ดูงานรายวิชาศึกษาทั่วไป _ ๐๓ : ม.ธรรมศาสตร์ "ธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน" (๓)


ดูงานรายวิชาศึกษาทั่วไป _ ๐๑ : ม.ธรรมศาสตร์ "ธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน" (๑)

ดูงานรายวิชาศึกษาทั่วไป _ ๐๒ : ม.ธรรมศาสตร์ "ธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน" (๒)

ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์ ที่ศูนย์รังสิต มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่จัดไว้สำหรับแสดงนิทรรศการและการแสดงขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ the Deck ที่เป็นพื้นที่โล่งราบขนาดใหญ่, the Grand เป็นพื้นที่โล่งหลังคาสูง, และ the Circle พื้นที่เหมือนเป็นสเตเดียมจุคนได้หลายพันคน ดูรูป ที่นี่ ...

ส่วนแรก The Deck จัดให้โครงงานจำนวน ๑๘๐ โครงงานของนักศึกษาที่เรียนรายวิชาพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม (TU100) แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่คือโครงงานบริการสังคมภายในมหาวิทยาลัยหรือชุมชนภายนอกมหาวิทยาลัย แต่ละกลุ่มแบ่งเป็น ๖ หมวดของปัญหา ได้แก่

  • ปรับปรุงภูมิทัศน์ หรือสภาพแวดล้อมชุมชน
  • การใช้จักรยาน
  • ลดขยะ
  • การจราจร
  • ส่งเสริมจิตสำนึกของการอยู่ร่วมกันในสังคม หรือ สร้างความร่วมมือหรือพัฒนาชุมชน
  • โครงงานการเรียนการสอนโดยบริการสังคม

โครงงานทั้งหมดเป็นการ "บริการ" ด้วยความพยายามในการแก้ปัญหาของชุมชนและสังคม ของแต่ละกลุ่มนักศึกษา จำนวนประมาณ ๑๕ คน จะระดมวิเคราะห์ปัญหา หลังจากที่กลับมาจากการลงพื้นที่สำรวจ ซึ่งทางมหวิทยาลัยได้สาธิตกระบวนการไว้แล้วตอนที่พาลงพื้นที่พร้อมกัน (ซึ่งภาคการศึกษาที่ผ่าน ได้พาไปโรงเก็บขยะ) นักศึกษาจะวางแผนและลงพื้นที่พบผู้นำชุมชน เพื่อสอบถามถึงความต้องการและความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาตามทุนทางปัญญาและทุนทรัพย์ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยมากลุ่มละ ๒,๐๐๐ บาท สำหรับปัญหาภายในมหาวิทยาลัย หรือ ๔,๐๐๐ บาท สำหรับบริการชุมชนนอกมหาวิทยาลัย (อาจารย์ที่มาบรรยายกระบวนการเรียนรู้ของ TU100 บอกว่า

มีนิสิตบางกลุ่มสามารถไประดมทุนเพิ่มเติมได้หลายพันบาท หรือบางกลุ่มถึง

๒๕๐,๐๐๐ บาท) และกลับไปดำเนินการตามแผน และลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อสำรวจตรวจและประเมินผลความพึงพอใจของชุมชนที่ได้รับบริการ... จากการสอบถามหลายคน นักศึกษาบอกตรงกันว่า ได้ลงพื้นที่จริงอย่างน้อย ๓ ครั้ง

ตัวอย่างโครงงานภายใน ได้แก่ การแก้ปัญหาเล็กน้อยๆ ที่เห็นได้ทั่วไป เช่น ซ่อมหลอดไฟตามถนนหรือทางเดิน รณรงค์ห้ามผิดกติกาในสถานที่ต่างๆ ทำความสะอาดบริเวณ ทำแผนที่ ทำสัญลักษณบอกทาง ทำเมนูอาหารให้เพื่อนชาวต่างชาติ รณรงค์แยกขยะ ไม่สูบบุหรี่ ซ่อมเก้าอี้ซ่อมโต๊ะ เป็นต้น

ตัวอย่างโครงงานภายนอก ได้แก่ ไปสร้างห้องน้ำ ทาสีสนาม อุปกรณ์ หรือตามผนัง ไปช่วยเด็กๆ ที่โรงเรียนทำกิจกรรมส่งเสริมความดี หนังสือไปให้ เปลี่ยนหลอดไฟตามถนน ทำสัญลักษณ์ทางเดิน ทำปุ๋ยอินทรีย์ไปให้ เป็นต้น








ผู้เข้าร่วมงานและนักศึกษาทุกคน จะมีสิทธิ์ให้คะแนนกับแต่ละกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์เป็น "ดาว" เรียกว่า Peer evaluation เมื่อนำไปรวมกับคะแนนของกรรมการซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอน และรวมคะแนนการมีส่วนร่วมคือเข้าเรียนและร่วมทำกิจกรรม ที่ใช้วิธีการเซ็นต์ชื่อลงแบบฟอร์ม จะได้คะแนนกิจกรรมที่ทำกันตลอดเทอม




นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยเชิงลึก ที่เล็งผลประโยชน์ให้ประชาชน จัดแสดงและนิสิตประจำพร้อมนำเสนอในทุกๆ Pavilion ไม่ขอนำมาเล่าทั้งหมด แต่ท่านสามารถดูรูปที่ผมถ่ายไว้ได้ทั้งหมดที่นี่ครับ สนใจลองขยายใหญ่ๆ แล้วอ่านดูเองครับ ...

ที่ ผมไม่ได้บอกว่า อันไหนได้รางวัล เพราะในมุมมองของผมนั้น เทียบเคียงความแตกต่างของโครงงานแต่ละอันได้ยาก... ผมจึงเลือกให้ "ดาว" ของผมกับ นักศึกษาที่ใช้ความ "อุตสาหะ" "พยายาม" ในงานที่พวกเขา อีกกลุ่มหนึ่งถือความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก กลุ่มสุดท้ายผมให้ความยั่งยืนในการนำไปใช้เป็นเกณฑ์ ... (ได้คนละ ๓ ดาว)

มี ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง ยกมือตั้งคำถามในห้องประชุม ว่า สิ่งที่ธรรมศาสตร์ทำมานั้นมันถูกทางไหม ใช่หน้าที่ของนักศึกษาหรือไม่... ท่านตอบว่า.. สิ่งที่ได้และบรรลุตามมุ่งหวังคือกระบวนการเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตอยู่กับ สังคมอย่างรับผิดชอบ .... ถือเป็นคำตอบที่ยุติสำหรับผมครับ....

หมายเลขบันทึก: 580650เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2014 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2014 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท