ความเป็นมาของกลศาสตร์ควอนตัม


ไม่มีใครที่คิดอะไรใหม่โดยไม่มีพื้นฐานอะไรเลย ต้องมีการศึกษากันมากก่อนแม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม

     ตั้งแต่สมัยกรีกมาแล้วที่มนุษย์มีความเชื่อว่าองค์ประกอบที่เล็กย่อนที่สุดประกอบด้วยอะตอม และยังคิดเลยต่อไปว่าแม้แต่จิตวิญญาณก็มีองค์ประกอบของอะตอม  แต่ไม่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันถึงความคงอยู่  ต่อมาในการศึกษาเรื่องการเคลื่อนที่แบบบราวเนี่ยน ไอสไตย์ก็เป็นคนแรกที่พิสูจน์ยืนยันถึงความคงอยู่ของอะตอมที่เป็นองค์ประกอบที่เล็กย่อยที่สุดขณะนั้น ต่อมาไอสไตย์ก็ได้ปรับปรุงกลศาสตร์ของนิวตันที่ไม่อาจอธิบายได้ในกรณีวัตถุที่ใหญ่มาก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเข้าใกล้แสง  ในทฤษฏีอันลือชื่อของเขาคือทฤษฏีสัมพันธภาพ พบว่าวัตถุที่เคลื่อนที่ใกล้ความเร็วแสงจะมีมวลเพิ่มมากขึ้น  เป็นไปตามความสัมพันธ์ พล้งงานเท่ากับมวลสารคูณด้วยความเร็วแสงยกกำลังสอง  ซึ่งต่อมาได้นำมาใช้เป็นรากฐานของกลศาสตร์ควอนตัมในเวลาต่อมา

     จากผลของการศึกษาวัตถุที่ร้อนจัดและแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กออกมา  สามารถวัดหาสเป็คตรัมของรังสีที่แผ่ออกมาได้  แต่ไม่สอดคล้องกับการวัดที่ความที่ต่ำและที่ความที่สูงมากๆ  แพลงค์แก้ปัญหานี้โดยมองไปที่แหล่งที่มาของแสงประกอบด้วยตัวออสซิลเลเตอร์ ที่ให้พลังงานแบบไม่ต่อเนื่อง  ตามความสัมพันธ์คือ   E = nhf 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 5803เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2005 01:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยังเข้าใจยากอยากให้เจ้าของบล็อกเพิ่มเติมข้อความมากกว่านี้

กลศาสตร์ควอนตัมนั้น ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เล็กในระดับอะตอม ซึ่งคงเข้าใจยากมากเป็นนามธรรมมากจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท