พิจารณาให้ดีก่อน


เป็นการง่ายที่จะนำความคิดใหม่ ๆ มาใช้อย่างตรงไปตรงมา แต่อย่าลืมว่า องค์กรที่เขาทำสำเร็จไม่ได้ใช้เวลาเพียงชั่วข้ามคืน เขาต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าระบบจะลงตัว ดังนั้นในการนำมาใช้จริงอาจใช้เวลามากกว่าเขาก็ได้

พิจารณาให้ดีก่อน

Beware the Next Big Thing

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

15 มกราคม 2558

บทความเรื่อง พิจารณาให้ดีก่อน นำมาจากบทความเรื่อง Beware the Next Big Thing: Before You Adopt A New Management Idea, Figure Out If It's Right For You. ประพันธ์โดย Julian Birkinshaw ซึ่งเป็น professor of strategy and entrepreneurship at the London Business School จากวารสาร Harvard Business Review, May 2014

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/beware-the-next-big-thing

การบริหารจัดการแบบใหม่ มีที่มาจากไหนกัน?

  • บางวิธีมาจากความคิดของนักวิชาการหรือที่ปรึกษา แต่โดยมากจะมาจากผู้บริหารขององค์กร ทดลองแนวคิดใหม่ ๆ ขึ้นมาเอง
  • ในบางครา ความคิดใหม่ก็นำไปสู่การปรับเปลี่ยนที่ดีขึ้น ทำให้องค์กรมีผลประกอบการที่ดี เช่น Six Sigma และ lean Manufacturing ที่กระตุ้นให้ผู้จัดการ มีการพัฒนาคุณภาพและลดรายจ่าย

การนำเข้าความคิดใหม่มีความเสี่ยง

  • ถ้านำมาใช้กับองค์กรที่ยังไม่พร้อม เพราะวัฒนธรรมองค์กร และโครงสร้างขององค์กร ที่ไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง
  • การนำแนวคิดใหม่มาใช้ บางองค์กรก็ได้ผล ส่วนบางองค์กรที่ยังไม่พร้อม อาจเป็นการยากลำบากหรือเกิดผลเสีย

การเพิ่มโอกาสในความสำเร็จ

  • การศึกษาองค์กรอื่นอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ว่าเขามีวิธีคิด และมีการปฏิบัติอย่างไร ทำให้สามารถประหยัดเวลาได้
  • การพิจารณาอย่างรอบคอบ ทำให้โอกาสประสบผลสำเร็จมีมากขึ้น กระบวนการที่แนะนำในที่นี้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นผลดีกับองค์กรในระยะยาว

เป็นวิธีการบริหารที่ยิ่งใหญ่จริงหรือ

  • นวัตกรรมการจัดการรูปแบบใหม่ มักเป็นที่ฮือฮาและกล่าวถึง ในวารสาร วงการศึกษา และที่ปรึกษา โดยที่นักวิจัยและนักประพันธ์ มีส่วนช่วยบริษัทในการถอดบทเรียนความสำเร็จ
  • การมีตัวอย่างทำให้ผู้บริหารเกิดความสนใจ และการถ่ายทอดแนวคิดออกไป ทำให้บริษัทต่าง ๆ ทราบถึงแนวคิดใหม่นี้
  • การเปิดเผยสู่สาธารณะก็มีข้อด้อย คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากมีความคาดหวังสูง และ การไม่ยอมรับแนวคิดนี้

อย่าพึ่งกระโจนใส่ ให้รอสิ่งที่เหมาะสมกับตนเอง

  • เป้าประสงค์ของผู้จัดการ ก็ไม่แตกต่างจากสื่อมวลชน หรือวงการศึกษา คือต้องทำการศึกษาให้เข้าใจก่อน ขอให้เลือกคลื่นที่เหมาะสม ไม่ใช่คลื่นลูกต่อไป (ในการเล่นกระดานโต้คลื่น)
  • ความคิดใหม่ที่ได้รับการยกย่อง ไม่สำคัญเท่ากับแนวคิดที่เป็นพื้นฐานหลัก ถึงแม้กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดดังกล่าวอาจไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป แต่แนวคิดหลักยังคงอยู่ และใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก

มีสองแนวทางการปรับใช้

  • มีสองแนวทางที่แนะนำในการนำแนวคิดใหม่มาใช้ ซึ่งทั้งสองวิธีมีทั้งข้อดีและความท้าทายคือ
  • การสังเกตและนำมาใช้ (observe-and-apply) และการสกัดแนวคิดหลัก (extract the central idea)

การสังเกตและนำมาใช้ (observe-and-apply)

  • เป็นแนวทางที่นิยมใช้มากที่สุด อาจได้ผลดีในสถานการณ์หนึ่ง ๆ เช่น ในองค์กรที่มีรูปแบบการบริหารจัดการหรือมีแนวคิดที่คล้ายคลึงกัน
  • แต่บ่อยครั้งที่การปฏิบัติในที่หนึ่งได้ผลดี แต่อาจจะไม่ได้ผลในอีกที่หนึ่งก็ได้
  • ดังนั้นวิธีนี้จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะการประกาศใช้แล้วยกเลิก ทำให้ผู้นำถูกมองว่า ไม่มีความสามารถในการทำให้องค์กรเกิดความยั่งยืน

การสกัดแนวคิดหลัก (extract the central idea)

  • เป็นการลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าองค์กรจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ในการนำมาใช้อาจต้องปรับเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย
  • การสกัดแนวคิดแล้วนำมาใช้บางครั้งอาจไม่ได้ผล เนื่องจากการสกัดแนวคิดไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะอคติที่เรามีอยู่ และเป็นการยากที่จะมองให้เห็นทั้งป่า ไม่ใช่เห็นเพียงแค่ต้นไม้
  • ประการที่สองคือ แม้เราจะสกัดแนวคิดได้แล้วก็ตาม แต่การนำไปปฏิบัติจริงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

รู้จักตนเอง

  • ทางที่ดีควรจะรู้จักตัวเองให้ถ่องแท้ จะได้นำแนวทางใหม่ ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสม
  • การเรียนรู้ขององค์กรเป็นการเพิ่มผลกำไร แม้ในการทดลองจะไม่ประสบผลสำเร็จ ก็ให้ถือว่าเป็นการกระตุ้นหรือทบทวนระบบการบริหารขององค์กร
  • ความรู้ใหม่ที่ได้ สามารถช่วยให้องค์กรเกิดความฉลาดและพัฒนาหนทางปฏิบัติที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • การแสร้งทำเป็นไม่รู้ว่าเกิดความล้มเหลว ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่จะสร้างคุณค่าได้อย่างมากมาย

การก้าวไปข้างหน้า ขั้นตอนปฏิบัติ ในการประเมินการบริหารจัดการที่เป็นนวัตกรรม มีดังนี้

1. รอเวลา (Bide your time)

2. ศึกษารายละเอียด (Deconstruct the management model)

3. ทำความเข้าใจสมมุติฐาน (Understand the hypotheses)

4. มองหาผลลัพธ์ (Look for results)

5. ทดลอง (Experiment)

1. รอเวลา

  • เป็นการฉลาดที่จะรอเวลาสัก 2 ปี ก่อนนำแนวทางไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดมาใช้
  • ทุกการปฏิบัติใหม่ต้องอาศัยเวลา ในการประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว รอให้หายร้อนแรงก่อนก็ได้
  • ไม่ควรรีบกระโจนเข้าใส่ หรือปล่อยเวลาให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ คอยติดตามการทดลองว่าเป็นเช่นไร

2. ศึกษารายละเอียด

  • เมื่อตัดสินใจว่าจะนำแนวคิดใหม่มาใช้ ให้ตั้งคำถามกับบุคคลภายนอกในเรื่องต่อไปนี้ เพื่อค้นหามุมมองที่ต่างออกไป:
  • อะไรคือเหตุผลลึก ๆ ของวิธีการนี้?
  • อะไรคือข้อสรุปที่บริษัทต้นแบบกล่าวถึง เกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคลากรหรือการตลาด?
  • อะไรคือแรงจูงใจหรือความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ที่บริษัทต้นแบบสรุปเอาไว้?

3. ทำความเข้าใจสมมุติฐาน

  • ตามอุดมคติ ให้ถือว่าแนวทางใหม่นี้ เป็นทดสอบสมมุติฐานของบริษัทต้นแบบ ไม่ว่าเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
  • เช่น ผลลัพธ์การประเมินผู้จัดการแบบ 360 องศา อาจทำไปเพื่อทดสอบสมมุติฐาน ในการทำให้ผู้จัดการมีความรับผิดชอบ (accountable) ต่อบุคลากร เพิ่มขึ้น

4. มองหาผลลัพธ์

  • ต่อไปให้มองหาผลลัพธ์ ว่าสอดคล้องกับสมมุติฐานหรือไม่
  • เช่น ผลลัพธ์การประเมินผู้จัดการแบบ 360 องศา ทำให้ผู้จัดการมีความรับผิดชอบต่อบุคลากรเพิ่มขึ้นหรือไม่ และมีผลข้างเคียงอย่างไร
  • ให้พูดคุยกับบุคลากรในองค์กรนั้นสัก 2-3 คน ว่าผู้จัดการชอบวิธีนี้หรือไม่
  • และให้หาหลักฐานต่อไปว่า การที่ผู้จัดการมีความรับผิดชอบต่อบุคลากรเป็นสิ่งดีหรือไม่ มีวิธีการอื่นที่ดีกว่านี้อีกหรือไม่

5. ทดลอง

  • ถ้าคิดว่าการนำมาใช้จะเกิดปัญหา ให้ยับยั้งอย่าเพิ่งเริ่ม เพราะถ้าทำแล้วเลิก จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • แต่ถ้าศึกษาโดยรอบคอบ แล้วเห็นว่าจะเกิดผลดี ให้เริ่มทดลองกลุ่มเล็ก ๆ เป็นการนำร่องก่อน ตั้งสมมุติฐาน มาตรการ และผลลัพธ์ที่คาดการณ์ เช่น การประเมินผู้จัดการ 360 องศาทางระบบออนไลน์ ทำให้บุคลากรมีความพึงพอใจและอัตราการคงอยู่เพิ่มขึ้น ในระยะเวลา 1 ปี
  • จากนั้นให้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลดูว่า หนทางปฏิบัติใหม่ ใช้ได้ผลหรือสร้างคุณค่าให้กับองค์กรหรือไม่

สรุป

  • เป็นการง่ายที่จะนำความคิดใหม่ ๆ มาใช้อย่างตรงไปตรงมา แต่อย่าลืมว่า องค์กรที่เขาทำสำเร็จไม่ได้ใช้เวลาเพียงชั่วข้ามคืน เขาต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าระบบจะลงตัว ดังนั้นในการนำมาใช้จริงอาจใช้เวลามากกว่าเขาก็ได้
  • การนำความคิดใหม่มาใช้ ถึงแม้จะเป็นเรื่องท้าทาย แต่รางวัลที่ได้ก็คุ้มค่า เพราะได้เรียนรู้จากการทดลองปฏิบัติ มีการวิเคราะห์อย่างระมัดระวัง มีทักษะ และมีความรอบคอบ ความรู้ใหม่ที่ได้ ก็จะช่วยพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ

*****************************

หมายเลขบันทึก: 584011เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2015 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2015 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท