มหาประวัติศาสตร์ (Metahistory) ของ Hayden White ตอนที่ 3


ต่อนะครับ

16. อุดมการณ์ (ideology) จะนำเสนอจริยธรรม (ethic) และสมมติฐาน (assumption) ที่นักประวัติศาสตร์มีต่อชีวิต, อดีตที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน, และพวกเราควรจะกระทำอะไรในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามทั้งนี้จะอ้างกฎความเป็นวิทยาศาสตร์ หรือความสมจริง (จริงๆแล้วจะมีอุดมการณ์บางอย่างที่ยังไม่อ้างความเป็นวิทยาศาสตร์ ก่อนที่จะถึงยุครู้แจ้ง (Enlightenment)) อุดมการณ์จะมีอยู่ 4 ประการ ดังนี้

16.1 Conservative หมายถึง ความเป็นประวัติศาสตร์ที่ค่อยๆพัฒนามาอย่างช้าๆ เราสามารถหวังได้ซึ่งอุตมรัฐ (utopia) แต่ต้องไม่ลืมว่าต้องเป็นอย่างช้าๆ

16.2 Liberal หมายถึง ความก้าวหน้าในเชิงประวัติศาสตร์สังคม ซึ่งความก้าวหน้านี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปรในเรื่องกฎหมายและรัฐบาล

16.3 Radical หมายถึง สภาวะที่กำลังใกล้เกิดอุตมรัฐ แต่การเกิดของอุตมรัฐนั้นต้องได้มาด้วยการปฏิวัติ

16.4 Anarchist หมายถึง รัฐที่กำลังโกงกิน ดังนั้นจึงถูกล้มล้างทุบทำลาย และรัฐใหม่จึงถือกำเนิดขึ้น

17. นักประวัติศาสตร์โดยมากจะเขียนประวัติศาสตร์โดยการใช้ลักษณะอุปมาอุปมัย (prefigure or trope) ซึ่งลักษณะอุปมานี้จะดำรงอยู่ใต้จิตสำนึกของแต่ละบุคคล ลักษณะอุปมาอุปมัยนี้มีอยู่ 4 ด้าน ได้แก่

17.1 Metaphor แปลว่า ปรากฏการณ์หนึ่งจะถูกเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างจากอีกปรากฏการณ์ โดยเน้นความเหมือนกัน

17.2 Synecdoche แปลว่า การใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความจริงทั้งหมด

17.3 Metonymy แปลว่า การแทนที่ในบางสิ่งบ่งอย่าง เพื่อที่จะทำให้ส่วนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมด

17.4 Irony แปลว่า การประชดประชัน

18. Hayden White มีการจัดลำดับประวัติศาสตร์ ว่าถ้ามีลักษณะอย่างนี้แล้ว น่าจะเป็นไปอย่างไร ลักษณะของเขามี ดังนี้

โครงเรื่อง ข้อเสนอ อุดมการณ์ ลักษณะอุปมา

Romantic formalist anarchist synecdoche

Tragedy mechanistic radical metaphor

Comedy organist conservative metonymy

Satirical contextualist liberal irony

19. อย่างไรก็ตาม หากมีการจัดวางองค์ประกอบที่นอกเหนือจากนี้ จะก่อให้เกิดความตึงเครียดทางวิภาษวิธี (dialectical tension) ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นงานของนักประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่

หนังสืออ้างอิง

ไม่มีชื่อผู้แต่ง.(2015). Hayden White for absolute beginners.

http://users.ox.ac.uk/~spet0201/lectures/histlink/whiteho.html.

Vick Rea. (2015). Metahistory. http://www.lehigh.edu/~ineng/syll/syll-metahistory.html

หมายเลขบันทึก: 583972เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2015 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2015 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท