ์ แนวทางการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วน ควรปรับให้เข้มข้นขึ้น มีความรู้ ความเข้าใจตระหนักรู้ ให้เกียรติหุ้นส่วนอื่น ๆ ใช้ Data บูรณาการข้อมูลความรู้และหน่วยงาน การสร้างความเข้าใจในการพัฒนาหน่วยงานต่าง ๆ มิติการจัดการควรมีการเสนอแนะการจัดทำกติกากลางในภาครัฐต่าง ๆ

กฎหมาย มีการพูดเรื่องปรับกฎหมายและหาทุนมาใช้เรื่องสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชน

จิตสำนึก การปรับ Mindset การอดทน และการบูรณาการกับภาคส่วนอื่น ๆ ให้มาก ภาครัฐควรเป็นพี่เลี้ยงในการสร้างความรู้ สร้างความเข้าใจ และสร้างการตระหนักรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท