ตื่นเต้นกับหน้าชั้นเรียนจริงครั้งแรก


วันก่อนได้ไปทำการสังเกตการสอนอยู่ที่ โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม วันนั้นผมไปสังเกตชั้น ม.5 พอถึงคาบที่ผมเข้าไปสังเกตการณ์ ครูประจำชั้นก็ให้แนะนำตัวเล็กน้อย แล้วผมก็ไปนั่งสังเกตการณ์อยู่หลังห้อง จากนั้นครูประจำห้องก็ทำการสอนเรื่อง ไฟฟ้าสถิต ประมาณครึ่งชั่วโมงก็มีโทรศัพท์โทรตามให้ครูประจำชั้นไปประชุม ทีนี้ครูก็เลยมาถามผมว่าจะทดลองสอนดูไหม? ตอนแรกผมก็อึ่งเหมือนกันเพราะว่าผมไม่ได้เตรียมตัวอะไรไปเลย ผมเลยตอบครูประจำชั้นไปว่าเดี่ยวผมจะเล่าประสบการณ์ชีวิตในมหาวิทยาลัยให้ฟังก็แล้วกันครับ ตอนเดินออกไปหน้าชั้นเรียนผมตื่นเต้นมากเดินออกไปน้องๆนักเรียนก็กรีดกันอย่างมาก อาจจะเป็นเพราะผมหล่อก็อาจเป็นได้นะครับ555 ผมไม่รู้จะพูดอะไรก่อนดีเลยถามน้องๆไปว่า

อยากรู้เรื่องอะไรในมหาลัยถามพี่ได้นะ น้องผู้ชายนั่งหน้าก็ถามขึ้นมาว่า เราสามารถเดินทางได้เร็วกว่าแสงไหมครับ? พอดีผมชอบดูสารคดีเกี่ยวกับอวกาศมาพอควร และเคยอ่านหนังสือเรื่อง "จักรวาลในเปลือกนัท" ของ สตีเฟน ฮอว์คิง มาก่อน ก็เลยให้แนวคิดเกี่ยวกับการบิดเบี้ยวของสเปซอวกาศให้ฟัง แต่ที่รู้ในปัจจุบันยังทำไม่ได้ครับเป็นคำตอบสุดท้าย จากนั้นน้องหลังห้องก็ถามเกี่ยวกับเที่ยวในมหาลัย? ผมเลยตอบน้องไปว่าพี่ก็เที่ยวเหมือนกัน แต่ต้องมีความรับผิดชอบนะ ในช่วงนี้เด็กๆ ถามหลายคำถามมากในหลายๆ ด้านเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย ในช่วงท้ายๆ ผมกะจะสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนฟิสิกส์ ด้วยการถามคำถามทางฟิสิกส์ควอนตัมให้น้องฟัง ดังนี้ เริ่มจาก เล่าการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดให้ฟังที่ยิ่งอนุภาคแอลฟาไปที่แผ่นทองคำบางๆ แล้วถามว่าได้ผลเป็นอย่างไร น้องนักเรียนก็ตอบถูกบ้างไม่ถูกบาง ผมเลยพูดต่อไปว่า จากการทดลองพบว่ารังสีแอลฟาส่วนมากประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ สามารถทะลุผ่านไปได้ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ กระเจิงออกด้านข้าง ดังนั้น เขาจึงสามารถสรูปได้ว่า ภายในอะตอมเป็นที่ว่างประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์

จากนั้นก็เลยถามอีกว่า ร่างกายขอบเราประกอบขึ้นจากอะตอมใช่ไหมครับ จากนั้นก็ถามต่อไปว่า "ถ้าภายในอะตอมเป็นที่ว่างประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์แล้วทำไมเราไม่ทะลุลงไปเวลาเราเดินไปบนพื้น?" พอถึงจุดนี้น้องๆ ส่วนมากจะไม่ฟังแล้วครับ แต่มีน้องประมาณ 3 คนนั่งฟังอย่างตั้งใจ 2 คน พูดอะไรนิดหน่อยก็เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แต่อีกคนหนึ่งไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรแต่มีความสนใจมาก ผมให้น้องๆ คิดประมาณ 5 นาที แล้วก็มาเฉลยโดยใช้ หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนแบร์กร่วมกันความสัมพันธ์ระหว่างโมเมนตัมและแรงมาอธิบาย น้องๆ ก็พากันงงตามๆ กัน พอพูดเสร็จผมมานึกถึงคำของอาจารย์ของผมว่า "ควรให้ความท้าท้ายที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของเด็กๆ" ประโยคนี้น่าจะเป็นความจริงครับ ขอบคุณ

หมายเลขบันทึก: 580477เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประสบการณ์นั้นต้องเรียนรู้ และต้องสู้ต่อไปครับ ;)...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท