ความหมายของ PLC


กิจกรรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายของ PLC

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่อาจารย์ได้ให้เราได้นิยามความหมายของ PLC แล้วเขียนแสดงออกมาเป็นภาพวาด

ซึ่งเราได้นำเสนอมุมมองว่ากระบวนการทำ PLC นั้น เปรียบเสมือนการทำงานของปลวก นั่นคือ เราจะเห็นว่าปลวกแต่ละชนิดต่างมีกลวิธีและรูปแบบในการสร้างรังไม่เหมือน แต่ไม่ว่าจะมีขนาดมหึมาราวหอคอยหรือเล็กเพียงแค่เนินดิน ปลวกจำนวนมากมายในแต่ละรังก็จะคอยช่วยเหลือกัน เปรียบได้กับ กระบวนการทำ PLC คือการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่มีลักษณะความการหรือปัญหาคล้ายคลึงกัน และต้องการที่จะแก้ไขปัญหานั้นร่วมกัน เพื่อทำให้ปัญหานั้นหมดไป นั่นก็คือมีเป้าหมายร่วมกันนั่นเอง การทำงานของกลุ่มสังคมปลวก ก็มีเป้าหมายร่วมกัน คือ การสร้างรังที่อยู่อาศัยเล็กบ้างใหญ่ แล้วแต่พละกำลังความสามารถของสมาชิก การทำงานของ PLC ก็เช่นเดียวกันการแก้ปัญหานั้นจะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่หรือเพียงเล็กน้อย ก็เป็นการรวมพลังกันในการแก้ปัญหาของกลุ่มคนร่วมกัน

การแบ่งประเภทของปลวกนั้นแบ่งได้ 4 ประเภท เปรียบเทียบกับการแบ่งประเภทของผู้ทำงานในกระบวนการทำ PLC ได้ดังนี้

1.ปลวกงาน ผู้คอยวิ่งวุ่นทำงานทุกอย่างภายในรัง เริ่มตั้งแต่ตอนก่อสร้างจอมปลวก ซ่อมแซมรังถ้ามีการสึกหรอ ดูแลรักษาไข่ของนางพญาไปจนถึงการหาอาหารมาเลี้ยงดูปลวกในวรรณะอื่น >>>เปรียบได้กับ ผู้อำนวย คือ คอยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ร่วมกระบวนการ คอยนำเสนอประเด็น สรุปประเด็นข้อคิดเห็น

2.ปลวกทหาร ซึ่งมีรูปร่างทะมัดทะแมงมีส่วนหัวและกรามใหญ่โตกว่าส่วนอื่น เพื่อใช้เป็นอาวุธในการออกรบ ปลวกทหารจะเป็นผู้ต้อนรับด่านแรกหากมีผู้บุกรุกเข้ามาภายในจอมปลวก และปลวกในวรรณะสุดท้าย >>>เปรียบได้กับ ผู้ปฏิบัติ คือ ผู้ลงมือปฏิบัติ เข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมาย แก้ไขสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลมาเพิ่มเติม

3.ปลวกสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นพวกเดียวที่มีโอกาสเจริญเติบโตจนสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ >>> เปรียบได้กับ ผู้พัฒนาต่อยอด คือ ผู้ที่จะนำข้อมูลที่ได้ ไปพัฒนาต่อยอด ให้เกิดคุณค่ามากยิ่งขึ้น

*** สิ่งที่ช่วยให้ปลวกเหล่านี้ดำรงอยู่ได้ และมีวงจรชีวิตที่ไม่ขาดสาย คือ นางพญาปลวก และเชื่อไหมว่าภายในจอมปลวกหนึ่ง ๆ ซึ่งมีปลวกนับหมื่นนับแสนตัวล้วนถือกำเนิดมาจากพญาปลวกเพียงตัวเดียว

นางพญาปลวก ถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในวงจรชีวิตของกลุ่มสังคมปลวก เปรียบได้กับ ในการทำ PLC นั้น นอกเหนือจากกลุ่มคนต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นกลุ่มอำนวย กลุ่มปฏิบัติ และกลุ่มพัฒนาต่อยอด ที่เข้ามาช่วยกันในการแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นร่วมกัน และลงมือปฏิบัติแล้ว จำเป็นที่จะต้องมีผู้นำหรือผู้เชี่ยวชาญ ในการที่จะควบคุมกำกับดูแล ให้การทำงานนั้นๆเป็นไปด้วยความราบรื่น


คำสำคัญ (Tags): #ความหมาย PLC
หมายเลขบันทึก: 585517เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2015 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2015 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบวิธีคิดของอาจารย์มากครับ เปรียบ PLC เหมือนสังคมปลวก ....โดยเฉพาะที่บอกว่า PLC นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ผู้นำที่ดี" ...ใช่เลยครับ และทุกคนต้องเป็น "ผู้นำ" ตนเองไปสู่ "เป้าหมายร่วมกัน" ด้วย ....

ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์ และเห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ นอกเหนือจากการมีผู้นำที่ดีแล้ว ขณะเดียวกัน ทุกคนก็ต้องพร้อมที่จะเป็น "ผู้นำ" ของตนเองด้วย พร้อมที่จะกล้าคิด กล้าทำ และก้าวเดินไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ไม่เช่นนั้น ถึงแม้จะมีผู้นำที่ดีเลิศแค่ไหน หากสมาชิก รอแต่ผู้นำ นำพาเพียงอย่างเดียว ก็อาจจะทำให้ถึงเป้าหมายได้ยาก

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท