สภาพในปัจจุบันในเรื่องการสอนการฟังในโรงเรียนในประเทศไทย จากประสบการณ์ของผม ตอนที่ 9


กิจกรรมหลังอ่าน ควรจะบูรณาการกับทักษะอื่น เช่น การพูด, การอ่าน และ การเขียน

อย่างที่ฉันกล่าวว่ามาเมื่อตอนต้น ในชีวิตจริง หลังจากที่มีการฟังแล้ว เราจะไม่หยุดแค่นั้น เราจำเป็นต้องพูด, อ่าน, และเขียนผสมปนเปกันด้วยเสมอ เมื่อมองในแง่นี้ เราจึงควรพิจารณากิจกรรมที่เหมาะสมไว้ด้วย นั่นแปลได้ว่า การฟังนั้นจะต้องบูรณาการกับการพูด การอ่าน และการเขียนรวมกันไปพร้อมกันทั้ง 4 ทักษะ ดังที่ Mendelsohn (1994) ได้กล่าวไว้ว่า ในกิจกรรมหลังการฟังนั้น จะต้องมีกิจกรรมที่บูรณาการการฟังกับทักษะอื่นๆ เช่น การให้นักเรียนได้เขียน หรือ รายงานด้วยปากเปล่าในเรื่องที่พวกเขาได้ฟัง ยิ่งไปกว่านั้น ก็เหมือนกับ Hedge (2001) ที่ได้กล่าวไว้เช่นเดียวกัน

ถ้าสื่อการสอนเป็นไปตามแนวทางนี้ การกระตุ้นของครูก็คืออยู่ที่นักเรียน มากกว่าตัวบทที่เด็กใช้อยู่ ยกตัวอย่างเช่น การฟังการข่าวเรื่องอุบัติเหตุ อาจกระตุ้นให้เด็กๆได้อ่านบทความที่ใกล้เคียงกัน และให้พวกเขาไปบอกกับคนอื่นในสิ่งที่ได้ฟัง การฟังในเรื่องที่น่าประทับใจ ครูอาจให้นักเรียนเขียนความคิด หรือความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเรื่อง ดังนั้น การใช้ประโยชน์จากกิจกรรมหลังเรียนนำไปสู่การพัฒนาความสามารถทางภาษา และกระตุ้นให้นักเรียนให้ตระหนักว่า พวกเขาเรียนรู้ภาษา เพราะว่าการสื่อสารที่มีความหมาย

ฉันจะยกตัวอย่างกิจกรรมหลังเรียนมาสัก 2 ตัวอย่าง

1. หลังจากดูบางส่วนของภาพยนตร์ และทำความเข้าใจมันแล้ว นักเรียนต้องสร้างสรรค์บทสนทนาในเรื่องที่ฟังด้วยตนเอง และต่อจากนั้น นักเรียนต้องแบ่งปันบทสนทนากับชั้นเรียน ด้วยวิธีการนี้ การฟังจะบูรณาการระหว่างการเขียนและการพูด

2. หลังจากฟังข่าว นักเรียนควรจะได้อ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องนั้นในหนังสือพิมพ์ และต่อจากนั้น พวกเขาจะเขียนความคิดเห็น และแบ่งปันกับชั้นเรียน ในที่นี้การฟังจะบูรณาการกับการอ่าน การเขียน และการพูดพร้อมกัน

นักเรียนควรจะฟังสื่อที่ใช้จริงๆในชีวิตประจำวัน (authentic materials)

1. ความจำเป็นของสื่อที่ใช้จริงๆในชีวิตประจำวัน

จุดประสงค์ของการเรียนรู้ทางภาษา คือ ผู้เรียนสามารถที่จะใช้ประโยชน์ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เพียงแค่ในชั้นเรียน อย่างไรก็ตาม ถ้านักเรียนเคยชินกับสื่อที่ใช้ในห้องเรียน สิ่งนี้จะไม่มีประโยชน์สำหรับนักเรียนเลย ดังเช่น Herson และ Seay (1991) ได้เสนอว่า ครูควรจะกระตุ้นให้ใช้สื่อที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าสื่อที่อยู่ในห้องเรียน สื่อในชีวิตประจำวัน ก็มี วิดีโอ, ภาพยนตร์, สิ่งที่ต่างๆที่อยู่ในวิทยุ, รายการโทรทัศน์ เป็นต้น การใช้สื่อในชีวิตประจำวัน มีประโยชน์อยู่ 2 ประการ กล่าวคือ 1. กระตุ้นให้เด็กๆ เข้าถึงสิ่งที่เป็นจริงในห้องเรียน และ 2. เด็กๆจะได้เข้าใจข้อมูล โดยที่ไม่ต้องได้เข้าใจเนื้อหาทั้งหมด

2.วิธีการที่จะสอนเด็กๆในเรื่องสื่อที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

แน่นอนว่า สื่อที่ใช้ในชีวิตจริง บ่อยครั้งที่จะมีการพูดที่เร็ว, ความเหลือเฟือ, ประโยคที่ไม่ตรงไวยากรณ์ ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เด็กๆเกิดอาการสับสน ไม่แน่ใจ หรือลดทอนอาการอยากเรียนลง อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้สามารถช่วยได้ หากครูสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมกับเด็กๆ ซึ่งท้าทายและเป็นที่น่าสนใจสำหรับเด็กๆ และมอบหมายให้เด็กๆในเรื่องการฟังเฉพาะได้ เช่น ฟังเพื่อหาใจความสำคัญ โดยสรุปดังที่ Lund (1990) กล่าวว่า "ความยากของสื่อที่ใช้ในชีวิตประจำวันนั้น ครูควรจะพิจารณาในเรื่องลักษณะของงานมากกว่าตัวบท" ไม่ว่าความยากของสื่อที่ใช้ในชีวิตประจำวันจะมากน้อยขนาดไหน แต่ถ้าครูให้งานที่ง่ายๆแล้ว เด็กๆก็จะได้ประโยชน์จากสื่อนั้น ยกตัวอย่างเช่น หากนักเรียนฟังโฆษณาทางวิทยุ งานที่ง่ายๆก็คือให้หาว่าโฆษณานั้นคืออะไร

ในการใช้สื่อในชีวิตประจำวัน มีสิ่งที่ควรพิจารณา 3 ข้อในการเลือกใช้สื่อได้แก่ 1. ครูควรบอกนักเรียนว่า ไม่ตำเป็นต้องเข้าใจทุกประโยคที่ปรากฏในสื่อนั้น แต่ควรจะเข้าใจเพียงบางส่วน (partial conprehension) เท่านั้น คำว่าเข้าใจแต่เพียงบางส่วน หมายความว่า ครูทำให้นักเรียนได้พยากรณ์ความหมายได้โดยง่าย 2. ครูจะต้องสอนวิธีการฟังสื่อที่ใช้ในชีวิตประจำวัน วิธีการฟัง ก็ได้แก่ 1. ครูควรสอนเด็กๆในเรื่องประสบการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะฟัง และให้เด็กๆได้พยากรณ์ในเนื้อหา 2. เด็กๆควรจะได้ฟังอย่างน้อย 4 ครั้ง พร้อมๆกับภาระงานในแต่ละครั้ง 3. ความเข้าใจควรเริ่มจากใจความสำคัญไปจนถึงสิ่งเฉพาะอย่าง และรายละเอียด 4. นักเรียนต้องอภิปรายและโต้ตอบกับข้อมูล หลังจากการฟังเสร็จในแต่ละครั้ง โดยสรุปก็คือเริ่มจาก กระตุ้นให้เด็กสร้างภาพร่าง (schemata) ฟังจุดมุ่งหมายเฉพาะ และความเข้าใจควรเริ่มจากใจความสำคัญไปจนถึงรายละเอียด สื่อที่ใช้ในชีวิตประจำวันควรใช้เพื่อพัฒนาทักษะในการฟังของผู้เรียน

หนังสืออ้างอิง

Koichi Nihei. (2002). how to teach listening

หมายเลขบันทึก: 582376เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2014 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2014 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท