เรื่องสิทธิมนุษยชน (Human rights - HR)


เรื่องสิทธิมนุษยชน (Human rights - HR)

22 พฤศจิกายน 2557

เรื่องสิทธิมนุษยชน (Human rights - HR)

พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
"สิทธิมนุษยชน" หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม

คำนิยาม "สิทธิมนุษยชน" โดย UN
Human rights are those conditions of life that allow us fully to develop and use our human qualities of intelligence and conscience and to satisfy our spiritual needs.
Human rights are fundamental to our nature; with out them, we cannot live as human being.

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration on Human rights – UDHR, 1948) ข้อ ๖
"ทุก ๆ คนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมายไม่ว่า ณ ที่ใด
"Everyone has the right to recognition everywhere as person before the law."

"สิทธิมนุษยชน" หมายความรวมถึง
- สิทธิและเสรีภาพอันเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีมาตามธรรมชาติ
- และได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญ
- ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ กฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องสิทธิมนุษยชน และสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทย เป็นภาคและได้มีกฎหมายบัญญัติไว้
- ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงหรือเป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรฐานที่นานาประเทศยึดถือ
(ในร่าง พรบ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.... ซึ่งพรรคชาติไทยเสนอต่อ สภาผู้แทนราษฎร ๘ ธค.๕๑)

สรุป สิทธิมนุษยชน
(๑) สิทธิตามกฎหมายธรรมชาติ
(๒) ต้องเป็นสิทธิที่กำหนดในกฎหมายภายในของไทย
(๓) ต้องเป็นสิทธิที่กำหนดในกฎหมายระหว่างประเทศ

จำแนกประเภทของ Human rights - HR
๑. โดยใช้แนวคิดเรื่องจำนวนผู้ทรงสิทธิ
(๑) Individual Rights
(๒) Collective Rights
๒. โดยใช้ปัญหาของมนุษย์ผู้ทรงสิทธิ
(๑) สิทธิของเด็กและเยาวชน
(๒) สิทธิของสตรี
(๓) สิทธิของคนชรา
(๔) สิทธิของคนพิการ
(๕) สิทธิของชุมชนท้องถิ่น
(๖) สิทธิของผู้ใช้แรงงาน
(๗) สิทธิของคนไร้บ้าน
(๘) สิทธิของคนจน
(๙) สิทธิของผู้บริโภค
(๑๐) สิทธิของผู้ต้องขัง/ผู้กระทำความผิด
(๑๑) สิทธิของคนพื้นเมือง/คนชาติพันธุ์/ชนเผ่า
(๑๒) สิทธิของคนอพยพ
(๑๓) สิทธิของคนหนีภัย
(๑๔) สิทธิของคนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติ
(๑๖) สิทธิของคนเสมือนไร้รัฐไร้สัญชาติ
๓. โดยธรรมชาติของสิทธิ (เป็นแนวคิดที่ UN ใช้ในการต่อยอด UDHR)
(๑) สิทธิมนุษยชนทางแพ่ง (พลเมือง)
(๒) สิทธิมนุษยชนทางการเมือง
(๓) สิทธิมนุษยชนทางเศรษฐกิจ
(๔) สิทธิมนุษยชนทางสังคม
(๕) สิทธิมนุษยชนทางวัฒนธรรม

C R : ArchanWell's Law School, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗.
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร


เมื่อพิจารณาในมาตรฐานระหว่างประเทศภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights) ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคีและผูกพันปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎหมาย ระหว่างประเทศฉบับนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เราก็จะพบว่า "สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม" นั้นประกอบไปด้วย 14 ชุดสิทธิ ดังต่อไปนี้

  1. สิทธิกำหนดเจตจำนงของตนเองในทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม
  2. สิทธิ ที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติสีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคมทรัพย์สิน สถานะการเกิด หรือสถานะอื่นๆ
  3. สิทธิของชายและหญิงในความเสมอภาคทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม
  4. สิทธิในการทำงานและสิทธิในการมีโอกาสในการทำงาน
  5. สิทธิในสภาพการทำงานที่ยุติธรรมและน่าพึงพอใจอาทิ ค่าจ้างที่เป็นธรรมและค่าตอบแทนที่เท่าเทียม ความเป็นอยู่ที่เหมาะสม สภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะโอกาสเท่าเทียมที่จะได้รับการส่ง เสริมให้มีความก้าวหน้า การพักผ่อนและเวลาว่าง
  6. สิทธิในการก่อตั้งสหภาพแรงงานและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน
  7. สิทธิในสวัสดิการสังคม
  8. สิทธิของสถาบันครอบครัวที่ควรได้รับการคุ้มครองอาทิ สิทธิในการก่อตั้งครอบครัว สิทธิของมารดาที่ต้องได้รับการคุ้มครองพิเศษในช่วงให้กำเนิดบุตรมาตรการคุ้ม ครองและช่วยเหลือพิเศษแก่เด็กและผู้เยาว์ทั้งปวงโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
  9. สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับตนเองและครอบครัว
  10. สิทธิในสุขภาวะที่ดี
  11. สิทธิในการศึกษา
  12. สิทธิในการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม
  13. สิทธิในการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
  14. สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญหาของตน

C R : ๒๑ เมษายน ๒๕๕๘.
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

หมายเลขบันทึก: 580983เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2014 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2016 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท