ธนาคารโลกพยากรณ์เศรษฐกิจใหม่(อีกครั้ง)


แผนที่: ผลผลิตประเทศ (GDP) ต่อหัวประชากร ในรูปกำลังซื้อ (PPP) เป็น ดอลลาร์สหรัฐฯ

ภาพบน จะเห็นว่า คนสิงคโปร์-บรูไน น่าจะรวยที่สุดในอาเซียน

รองลงไปเป็น มาเลเซีย-ไทย-อินโดนีเซีย-อินโดจีน(เวียดนาม-กัมพูชา-ลาว)-ติมอร์ เลสเต(ตะวันออก)-พม่า

แผนที่: ผลผลิตประเทศ (GDP) ต่อหัว ในรูปกำลังซื้อ (PPP) เป็น ดอลลาร์สหรัฐฯ

ปี 2011/2554 (ช่วงก่อน น้ำมัน-แก๊ส ราคาตก)

หลังน้ำมันราคาตก, รัสเซีย-เอเชียกลาง

และ ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน เช่น ซาอุฯ

น่าจะมีผลผลิตประเทศต่อหัว ลดลงมาก

......................................................................

แผนที่: อัตราการเติบโต ผลผลิตประเทศ ปี 1990-2007/2533-2550

จะเห็น "แม่ไก่" หรือจีนโตเร็วมาก

ทำให้ กลุ่มประเทศอินโดจีน (เวียดนาม-ลาว-กัมพูชา)

และ อาเซียนโตเร็ว ตามไปด้วย

......................................................................

และแล้ว... จากการประชุมที่ดาวอส สวิตเซอร์แลนด์,

ธนาคารโลก ได้เผยมุมมอง เศรษฐกิจโลก 2558 ใหม่

อัพเดท (update) หรือ

ปรับปรุงผลกระทบ เรื่องน้ำมันถูกลงเข้าไป

.

เศรษฐกิจโลก น่าจะขยายตัวเพิ่ม คือ

  • 2014/2557 = 2.6%
  • 2015/2558 = 3%
  • 2016/2559 = 3.3%

.

เศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนา

ขยายตัวเร็วกว่า ค่าเฉลี่ยทั่วโลก คือ

  • 2014/2557 = 4.4%
  • 2015/2558 = 4.8%
  • 2016/2559 = 5.3%

.

อย่างไรก็ตาม, ประมาณการณ์ปีนี้ = 2558

ได้ปรับลดลง จากที่ประเมินไว้ครั้งก่อนๆ คือ

  • มิถุนายน 2557 = 3.4%
  • ตุลาคม 2557 = 3.2%
  • มกราคม 2558 = 3.0%

.

เหตุผลที่ ธนาคารโลก ปรับลด

ประมาณการณ์เศรษฐกิจทั่วโลก คือ

.

เศรษฐกิจประเทศที่ฟื้นตัว เช่น สหรัฐฯ โตเร็ว

ไม่สมดุล กับประเทศที่ฟื้นตัวช้ามาก เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น

และ ประเทศที่ถดถอย เช่น รัสเซีย

ทำให้ เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกัน

.

จีน ซึ่งธนาคารโลกประเมินว่า

มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ

กำลัง ปรับลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลง

.

เช่น ลดการใช้จ่ายภาครัฐ

ลดสินเชื่อ จากกลุ่มที่ไม่ใช่ธนาคาร

ทำให้ เศรษฐกิจโตช้าลงไปด้วย คือ

  • 2014/2557 = 7.4%
  • 2015/2558 = 7.1%
  • 2016/2559 = 7.0%

.

ธนาคารโลก เตือนว่า

ปัจจัยลบ คือ

.

โลก ยังคงเสี่ยงต่อผลกระทบ

จากเศรษฐกิจที่โตช้ามาก ของยุโรป ญี่ปุ่น

และ เศรษฐกิจของประเทศส่งออกน้ำมันหลายแห่ง

กำลังถดถอย เช่น รัสเซีย เวเนซูเอล่า

.

ปัจจัยบวก คือ

เศรษฐกิจโลก และเอเชียโตเร็วขึ้น

ราคาน้ำมันต่ำลง

.

ประชากรในหลายประเทศ

รวมทั้งไทย

เข้าสู่ภาวะ ลูกไม่ดก

ทำให้สัดส่วน คนอายุ-คนทำงาน น้อยลง

สัดส่วน คนสูงอายุ มากขึ้น

.

เรื่องที่ธนาคารโลกไม่ได้บอก คือ

พวกมนุษย์ป้า กับ มนุษย์ลุง...

ทำ เศรษฐกิจป่วนมากเพียงไร

.

ราคาน้ำมัน มีแนวโน้มจะต่ำตลอดปี 2015/2558

ทำให้ อัตราเงินเฟ้อลดลง

และ ประเทศร่ำรวย ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ

เพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจ ต่อไปได้

(นิยม เพิ่มดอกเบี้ย เพื่อลดการใช้จ่าย และ เงินเฟ้อ)

.

ราคาน้ำมันต่ำ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ประเทศที่นำเข้าน้ำมันมาก

เช่น จีน อินเดีย

และ น่าจะทำให้อินเดียโต = 7% ในปี 2016/2559

.

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา มีแนวโน้มจะโตต่อ คือ

  • 2014/2557 = 2.4%
  • 2015/2558 = 3.2%

เป็นสถิติที่ดีที่สุดของสหรัฐฯ ในรอบ 10 ปี

และ เป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี

ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ โตเร็วพอๆ กับ ค่าเฉลี่ยทั่วโลก

.

ยูโรโซน จะเริ่มฟื้นตัว

  • 2015/2558 = 1.1%
  • 2016/2559 = 1.6%

.

ญี่ปุ่น จะเริ่มฟื้นตัว

จากราคาน้ำมันต่ำลง

การกระตุ้นจากภาครัฐ คือ

  • 2014/2557 = 0.2%
  • 2015/2558 = 1.2%
  • 2016/2559 = 1.6%

.

รัฐบาลญี่ปุ่น คาดหวังว่า

เศรษฐกิจปี 2015/2558 จะโต = 1.5%

จากการอัดฉีดงบประมาณเป็น 814 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

.

อินเดีย ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจ อันดับ 10 ของโลก

จะได้รับผลดี จากราคาน้ำมันต่ำลง

  • 2014/2557 = 5.6%
  • 2015/2558 = 6.4%
  • 2016/2559 = 7.0%

.

อินโดนีเซีย จะได้รับผลดีจากราคาน้ำมันต่ำลง

ทำให้ เงินเฟ้อลดลง

ขาดดุลชำระเงิน (ยอดสินทรัพย์-เงินตราต่างประเทศ) น้อยลง

  • 2014/2557 = 5.1%
  • 2015/2558 = 5.2%
  • 2016/2559 = 5.5%

.

ไทย จะได้รับผลดีจากราคาน้ำมันต่ำลง

และ จากการเมืองที่ นิ่งไปอีกสักพัก

  • 2014/2557 = 0.5%
  • 2015/2558 = 3.5%
  • 2016/2559 = 4.0%

.

ราคาน้ำมันลดลง

น่าจะช่วย ประเทศรายได้น้อยโตต่อ คือ

  • 2014/2557 = 6.0%
  • 2015/2558 = 6.0%
  • 2016/2559 = 6.0%

.

เอเชียตะวันออก-แปซิฟิก (ไม่รวมจีน)

เช่น เกาหลี ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย

น่าจะได้รับผลกระทบ จากการที่จีนโตช้าลง

  • 2014/2557 = 6.9%
  • 2015/2558 = 6.7%
  • 2016/2559 = 6.7%

.

ปีนี้คงจะเป็นปีที่ค่อนข้างดี ของอาเซียน คือ

(1). อินโดนีเซีย - เข้าสู่ช่วงมีกำไร จากการลงทุน

(2). ไทย - การเมืองนิ่งมากขึ้น

(3). อุตสาหกรรมส่งออกใน กัมพูชา มาเลเซีย ไทย เวียดนาม

ได้รับผลดีจาก การเติบโตของประเทศคู่ค้า เช่น สหรัฐฯ

.

ผลกระทบเชิงลบที่พอจะมี คือ

แร่ธาตุ วัตถุดิบ และผลผลิตการเกษตร

มีแนวโน้มจะต่ำไปจนถึงปี 2017/2550 ได้แก่

(1). ถ่านหิน จากอินโดฯ ออสเตรเลีย มองโกเลีย

(2). น้ำมันปาล์ม (ใช้ทำไบโอดีเซล) จากมาเลฯ อินโดฯ

(3). ยางพารา จากมาเลฯ อินโดฯ ไทย

.

ประเทศที่พึ่งการส่งออก แร่ธาตุมากๆ

เช่น มองโกเลีย น่าจะสะเทือน

.

สำนักวิจัยธนาคาร HSBC เตือนว่า

ช่วงที่เอเชียน่าจะระวัง คือ

มิถุนายน 2558 อาจมีกระแสเงินไหลออก

หลังสหรัฐฯ เพิ่มดอกเบี้ย

.

HSBC คาดว่า

เศรษฐกิจเอเชีย น่าจะโตเพิ่ม

  • 2014/2557 = 4.8%
  • 2015/2558 = 5.0%

ปีนี้ (2015/2558) จีนน่าจะโต = 7.3%

ออสเตรเลียโต = 2.8%

.

ทั้งนี้ และทั้งนั้น...

พยากรณ์นี้ ตั้งบนเงื่อนไขที่ว่า

ช่วงนี้ จะต้องไม่มีสงคราม ในทะเลจีนใต้

และ พวกมนุษย์ป้า-มนุษย์ลุง ไม่ทำป่วน

.

พยากรณ์นี้ คงจะทำให้

คนทั่วโลกส่วนใหญ่มีหวัง

และ มีพลัง

เพื่อเตรียมพร้อมกับอะไรที่ อาจจะมาโดยคาดไม่ถึง

.

เช่น อาจมีการเปลี่ยนแปลง ในซาอุฯ

เช่น ไทยน่าจะ เพิ่มระบบราง

เพื่อ ประหยัดพลังงาน

.

และ เพิ่มสัดส่วน พลังงานทางเลือกไว้

เพื่อ ลดการพึ่งพา แก๊ส-น้ำมัน ในระยะยาว ให้ได้

ถึงตรงนี้... ขอให้ทุกๆ ท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

..................................................................................................................

..................................................................................................................

From > http://thediplomat.com/2015/01/world-bank-warns-on-global-growth/

หมายเลขบันทึก: 584310เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2015 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2015 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท