โครงการเวทีประชาเสวนา เรื่อง "สานพลังนักศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย" (ตอนที่ ๒)


บันทึกนี้จะเป็นบันทึกต่อจาก "โครงการเวทีประชาเสวนา เรื่อง "สานพลังนักศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย" (ตอนที่ ๑)" บันทึกแรกของผมที่ได้เล่าสู่กันฟังในเรื่องราวของสภาปฏิรูปแห่งชาตินะครับ

สำหรับกิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ในโอกาสนี้ก็ได้รับเกียรติจากท่านศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่ ๑ และประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศรวมถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ด้วย

โดยเริ่มแรกท่านได้บรรยายเพื่อให้ความรู้ในเรื่องของรัฐธรรมนูญก่อนนะครับ

สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษรของประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดนั้นมีจำนวนมากที่สุดในโลก ๓๘ ฉบับได้แก่สาธารณรัฐโดมินิกัน รองลงมาได้แก่ประเทศเวเนซุเอลา ๒๖ ฉบับและประเทศเฮติ ๒๔ ฉบับครับ

ส่วนประเทศที่ไม่ได้มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรได้แก่สหราชอาณาจักร, ประเทศนิวซีเเลนด์ และประเทศอิสราเอลครับ

ต่อมาท่านได้บรรยายถึงความสำคัญและเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญมีของแต่ละประเทศครับ

เนื้อหาสาระโดยหลักของรัฐธรรมนูญแต่ละประเทศจะเป็นการกำหนดระบบการเมืองของประเทศนั้นๆ ซึ่งในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น ๓ ประเภทได้แก่
๑. การปกครองแบบรัฐสภา =: คือให้มีรัฐสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติ กับคณะรัฐมนตรีทำหน้าที่ฝ่ายบริหารมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สังเกตุได้จากผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะต้องได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาเสียก่อน
๒. การปกครองแบบประธานาธิบดี =: เป็นการแยกอำนาจระหว่างรัฐสภา (นิติบัญญัติ) บริหาร (ประธานาธิบดี) และตุลาการ (ศาล) ให้แต่ละฝ่ายมีอำนาจและความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง โดยจะมีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันอย่างเห็นได้ชัดเจน
๓. การปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา =: ให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศนั้นและเป็นผู้นำฝ่ายบริหารด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื้อหาสาระหลักของรัฐธรรมนูญย่อมต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพอันเป็นพื้นฐานของประชาชนทุกคนให้เกิดความเท่าเทียมกันในประเทศครับ

นอกจากนี้ท่านศาสตราจารย์บวรศักดิ์ยังให้ความกรุณาเล่าถึงการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญโดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นโดยผ่านท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติจนถึงสิ้นเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๘ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเองจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึงประมาณวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๘ และหลังจากการยกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราเสร็จสิ้น (คาดว่าจะเป็นวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘) จะไม่สามารถแก้ไขได้อีกครับ สำหรับการจะทำประชาพิจารณ์หรือไม่ได้นั้น ท่านศาสตราจารย์บวรศักดิ์ยังไม่ได้ให้ข้อมูลใดๆ มาครับผม

จากเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญและการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญตามที่ท่านศาสตราจารย์บวรศักดิ์ได้บรรยายให้ฟังนั้น กระผมหวังว่าในอนาคตอันใกล้รัฐธรรมนูญจะมีการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้น และด้วยกลไกของรัฐธรรมนูญเองจะสามารถมำให้ประชาชนมีอำนาจในการถ่วงดุลของฝ่ายบริหารได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะดีเลิศมาจากไหน มีความเหมาะสมขนาด แต่หากพวกเราเองซึ่งเป็นประชาชนชาวไทยยังไม่ตระหนักรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของประชาชนเอาแต่เรียกร้องจากการที่ตัวเองเสียประโยชน์มิได้มองความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติเป็นสำคัญ เลือกที่รักมักที่ชัง มองที่ผลประโยชน์ส่วนตนมิได้มองเห็นผลประโยชน์ส่วนรวม ประเทศไทยเองก็จะกลับมาอยู่ในวังวนแบบเดิมมิได้ก้าวข้ามต่อไปข้างหน้าได้ พวกเราประชาชนทุกคนต่างมีหน้าที่ในการทำนุบำรุงและร่วมกันพัฒนาประเทศชาติ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนครับ

สวัสดีครับ

ชญานนท์ ทัศนียพันธุ์

๒๒ มกราคม ๒๕๕๘ ๑๐๑๙น.


หมายเลขบันทึก: 584350เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2015 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2015 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท