สภาพในปัจจุบันในเรื่องการสอนการฟังในโรงเรียนในประเทศไทย จากประสบการณ์ของผม ตอนที่ 6


2. กิจกรรมแบบการสร้างภาพร่าง (schemata-building) จะต้องมีอยู่ในทุกกิจกรรม

2.1 เหตุผลของการใช้กิจกรรมในสร้างภาพร่าง

ดังที่ Dunkel (1986) ได้รายงานว่า การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับว่าผู้ฟังและผู้อ่านนั้นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับภูมิหลัง (semantic field) ค่อนข้างจะเหมือนกัน กล่าวได้อีกแง่หนึ่งว่า หากผู้ฟังและผู้อ่านไม่มีภูมิหลังร่วมกันแล้วหละก็ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพไม่มีวันเกิดขึ้นได้ โดยปกติแล้ว นักเรียนโดยมากไม่มีความรู้ภูมิหลัง อย่างที่ชาวอังกฤษหรือชาวอเมริกันมี ดังนั้นนักเรียนจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความรู้ภูมิหลัง เพื่อที่จะได้ข้อมูลใหม่ๆ และได้ใช้ข้อมูลใหม่ๆเหล่านี้ไปหาไปใช้ในคราวต่อไป โดยนัยยะนี้ ครูควรหาให้นักเรียนได้รับความรู้ภูมิหลัง เพื่อที่จะได้เข้าใจสาร ก่อนการฟัง

2.2 วิธีการที่จะให้นักเรียนได้รับภาพร่าง

มีวิธีการที่จะสร้างภาพร่าง ดังต่อไปนี้

Richards (1987) เสนอว่า การสร้างภาพร่างอาจอยู่ในรูปของการอภิปราย, คำถามแบบต่างๆ, หรือตอนของหนังสือเล็กๆให้อ่าน ที่สามารถจะสร้างภูมิหลังในเรื่องที่จะอ่านต่อไปได้ ภูมิหลังในที่นี้อาจเป็นสถานการณ์, บุคลิกลักษณะ หรือเหตุการณ์ต่างๆ

Oxford (1993) ได้เสนอว่า ภาระก่อนการฟัง (เช่น อภิปรายหัวข้อ, การระดมความคิด, การนำเสนอคำศัพท์, การแบ่งปันบทความที่เกี่ยวข้อง) จะต้องใช้เพื่อก่อให้เกิดความรู้ภูมิหลัง และช่วยให้ผู้เรียนบ่งชี้จุดประสงค์ของกิจกรรมการฟัง

Mendelsohn (1994) ได้ใช้กิจกรรมดังต่อไปนี้

ในขั้นตอนแรก เราจะใช้การอภิปราย ครูผู้สอนจะประเมินว่าความรู้ที่แก่นในตัวผู้เรียนมีอยู่เท่าใด ในขั้นตอนที่สอง เราจะใช้คำถามที่เหมาะสมถามนักเรียน เช่น คิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งนักเรียนจะต้องเดาเพื่อเป็นการยืนยันไว้ก่อน และจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในขั้นต้น รวมทั้งการอภิปรายจะทำให้นักเรียนได้ประโยชน์จากความคิดของนักเรียนคนอื่นๆ ในขั้นตอนที่สาม นักเรียนสามารถปรับปรุงแก้ไขความคิดในขั้นต้น ที่ถามในขั้นที่สองได้

อย่างไรก็ตาม หากสังเกตให้ดีจะเห็นได้ชัดเจนระหว่างความคิดของคนทั้งสามยังมีแนวคิดบางอย่างที่ร่วมกัน นั่นคือ การอภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อ (topic) กับนักเรียน เพื่อที่จะสร้างภาพร่างในตัวของนักเรียนให้ได้ โดยย่อการสร้างภาพร่างต้องอาศัยทั้งครูในเรื่องการสร้างภาพร่างในขณะที่นักเรียนไม่มี และช่วยกระตุ้นให้เติมเต็มช่องว่างระหว่างผู้ฟังและผู้พูด

วิธีการที่จะสร้างภูมิหลังหรือภาพร่างในตัวนักเรียน มี ดังนี้

1. ครูต้องประเมินว่านักเรียนมีความรู้ภูมิหลังขนาดไหน โดยการถามเกี่ยวกับหัวข้อนั้น

2. ครูต้องทำข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 2.1 ครูต้องโอกาสกับนักเรียนในการอภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อ (ซึ่งอาจเป็นคู่ เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นก็ได้) เพื่อกระตุ้นภาพร่างที่พวกเด็กๆมีอยู่ 2.2 ครูอาจให้บทอ่านสั้นๆ หรือนำเสนอสื่อที่เป็นภาพ (visual aids) ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับสถานการณ์, บุคลิกลักษณะ, หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับหัวข้อ หากทำข้อ 2.2 นั้นอาจนำเสนอคำศัพท์ไว้ด้วยเลยก็ได้ การกระทำทั้งสองข้อนี้ก็คือ การทำให้เด็กๆสนใจและให้มีการตระหนักรู้ถึงจุดประสงค์ในการฟัง

3. ครูต้องถาม และขอให้นักเรียนมีการเดา และพยากรณ์เนื้อหาในสื่อที่จะฟังก่อนมีการฟังจริงๆ

4. นักเรียนต้องมีโอกาสที่จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เคยเดาหรือพยากรณ์เอาไว้ในตอนต้น กับสิ่งที่ฟังจริงๆ

หนังสืออ้างอิง

Koichi Nihei. (2002). how to teach listening

หมายเลขบันทึก: 582160เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2014 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2014 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท