สภาพในปัจจุบันในเรื่องการสอนการฟังในโรงเรียนในประเทศไทย จากประสบการณ์ของผม ตอนที่ 8


อย่างไรก็ตาม ผมใช้การบ่งชี้แบบง่ายๆ เพื่อที่ว่านักเรียนจะได้ใช้ยุทธวิธีด้วยความง่าย ผมจะแบ่งยุทธวิธีออกเป็น 5 แบบ ได้แก่ 1. การฟังเพื่อหาใจความสำคัญ (the main idea or gist) 2. การฟังเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ (the specific information) 3. การฟังเพื่อการพยากรณ์ (prediction) 4. การฟังเพื่อหาความหมายโดยนัย (the inference) และ 5. การฟังตัวแนะทางอวัจนภาษา (non-verbal cues)

1. การฟังเพื่อหาใจความสำคัญ

ในการฟังนั้น จะมีการถามนักเรียนเกี่ยวกับคำถามที่เป็นรายละเอียด (the detailed questions) เช่น ผู้พูดพูดที่ไหน คุยกันเรื่องอะไร สาเหตุที่ทำให้พวกเขาพูดคุยกัน โดยย่อ นักเรียนจะต้องจับใจความสำคัญ โดยที่ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับรายละเอียด

2. การฟังเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ

ในการฟังนั้น จะมีการถามนักเรียนเกี่ยวกับคำถามที่เป็นรายละเอียด เช่น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลาอะไร พวกเขากำลังคุยถึงใคร

3. การฟังเพื่อพยากรณ์

มันเป็นไปไม่ได้สำหรับนักเรียนที่จะเข้าใจข้อมูลทั้งหมดได้ พวกเขาจะต้องเดาสิ่งที่พวกเขาไม่เข้าใจ หรือสิ่งที่จะพูดถึงต่อไป โดยการใช้ตัวแนะต่างๆ เช่น ท่าทางของผู้พูด และการแสดงออกทางหน้าตา, การใช้การโน้มน้าวใจ (rhetorical markers), คำสำคัญ, และความรู้ภูมิหลัง เช่น หากผู้ฟังได้ยินคำพูดว่า สิ่งที่จำเป็นที่สุดสิ่งหนึ่งคือ..... พวกเขาสามารถพยากรณ์ว่าผู้พูดจะพูดสิ่งที่สำคัญในตอนต่อไป ในการจัดกิจกรรมการฟังนี้ จะมีการถามนักเรียนด้วยคำถามที่ว่า (หลังจากให้เด็กได้ฟังบทสนทนาแล้ว) คุณสามารถเดาได้ไหมว่าเขาจะพูดคำอะไรต่อไป หรือตอนที่ดูหนังที่ไม่มีเสียง คำถามอาจมีว่า โดยการสังเกตท่าทางของผู้พูด และการแสดงออกทางหน้าตา คุณสามารถเดาได้ไหมว่าต่อไปจะมีคำว่าอะไร เป็นต้น

4. การฟังเพื่อสร้างนัยยะ (inference)

นัยยะ แตกต่างจากการพยากรณ์ ลองดูที่ตัวอย่างต่อไปนี้ A = ลูกชาย B= แม่

A: ผมอยากจะไปเล่นเทนนิสสักหน่อยนะครับ

B: ข้างนอกมันหนาวไม่ใช่หรือ

เพื่อที่จะเข้าใจบทสนทนาสั้นๆนี้ ผู้ฟังจะต้องเป็นผู้ที่รู้เรื่องนัยยะ และผู้ฟังต้องสรุปให้ได้ว่าคุณแม่ไม่อยากจะให้ลูกชายไปเล่นเทนนิส เพราะมันหนาว ถ้านักเรียนฟังบทสนทนาข้างบน ครูอาจต้องถามคำถามเหล่านี้ คุณแม่หมายความว่าอะไร นั่นคือ ในการฟังแบบนี้ นักเรียนจะต้องทำความเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง แต่จะมีความหมายในวาทกรรม (discourse) ซึ่งเกินกว่าความเข้าใจในประโยค หรือบางส่วนของประโยคที่มันพูดถึง

5. การใช้รหัสที่เป็นอวัจนภาษา

การใช้รหัสที่เป็นอวัจนภาษา หมายถึง การให้ความสนใจกับสัญญาณที่มีลักษณะคล้ายภาษา (paralinguistic signals) สัญญาณที่มีลักษณะคล้ายอวัจนภาษา ได้แก่ ภาษากาย, การให้สัญญาณทางร่างกาย, การแสดงทางสีหน้า, การเคลื่อนที่ของริมฝีปากของผู้พูด, การรู้ว่าการสนทนานั้นเกิดขึ้นที่ไหน ฯลฯ ถึงแม้ว่า การใช้รหัสที่เป็นอวัจนภาษาจะมีความสำคัญความเข้าใจต่อความหมายของผู้พูด แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่ได้รับการเน้นในการสอนภาษาเพื่อการฟังเลย อย่างไรก็ตาม ถ้ามีบทสนทนาในทางโทรศัพท์ที่มีความยากแล้วหละก็ ความหมายของการใช้สื่อที่เป็นภาพหรืออวัจนภาษาจะเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ครูควรจะสั่งสอนให้เด็กๆให้เห็นถึงประโยชน์ของอวัจนภาษา การจะทำเช่นนั้นได้ การวิเคราะห์วิดีโอ และการใช้จึงมีความจำเป็น

3. วิธีการที่จะสอนกลยุทธ (strategies)

ในการสอนยุทธวิธี บทเรียนจะต้องถูกจัดโครงสร้าง เพื่อที่จะนักเรียนผ่านกระบวนการฟัง บทเรียนแบบที่ นักเรียนต้องฟังบทเรียนทั้งหมด และตอบคำถามต่างๆ โดยไม่มีคำสั่งเป็นตอนๆไป จะต้องถูกยกเลิก เพราะว่าการสอนแบบนี้นั้นเป็นการทดสอบ ไม่ใช่การสอน นั่นแปลว่า ในขณะที่นักเรียนกำลังฟัง พวกครูควรจะให้พวกเขาตระหนักว่าพวกเขาควรจะฟังสารอะไร ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขาควรจะทำมันอย่างไร ในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ ครูควรจะเน้นให้นักเรียนเฝ้าแต่การฟัง เช่น ฟังเพื่อหาใจความสำคัญ หรือฟังเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ เป็นต้น

การจะทำเช่นนี้ได้ ตัวอย่างที่ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับห้องเรียนได้ ในที่นี้จะสอนเรื่อง การฟังเพื่อหาใจความสำคัญ นักเรียนอาจได้สื่อการสอนที่เป็นบทสนทนาในธนาคาร แต่ก่อนอ่าน นักเรียนต้องตอบคำถาม 2 คำถาม ได้แก่ 1. บทสนทนานี้เกิดขึ้นที่ไหน 2. อะไรที่ทำให้คุณคิดเช่นนั้น จุดประสงค์ของการถามว่าเกิดขึ้นที่ไหน ก็เพื่อให้เด็กๆเน้นแต่เรื่องการฟัง และมีเหตุผลในการฟัง

จุดประสงค์ของการถามว่า อะไรที่ทำให้คุณคิดเช่นนั้น ก็เพื่อให้นักเรียนรู้ว่าจะทำอะไรในกระบวนการฟัง นักเรียนบางคนอาจค้นหาคำหลัก หลังจากการฟัง นักเรียนอาจมีการอภิปราย ทั้งชั้นหรือเป็นคู่ เพื่อที่จะตอบคำถามทั้งสองนั้น นักเรียนบางคนอาจตอบว่าธนาคาร เพราะได้ยินคำว่า ฝาก หรือ เงินดอล-เลอะ นักเรียนคนอื่นๆ อาจตอบว่า ร้านค้า เพราะได้ยินคำว่า เงินดอล-เลอะ ถึงแม้ว่าครูจะไม่ให้ตอบในตอนนี้ แต่พวกเขาควรเขียนคำว่า ฝาก, เงินดอลเลอะ ฯลฯ บนกระดานดำ หลังจากเสร็จการอภิปรายแล้ว นักเรียนต้องฟังสื่อนั้นอีกครั้ง เพื่อที่ว่าจะได้ตรวจสอบคำตอบของตนเอง

โดยผ่านกิจกรรมข้างบน ครูควรจะให้เด็กๆตระหนักรู้ถึงความมีประสิทธิภาพ ที่เด็กๆใช้ และ G. Brown (1995 หน้า 71) ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า การทำเช่นนั้นจะทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ ถึงแม้ว่านักเรียนอาจทำผิด แต่พวกเขาก็ได้รับประสบการณ์ในเรื่องความสำคัญ และความมีประสิทธิภาพของยุทธวิธีการอ่านได้

หนังสืออ้างอิง

Koichi Nihei. (2002). how to teach listening

หมายเลขบันทึก: 582275เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2014 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2014 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท