การบริหารจัดการโรงเรียน ที่สถานภาพแตกต่างกัน


การบริหารจัดการโรงเรียนที่สถานภาพแตกต่างกัน เป็นหลักการหนึ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำสิ่งนี้มาคิดวิเคราะห์ วางแผนตามสถานการณ์(situation) จากประสบการณ์ที่บริหารโรงเรียนขนาดเล็กและขนากกลาง (ตำ่กว่า 120 และมากกว่า )ในรอบ 10 ปี มีภาระกิจ การวางแผนที่แตกต่างมาก มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อย เคยศึกษา วิจัยพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณภาพในสถานศึกษาขนาดเล็ก ก็นำไปใช้ในสถานศึกษาขนากเล็ก แต่ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนรู้ปแบบดังกล่าวได้สำเร็จมากนัก ส่วนหนึ่งนั้นมาจาก ยุทธศาสตร์ที่กำหนดแล้วแต่การปฏิบัติตามของผู้มีส่วนร่วม ไม่ยอมปฏิบัติ อาจจะมาจากไม่รับรู้ ไม่สนใจที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษา ความเป็นผู้บริหารแม้จะปฏิบัติตามที่กำหนด แต่ในส่วนบุคลากรอื่นก็ไม่สนใจ เช่น 1) การบริหารต้องเน้นที่คุณภาพและมาตรฐานที่เกิดกับโรงเรียน ครู และผู้เรียน ในการปฏิบัติก็ไม่เน้นขับเคลื่อน 2) การบริหารจัดการต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมจาก ครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชนและองค์กรต่างๆ ในแนวปฏิบัติ ก็ไม่มีส่วนร่วมจากครู ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง 3) การมุ่งมั่นทุ่มเท สร้างศรัทธา สร้างทีมงานให้เป็นมืออาชีพของผู้บริหารเพื่อ ให้ผู้เกี่ยวข้องเกิดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการ ด้านนี้สำคัญมากแต่การปฏิบัติให้เป็นมืออาชีพ ไม่ตระหนักขาดความมุ่งมั่น ทุ่มเท ส่วนที่เป็นระบบและกลไกของรูปแบบ คือ 1) การมีสื่อ เทคโนโลยี ที่เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ทั้งระบบอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม รวมทั้งใช้ระบบการนิเทศ พัฒนาครู กำกับ ติดตาม สนับสนุนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอด้วยสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เรื่องนี้ก็ขาดแคลนในการที่จะนำมาใช้ เพราะโรงเรียนเล็ก ไม่มีงบประมาณ ไม่มีครูที่เก่งด้าน ICT ทำให้ขาดการดำเนินการ 2) ครูมีความมุ่งมั่น ทุ่มเท เชื่อถือ ศรัทธาในระบบกลไกการบริหาร มีความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ มีความรับผิดชอบมุ่งความก้าวหน้าในวิชาชีพ มีขวัญกำลังใจ ทำงานเป็นทีม ที่เป็นระบบ มีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่เน้นคุณภาพผู้เรียน ด้านนี้ เมื่อนำมาใช้ มีความแตกต่างมากในเรื่องการมีความก้าวหน้าทางวิทยฐานะ เพราะส่วนมากได้ คศ.3 แล้ว จึงไม่สนใจในการที่จะสร้างงาน ส่วนยุทศาสตร์ ที่สำคัญของรูปแบบ คือ 1) พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนของครูให้เป็นทีมงานยกระดับคุณภาพโรงเรียน ส่วนรวมไม่คิดที่จะสร้างทีมงาน ต่างคนต่างก็อยู่ไปให้คุ้มวัน ข้อ 2) สร้างความพร้อมและความเข้มแข็งของโรงเรียน เรื่องนี้สำคัญการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดเป็นสิ่งที่ยากมาก ถ้าจิตใจไม่เข้มแข็ง สถานศึกษาจะเข้มแข็งไม่ได้ และ 3) ส่งเสริมการใช้สื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรมที่เหมาะสมอย่างหลากหลายในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน เรื่องนี้เกี่ยวข้องทั้งหมดของรูปแบบ โดยเฉพาะขณะนี้ ยุคที่ก้าวหน้าทางสื่อ ICT หากสถานศึกษาขนาดเล็กสนใจ นำมาใช้ในการบริหารจัดการ สืบค้น สร้างสื่อนวัตกรรม เรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ที่รัฐบาลกำลังเน้นเรื่องนี้ ก็จะมีคุณภาพ เชื่อว่าความแตกต่างในด้านขนาดสถานศึกษาก็ต้องปรับเปลี่ยน วิเคราะห์เริ่มต้นจากสภาพปัญหาที่แตกต่าง นำมาแก้ไข วางแผนให้ตรงจุด รูปแบบนี้อาจจะใช้ได้แต่ก็ต้องเน้นในการที่จะสร้างให้เกิด ให้มี ปัญหาต่างๆจะลดลง คุณภาพการศึกษาจะเกิดขึ้น

ผู้เขียนได้วิเคราะห์ผลการบริหารจัดการ จากที่ผ่านมา แม้จะประสบผลสำเร็จตามจุดหมายเป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพทั้ง2 ขนาด จากการนำผลการวิจัยไปใช้บริหารจัดการแต่สภาพปัญหาจากการขับเคลื่อนก็พบตามนี้ แต่ที่ศึกษาวิจัย 6 แห่งที่เป็นโรงเรียนดีมาก 3 จังหวัด จากประเมิน สมศ.ก็จะมีความแตกต่าง ไม่พบปัญหาดังกล่าวจึงขอเสนอว่า การเปลี่ยนสถานศึกษา ต้องเปลี่ยนแนวคิดและกระบวนการแล้วจะทำให้การบริหารจัดการดีขึ้น

หมายเลขบันทึก: 581851เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2014 20:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2014 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท