​การวิเคราะห์เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน (Benefit-Cost Analysis)


BCA เป็นแนวทางที่ใช้ประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละทางเลือกที่ตอบสนองต่อธุรกรรม, กิจกรรม หรือความต้องการทางธุรกิจ เป็นเทคนิคที่ใช้ระบุตัวเลือกที่ดีที่สุด

ในการลงทุนโครงการหรือกิจกรรมใดๆ ขององค์กรให้มีความสอดคล้องและคุ้มค่าต่อทรัพยากรที่มีอยู่ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงกรอบแนวคิดเพื่อการตัดสินใจต่อสิ่งที่จะต้องลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากพิจารณาถึงองค์ประกอบพื้นฐานในเชิงเศรษฐศาสตร์ ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องของต้นทุนกับประโยชน์ที่จะได้รับ หนึ่งในกรอบเพื่อการวิเคราะห์ที่เป็นที่นิยมใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน (Benefit-Cost Analysis หรือ BCA)

BCA เป็นแนวทางที่ใช้ประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละทางเลือกที่ตอบสนองต่อธุรกรรม, กิจกรรม หรือความต้องการทางธุรกิจ เป็นเทคนิคที่ใช้ระบุตัวเลือกที่ดีที่สุดเพื่อการยอมรับในทางปฏิบัติในแง่ของประโยชน์ที่ได้รับจากแรงงาน, การประหยัดต้นทุนและเวลาของการดำเนินงาน และเป็นกระบวนการที่เป็นระบบสำหรับการคำนวณและเปรียบเทียบแต่ละโครงการ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ BCA ใช้สำหรับค้นหาต้นทุนและผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ที่คิดค่าออกมาเป็นตัวเงินจากการลงทุนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยภาพรวมของการจัดทำแผนนโยบายหรืองบประมาณการลงทุนแล้ว BCA เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโดยภาพรวมที่ช่วยวิเคราะห์เพื่อให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจต่อไป ดังรูป

Where does the Benefit-Cost Analysis fit into the overall assessment process?

(http://www.treasury.govt.nz/publications/guidance/...)

หลักเกณฑ์สำคัญรวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับจากการนำ BCA ไปประยุกต์ใช้โดยภาพรวมแล้ว ได้แก่

  • 1.การใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินโครงการหรือกิจกรรมในมุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์ ทำให้ทราบถึงความคุ้มค่าในการลงทุน
  • 2.การนำเอาผลกระทบภายนอก (Externalities) มาใช้ประกอบการวิเคราะห์ควบคู่กับต้นทุนและผลประโยชน์ สามารถให้มุมมองประกอบการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
  • 3.การนำเรื่องกรอบเวลามาพิจารณาในแง่มูลค่าทางเศรษฐกิจที่คิดลดตามระยะเวลาที่ได้รับประโยชน์ล่าช้าออกไป ทำให้ทราบถึงมูลค่าที่แท้จริงในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อมูลค่าของประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการหรือกิจกรรมในขณะนั้น

ขั้นตอนที่สำคัญในการประยุกต์ใช้แนวคิด BCA ประกอบด้วย

  • 1.การคำนวณผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน ทั้งประโยชน์ที่มองเห็นได้หรือประโยชน์ทางตรง และประโยชน์ที่มองไม่เห็นหรือประโยชน์ทางอ้อม
  • 2.การคำนวณต้นทุนที่เกิดขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย ต้นทุนที่มองเห็นได้หรือต้นทุนทางตรง และต้นทุนที่มองไม่เห็นหรือต้นทุนทางอ้อม
  • 3.การคำนวณและวิเคราะห์ด้วย Sensitivity Analysis เพื่อประเมินถึงการไหวตัวของเหตุการณ์หรือผลลัพธ์ ซึ่งประกอบไปด้วยความเป็นไปได้และความไม่แน่นอนของเหตุการณ์นั้นๆ
  • 4.การคิดลดโดยคำนึงถึงมูลค่าทางการเงินจากอนาคตมาเป็นปัจจุบันของประโยชน์ในแต่ละเหตุการณ์ทางเลือก ซึ่งจากแนวคิดการลงทุนนั้น มูลค่าของเงินในแต่ละช่วงเวลาจะมีค่าไม่เท่ากัน โดยแนวโน้มมูลค่าของผลประโยชน์ในอนาคตจะลดลงเรื่อยๆ หากระยะเวลายิ่งนานออกไป
  • 5.การเปรียบเทียบประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับต้นทุน เพื่อให้ทราบถึงอัตราผลตอบแทนในแต่ละทางเลือก โดยอัตราผลตอบแทนที่มีค่าเป็นบวก จะให้ความหมายถึงการลงทุนที่คุ้มค่าหรือได้รับประโยชน์มากกว่าต้นทุนที่เสียไป โดยอัตราผลตอบแทนที่มีค่าเป็นลบจะให้ความหมายในทางตรงกันข้าม
  • 6.การเปรียบเทียบผลตอบแทนของการลงทุนระหว่างโครงการหรือกิจกรรม ซึ่งควรพิจารณาเลือกโครงการที่มีต้นทุนต่ำกว่าหรือมีผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่สุด

อ้างอิง: thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 581751เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2014 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2016 06:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท